รอบอาทิตย์ที่สอง กันยายน 54 : ครม.สั่งเด้งอธิบดีกรมคุก

รอบอาทิตย์ที่สอง กันยายน 54 : ครม.สั่งเด้งอธิบดีกรมคุก

เมื่อ 16 ก.ย. 2554

ศาลสั่งถอน "โรคจิตถาวร" ในใบเกณฑ์ทหาร ชี้ไม่ชอบด้วย กม.-ละเมิดศักดิ์ศรี

(13 ..54) ตุลาการศาลปกครองกลางพิพากษาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (หน่วยบัญชาการกำลังสำรองเดิม) และสัสดี จังหวัดลพบุรี ผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 ให้เพิกถอนใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกิน (สด.43) ใบสำคัญสำหรับคนจำพวกที่ 4 (สด.5) และใบสำคัญให้รับราชการทหาร (สด.9) ของนายสามารถ มีเจริญ ซึ่งเป็นกลุ่มสาวประเภท 2 ผู้ฟ้อง ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยใช้ข้อความว่า "เป็นโรคจิตถาวร" เนื่องจากเป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 มาตรา 4 และ 26 และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 3 ดำเนินการให้มีการระบุข้อความใหม่ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ที่บ่งบอกถึงลักษณะของผู้ฟ้องคดีขณะเข้ารับการตรวจเลือกที่แสดงให้เห็นว่าไม่อาจเข้ารับราชการทหารได้ตามที่กฎหมายกำหนด

ศาลพิเคราะห์ว่า การที่คณะกรรมการตรวจเลือกทหารกองเกินอาศัยเพียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพร่างกายและบุคลิกดังกล่าวของผู้ฟ้องคดีที่เป็นผู้มีภาวะทางเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด ซึ่งมิได้สัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วยทางจิตตามความหมายทางวิชาการ แล้วนำมาวินิจฉัยว่าผู้ฟ้องคดีเป็นโรคจิตถาวร จึงเป็นการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง และยังทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องได้รับความอับอายและสูญเสียความภาคภูมิใจในคุณค่าของตนเองที่มีต่อคนรอบข้างและสังคม เนื่องจากการปรากฏข้อความว่าเป็นโรคจิตถาวรในเอกสารประจำตัวของผู้ฟ้องคดี ซึ่งเอกสารราชการที่ต้องนำไปแสดงในการสมัครงานหรือในการอื่นๆ จึงเป็นการตีตราว่าผู้ฟ้องคดีมีอาการทางจิตผิดปกติอย่างรุนแรงและไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้เป็นโรคจิตแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ฟ้องคดีให้น้อยลง จึงเป็นกรณีที่เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ฟ้องคดี อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและก่อให้เกิดความเสียหาย อันเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ฟ้องคดี

โดยข้อเท็จจริงยังปรากฏอีกว่า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวกระทรวงกลาโหมจึงได้ดำเนินการเสนอร่างกฎกระทรวงแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับที่ 37 (..2516) ที่ออกตาม พ...ราชการทหาร พ..2497 กำหนดคนจำพวกที่ 2 ซึ่งมีร่างกายที่เห็นได้ชัดว่าไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ 1 แต่ไม่ถึงทุพพลภาพ โดยเพิ่มเติมว่า “ข้อ 3 (12) ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด” ซึ่งเป็นไปด้วยความเห็นชอบด้วยกันของผู้ถูกฟ้องที่ 1 รมว.มหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งผู้ฟ้องด้วย โดยกำลังอยู่ระหว่างส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา เพื่อเสนอ ครม.เห็นชอบ เมื่อผู้ฟ้องเป็นเพียงผู้มีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด ไม่ได้เป็นโรคจิตถาวรแต่อย่างใด ผู้ถูกฟ้องทั้ง 3 จึงมีหน้าที่ดำเนินการระบุข้อความที่เหมาะสมสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ที่จะบ่งบอกภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดของผู้ฟ้อง ขณะเข้ารับการตรวจเลือกให้ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดต่อไป จึงมีคำพิพากษาดังกล่าว

ที่มา: มติชนออนไลน์

นายกฯมาเลเซีย เตรียมยกเลิก"กฎหมายความมั่นคง"ที่ใช้มานาน 51 ปี

รัฐบาลมาเลเซียเตรียมยกเลิกกฎหมายความมั่นคงภายในที่บังคับใช้มานาน 51 ปี นับตั้งแต่ยุคอาณานิคม ซึ่งอนุญาตให้คุมขังบุคคลที่ดูเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติได้อย่างไม่มีกำหนดโดยไม่ต้องนำตัวขึ้นพิจารณาคดี

นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค เผยว่า การยกเลิกกฎหมายความมั่นคงภายในที่ใช้มาตั้งแต่ยุคอาณานิคมอังกฤษ ฉบับดังกล่าว จะถูกแทนที่ด้วยกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายฉบับใหม่ 2 ฉบับ เพื่อรับประกันว่าสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้ต้องสงสัยจะได้รับการคุ้มครองตามแนวทางประชาธิปไตยยุคใหม่

กฎหมายดังกล่าวเคยถูกใช้เพื่อคุมขังผู้นำฝ่ายค้านหลายราย นักรณรงค์ด้านสิทธิ และนักศึกษา ที่เชื่อว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติได้อย่างไม่มีกำหนดโดยไม่ต้องนำตัวขึ้นพิจารณาคดี

นายราซัคกล่าวผ่านทางโทรทัศน์ ก่อนหน้าการเฉลิมฉลองครบรอบ 48 ปี การประกาศอิสรภาพของมาเลเซียว่า เขาเตรียมทบทวนกฎหมายอีกหลายฉบับที่ควบคุมเสรีภาพของพลเรือน และให้คำมั่นว่าจะไม่มีการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยที่มีแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างจากรัฐบาล รวมถึงจะให้สิทธิสื่อและเสรีภาพในการแสดงออกมากขึ้น

กฎหมายความมั่นคงภายในมีขึ้นตั้งแต่ยุคมาเลเซียต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ในทศวรรษหลังปี 1960 ซึ่งกลุ่มสิทธิมนุษยชนในมาเลเซียวิจารณ์ว่า รัฐบาลใช้กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือกำจัดผู้มีความเห็นไม่ลงรอยด้วยการจับคุมขังแล้วมากกว่า 1 หมื่นคน

ที่มา : มติชน

เฉลิม” เผยตั้ง คอ.นธ.มาสังคายนากฎหมายยุคปฏิวัติ

เฉลิม” เผยคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ หรือ คอ.นธ.มีหน้าที่สังคายนากฎหมาย โดยเฉพาะที่มาจากการปฏิวัติต้องรื้อทิ้ง เพราะรัฐบาลชุดนี้เป็นประชาธิปไตย ยันแก้ รธน.ไม่กระทบรัฐบาล เหตุตั้ง ส...มาดำเนินการ

...เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมออกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ หรือ คอ.นธ.ที่มี นายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานคณะกรรมการ ตามที่กระทรวงยุติธรรม เสนอว่า จะให้มาดูเรื่องการปฏิรูปกฎหมายทั้งหมด อะไรที่ไม่เป็นธรรมต้องสังคายนาใหม่ ซึ่ง นายอุกฤษ เป็นคนเก่ง ส่วนคณะกรรมการที่จะเข้ามาดูแลเป็นใครบ้างนั้นตนไม่ทราบรายละเอียดว่า นายอุกฤษ มีแนวคิดอย่างไร แต่รัฐบาลได้ให้ภาพกว้างในการทำงานไปแล้ว จึงต้องมีคณะทำงานขึ้นมาเพื่อให้เกิดการเริ่มต้น

ผู้สื่อข่าวถามว่า เนื้อหาในระเบียบจะมีการกำหนดการปฏิรูปงานของทุกหน่วยงานรวมทั้งศาล ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม ร...เฉลิม กล่าวว่า ศาลใครไปปฏิรูปท่านไม่ได้ แต่ปฏิรูปกฎหมายได้ ซึ่งกฎหมายที่ศาลใช้ทุกวันนี้ก็มาจากรัฐสภาเป็นผู้ออกมาบังคับใช้ เมื่อถามว่า การทำงานจะเกิดความซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่ตั้งโดยรัฐบาลชุดที่แล้วหรือไม่ ร...เฉลิม กล่าวว่า ไม่ซ้ำซ้อน รัฐบาลไหนมีแนวคิดอย่างไรก็เป็นสิทธิ์ของรัฐบาลชุดนั้นๆ

ส่วนจุดประสงค์ของการเสนอร่างระเบียบดังกล่าว เพราะเหตุใดนั้น รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า บางเรื่องเราต้องยอมรับความเป็นจริง ที่มาจากการปฏิวัติ แล้วเราเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยจะเห็นด้วยทั้งหมดก็คงไม่ใช่ ต่อข้อถามว่าองค์กรอิสระหลายชุดที่ตั้งขึ้นมาและบางชุดมีการยืดอายุการทำงาน แต่กลับไม่มีผลงานจะทำอย่างไร ร...เฉลิม กล่าวว่า ตนไม่กล้าแสดงความเห็น เพราะเดี๋ยวจะเป็นการชี้นำกรรมการชุดนายอุกฤษได้ แต่คิดว่าคณะกรรมการชุดนายอุกฤษจะมีมาตรฐานและมีคุณภาพ

