ผมอยากให้มีกฏหมายใดก็ได้ต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหาร

ผมอยากให้มีกฏหมายใดก็ได้ต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหาร

ลูกพ่อรพี เมื่อ 2 ต.ค. 2554

ผมอยากให้มีกฏหมายใดก็ได้ต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหาร และกฏหมายที่ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบอำนาจรัฐได้และควรจำกัดการเป็นนายกรัฐมนตรีจะได้ไม่ตอ้องแย่งกันรวมทั้งอยากให้มีการเสนอกฏหมายที่มาจากเจตน์จำนงของประชาชนจริงๆครับ อีกอย่าอยากให้กระบวนการยุติธรรมเลิกการเป็นตุลาการภิวัฒน์

คุณแสดงความคิดเห็นว่า
Vote
Get Adobe Flash player

Comments

Y@H@'s picture

ผมขอให้ความเห็นบางประเด็นที่ผมพอเข้าใจสิ่งที่คุณสื่อมานะครับ

1) เรื่องอยากให้มีกฎหมายต่อต้านการปฎิวัติรัฐประหาร

     ในส่วนนี้มีอยู่แล้วครับ ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 แต่ก็เปรียบ"เสมือน"กฎหมายที่ตายไปแล้วเพราะทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร คณะรัฐประหารมักจะออกบทนิรโทษกรรมตนเองเสมอ อย่างครั้งล่าสุดนี่ก้าวหน้าถึงขนาดนิรโทษกรรมตัวเองไว้ถึง 2 ชั้น ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว49 มาตรา 37(ถ้าผมจำไม่ผิด) และ ในรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 309

       ทั้งแนวทางการตีความของศาลไทยก็ไปยอมรับกฎหมายที่มาจากรัฐประหารว่ามีสถานะเทียบเท่ากฎหมายที่ออกมาจากผู้แทนของปวงชน มีผลบังคับใช้ได้  ซึ่งเป็นแบบนี้เรื่อยมาไม่ว่าจะศาลฎีกาหรือศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม

         ดังนั้นกฎหมายในการต่อต้านรัฐประหารคงไม่ต้องบัญญัติเพิ่มแล้วละครับ เพราะมี 113 อยู่แล้ว ปัญหาคือเอา 113 ออกมาใช้ให้ได้ก่อนเสียดีกว่า



2) ประเด็นเรื่องกฎหมายที่ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบอำนาจรัฐได้ผมก็ว่ามีแล้วนะครับ ยกตัวอย่างในเรื่องของผู้ตรวจการแผ่นดินฯ ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นต้น แต่หากจะมีเพิ่มก็ควรจะพิจารณาถึงความคล่องตัวของฝ่ายบริหารด้วย เพราะหากถูกควบคุมมากเกินไปจะก่อให้เกิดการติดขัดในการบริหารของฝ่ายบริหารได้ ซึ่งจะกระทบต่อประโยชน์มหาชนแทน



3) ประเด็นในเรื่องเสนอกฎหมายที่มาจากเจตจำนงของประชาชน

     น่าจะมีอยู่แล้วครับ ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 163 ซึ่งรับรองสิทธิของประชาชนจำรวน 10000 คนให้สามารถเสนอกฎหมายในหมวด 3 และ หมวด 5 ของรัฐธรรมนูญได้



4) ประเด็นตุลาการภิวัฒน์

    ประเด็นนี้ผมว่าคงต้องยกร่างรัฐธรรมนูญนี้ใหม่เลยล่ะครับ เพราะ รัฐธรรมนูญนี้ให้อำนาจฝ่ายตุลาการมากเกินไปจนขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งเป็นหัวใจของหลักนิติรัฐในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

     ในประเด็นนี้ผมเห็นด้วยกับคุณอย่างมากที่สุดครับ

opop's picture

อืม ผมก็เข้าใจนะ ว่านำเสนอในหลักการไง ว่าอยากให้กฎหมายเป็นยังไง แต่ไม่ได้เสนอในรายละเอียดว่ากฎหมายฉบับใด ควรเขียนว่าอย่างไรใช่มะ เพราะฉะนั้นแม้บางเรื่องจะเขียนไว้อยู่แล้ว แต่ก็ยังเสนอในหลักการให้ชัดขึ้นอีกได้ นะ

เห็นด้วยครับ