เมื่อถามว่า ในสายตาท่านมองระบบกฎหมายหลังการปฏิวัติ มีการใช้กฎหมายที่สองมาตรฐานจริงหรือไม่ ร...เฉลิม กล่าวว่า ไม่แสดงความเห็น แต่อะไรที่มาจากคณะปฏิวัติตนไม่เห็นด้วย เมื่อถามว่ากังวลเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ เพราะมักจะถูกแรงเสียดทานทุกครั้งที่มีการขยับเรื่องแก้กฎหมายหรือแก้รัฐธรรมนูญ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลคงไม่กังวลอะไรถูกก็ถูกอะไรผิดก็ผิด อย่างเรื่องรัฐธรรมนูญ ที่ส...จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นส่วนใหญ่และแต่งตั้งนิดเดียว และเมื่อ ส...มาจากการเลือกตั้งแล้ว ถามว่ารัฐบาลจะไปสั่งเขาได้หรือ เพราะเขาต้องเป็นตัวของตัวเอง ถ้านักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไม่ยอมรับการเลือกตั้ง ส...แล้วจะเอาอะไรมาเป็นตัวตั้งหรือมาเป็นมาตรฐาน

“วันนี้นักการเมืองบางพรรคเหมือนแม่นาคกลัวเณรจิ๋ว กลัวโดนเสกเข้าหม้อเลยตกใจ แต่ไปทำให้เรื่องมันยุ่งทั้งที่มันไม่ยุ่งอะไรเลย เพราะบอกไปแล้วว่าแนวคิดแก้มาตรา 291 เมื่อ ส...มาจากการเลือกตั้ง ก็จะระบุว่าก่อนที่จะเอาเข้าสภาฯต้องถามความเห็นของประชาชนก่อน ถ้าประชาชนเห็นด้วยก็ต้องยอมรับฟัง และผมมีแนวคิดต่อว่าถ้าประชาชนเห็นด้วย และนำเข้าสภาฯมาแล้ว ก็ให้แสดงความเห็นเลยว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ไม่ต้องไปรับหลักการวาระหนึ่งเพื่อแปรญัตติและตั้งคณะกรรมาธิการ ให้ตัดสินใจเลยว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ถ้าใครไม่เห็นด้วยก็เสียคน เพราะ ส...เข้ามาจากการเลือกตั้ง และถามประชาชนแล้วเห็นด้วย” ร...เฉลิม กล่าว

ที่มา ผู้จัดการ

ปชป.ชี้ตั้ง กก.นิติธรรมแห่งชาติอาจขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

นายสาธิต ปิตุเตชะ ส..ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเงา พรรค ปชปกล่าว ครม.มีมติแต่งตั้งนายอุกฤษ มงคลนาวิน ให้เป็นประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยนิติธรรมแห่งชาติ ว่ามติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะให้อำนาจคณะกรรมการครอบคลุมทั้ง รัฐสภา ศาล และองค์กรอิสระ น่าจะสนองการปฏิบัติการทางการเมืองของรัฐบาลมากกว่า ทั้งที่น่าจะเลือกเฉพาะเมื่อเกิดเหตุ ซึ่งใช้ คอป.ดำเนินการก็ได้ จึงห่วงว่าอำนาจหน้าที่คณะกรรมการจะไปก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ เพราะอำนาจหน้าที่เขียนไว้ให้สามารถเรียกเอกสารต่างๆ ได้ และอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 173 ที่ระบุชัดว่า องค์กรศาลต้องเป็นอิสระ ดังนั้น สามารถยื่นตีความได้ว่ามติ ครม.นี้ขัดต่อกฎหมายสูงสุดหรือไม่

ที่มา มติชน

ครม.แต่งตั้งโยกย้าย ขรก.หลายกระทรวง มีผล 1 ..นี้

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (13 ..) มีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และข้าราชการเมืองในหลายกระทรวง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ซึ่งในส่วนกระทรวงยุติธรรมมีการแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง เช่น แต่งตั้งให้ นายชาติชาย สุทธิกรม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อเปิดทางให้ พ...สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์

นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม และให้ นายพิทยา จิณาวัฒน์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ แทน และย้ายนางสุรีย์ประภา ตรัยเวช เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรมแทน ขณะที่ พ...ดุษฎี อารยะวุฒิ ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม เป็นเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

นอกจากนี้ ยังแต่งตั้ง นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นที่ปรึกษา นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ที่มา : ผู้จัดการ

คร.แจกเข็มสะอาด ลดติดเอชไอวีจากการใช้สารเสพติด

กรมควบคุมโรค เล็งหายื่นเรื่องให้กฤษฎีกา ตีความเรื่อง “แจกเข็มฉีดยาสะอาด” ใหม่ แต่ขอเวลาหารือร่วมนักกฎหมาย

นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีที่กรมควบคุมโรคได้หารือข้อกฎหมายในนโยบายลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของการติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ใช้เข็มและอุปกรณ์ฉีดที่สะอาดไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณา และให้ความเห็นว่า หากกระทำการด้วยวิธีการแจกเข็มและอุปกรณ์ฉีดที่สะอาดจะขัดต่อบทบัญญัติแห่ง พ...ยาเสพติดให้โทษ พ..2522 ซึ่งหากมีบุคคลใดแจกเข็มและอุปกรณ์ฉีดแก่ผู้ติดยาเสพติดโดยมีเจตนาให้นำเข็มและอุปกรณ์สนับสนุนผู้เสพ ว่า ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างการปรึกษาหารือกับนักกฎหมายของกรมควบคุมโรค เพื่อพิจารณาคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า มีประเด็นใดที่กรมสมควรที่จะอธิบาย หรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมกลับไปยังสำนักงานกฤษฎีกาเพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาวินิจฉัยข้อกฎหมายใหม่หรือไม่ หากพบว่ามีก็จะส่งเรื่องดังกล่าวกลับไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ด้าน พญ.เพชรศรี ศิรินิรันดร์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ กล่าวว่า ตามแผนลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดในประเทศไทย ซึ่งหมายถึงการลดความเสี่ยงและอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาเสพติดโดยการใช้เข็มและกระบอกฉีดร่วมกัน จะต้องดำเนินงาน 4 รายการหลัก ได้แก่ 1.การให้สารเมธาโดน หรือสารทดแทนสารเสพติด 2.การให้คำปรึกษาและตรวจคัดกรอง 3.การให้ยาต้านไวรัสและ 4.การสนับสนุนเข็มฉีดยาที่สะอาด ทั้งนี้ การจะดำเนินการตามแผนทั้ง 4 ข้อโดยเฉพาะในข้อ 4 ให้สำเร็จตามเป้าหมายนั้น อาจจำเป็นต้องมีการทบทวนกฎหมายอย่างน้อย 2 ฉบับ ได้แก่ พ...ยาเสพติดให้โทษ พ..2522 ที่ระบุว่าผู้ใช้ยาเสพติดเป็นอาชญากร และ พ...ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ..2545 ระบุว่าผู้ใช้ยาเสพติดเป็นผู้ป่วย

พญ.เพชรศรี กล่าวอีกว่า การให้สารเมธาโดนเพื่อทดแทนสารเสพติดเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด เพราะการติดเชื้อติดจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ซึ่งนโยบายการสนับสนุนเข็มฉีดยาและอุปกรณ์ที่สะอาดในประเทศไทยยังเรื่องที่สังคมไม่ยอมรับ

ที่มา : ผู้จัดการ

"ปรียนันท์"นำทีมอดข้าว กดดันรัฐคลอดก..คุ้มครองคนไข้

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา และเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ นัดรวมตัวและปักหลักชุมนุมประท้วงด้วยการอดข้าว ที่อาคารสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันร่างกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ทั้ง 13 ฉบับ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 20 กันยายน ที่จะถึงนี้ ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 21 กันยายน เพื่อให้มีมติรับรองร่างกฎหมายดังกล่าว

โดยเมื่อวันที่ 13 กันยายน เครือข่ายฯ ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ดำเนินการ

ก่อนหน้านี้ เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ พยายามผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้มากกว่า 9 ปี ด้วยความหวังว่า จะเป็นเครื่องมือช่วยชดเชยความเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการรักษา และลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์กับคนไข้ให้น้อยลง แม้รัฐบาลชุดที่แล้วจะรับปากว่า จะผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่ยุบสภาไปก่อน ทำให้ร่างกฎหมายทั้ง 13 ฉบับ ยังค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

ที่มา : ผู้จัดการ

สื่อพม่าเผย รัฐบาลพม่าจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

นิวไลท์ออฟเมียนมาร์’ เผย รัฐบาลพม่าจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เพื่อ “พิทักษ์” สิทธิของประชาชนชาวพม่า ด้านฝ่ายค้านติง เป็นเพียงเสือกระดาษ

หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ซึ่งเป็นสื่อของรัฐบาลพม่า เปิดเผยว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (5 ..) รัฐบาลพม่าได้จัดตั้ง “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” ซึ่งประกอบไปด้วยข้าราชการที่เกษียนแล้วจำนวน 15 คน เพื่อ “พิทักษ์และปกป้อง” สิทธิของประชาชนชาวพม่า ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ ฉบับปีพ.. 2551

การจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ตรวจการพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โทมัส โอเคีย ควินทานา ไปเยือนประเทศพม่าเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยเรียกร้องต่อรัฐบาลพม่าให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง รวมถึงจัดตั้งคณะกรรมการการตรวจสอบ (Commission of Inquiry) เพื่อสืบสวนอาชญากรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม นักสิทธิมนุษยชนมองว่า การจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าว เป็นเพียงความพยายามของรัฐบาลพม่าในการสร้างภาพที่ดูเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หลังจากที่พม่าเปลี่ยนเป็นรัฐบาลพลเรือนหลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อ่านเพิ่มเติม : ประชาไท

เฉลิม ขีดเส้น 90 วัน เว็บหมิ่นเบื้องสูงต้องหมดไป

เมื่อวันที่ 12 .. ...เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนได้เรียกประชุมข้าราชการตำรวจที่เป็นนักเรียนทุนระดับดอกเตอร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ซึ่งจะเน้นเรื่องการสืบสวน สอบสวน การปราบปราม งานระดับสถานีตำรวจ และการถวายความจงรักภักดีที่จะต้องดูแลไม่ให้มีเว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะต้องไม่มี หากเกิดแล้วต้องปิดกั้นจับกุมทุกรูปแบบ ความจริงใน สตช. มีนายตำรวจที่เรียนจบระดับปริญญาเอกจำนวนมาก แต่ไม่มีใครใช้ ตนจึงจะหารือว่าจะมีแนวทางอย่างไรให้ สตช.ทำงานรับใช้ประชาชนได้ โดยให้ตั้งเป็นคณะกรรมการ และให้ระยะเวลาทำงาน 90 วัน หากต้องการการสนับสนุนอย่างไรให้แจ้งผ่านทาง พล...เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผบ.ตร. รรท.ผบ.ตร.

ที่มา: เว็บไซต์ไทยรัฐ

ออสเตรเลียยื่นร่างกม.เก็บภาษีปล่อยคาร์บอนเข้าสู่สภา

นายกรัฐมนตรีจูเลีย กิลลาร์ด ของออสเตรเลียได้ยื่นร่างกฎหมายเก็บภาษีการปล่อยคาร์บอนเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ซึ่งนับเป็นความพยายามครั้งที่ 3 ในการผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ โดยบอกว่าถึงเวลาแล้วที่ควรจะมีการปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

ร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนดบังคับให้บริษัทที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุดเกือบ 500 แห่งจ่ายภาษีในอัตรา 23 เหรียญออสเตรเลียหรือราว 700 บาทต่อคาร์บอน 1 ตันโดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมปีหน้า

การลงมติอนุมัติจะมีขึ้นในสภาผู้แทนราษฎรช่วงกลางเดือนตุลาคม และในวุฒิสภาช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน และคาดว่าจะได้รับการเห็นชอบจากทั้งสองสภา แม้มีเสียงคัดค้านจากพรรคฝ่ายค้านใหญ่ว่าจะทำให้เกิดการว่างงานและค่าครองชีพแพงขึ้น ขณะที่ประชาชนจำนวนมากรวมตัวประท้วงภายในบริเวณทำเนียบรัฐบาลเพื่อคัดค้านเพราะกลัวว่าการเก็บภาษีคาร์บอนจะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสูงขึ้นและจะทำให้สินค้าทุกอย่างแพงตาม นอกจากนี้ผู้ประท้วงไม่พอใจที่กิลลาร์ดผิดคำสัญญาที่เคยบอกไว้ช่วงก่อนการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้วว่าจะไม่ผลักดันการเก็บภาษีคาร์บอน

แผนการเก็บภาษีคาร์บอนเป็นหนึ่งในความพยายามของรัฐบาลที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5% จากระดับการปล่อยก๊าซเมื่อปี 2543 ให้ได้ภายในปี 2563 และเป็นหนึ่งในร่างกฎหมายสำคัญ 18 ฉบับที่มุ่งแก้ไขปัญหาโลกร้อน

ที่มา : สำนักข่าวเนชั่น