เวทีเสวนาวิชาการ
มลายูมุสลิมกับรัฐไทยในสภาวะยกเว้น
โดย ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2554
ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กำหนดการ
13.00 – 13.15 น. ชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีเสวนา โดย ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ
13.15 – 16.00 น. การเสวนาทางวิชาการ “มลายูมุสลิมกับรัฐไทยในสภาวะยกเว้น”
· ดร.อนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
· ดร.วรวิทย์ บารู สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดปัตตานี
· อาจารย์ อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการอิสระ จังหวัดปัตตานี
ดำเนินรายการ โดย อาจารย์ธานินทร์ สาลาม
16.00-16.30 น. สรุปและความคิดเห็น
· ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ
· ศาสตราจารย์ ชาร์ลส์ เอฟ. คายส์
หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยยังคงเกิดขึ้นเป็นรายวัน ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตนับพันคน โดยผู้ที่กลายเป็นเหยื่อของความรุนแรงดังกล่าวมีทั้งเจ้าหน้าที่รัฐสังกัดหน่วยงานต่าง ๆ กับทั้งประชาชนทุกกลุ่มเชื้อชาติและศาสนา ทั้งนี้ ในความเข้าใจของรัฐและสาธารณะนั้นยังคงมองพี่น้องมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้แบบเหมารวมว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา โดยเฉพาะปัญหาความแตกต่างทางชาติพันธุ์ที่มักถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ฉะนั้น ความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนภาคใต้จึงเป็นประเด็นของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์มลายูมุสลิมกับรัฐไทย
ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา ซึ่งมีหลักสูตรปริญญาโทชาติพันธุ์สัมพันธ์และการพัฒนา กับทั้งกำลังดำเนินโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนมุสลิมอยู่ จึงดำริให้มีการจัดการเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “มลายูมุสลิมกับรัฐไทยในสภาวะยกเว้น” โดยการเชิญนักวิชาการที่ทำการศึกษาชาวมลายูมุสลิมในภาคใต้ และนักการเมืองท้องถิ่นมาร่วมการเสวนาทางวิชาการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวดีขึ้น กับเป็นการเปิดโอกาสในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการคำอธิบายในเชิงวิชาการว่าด้วยบริบทของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์มลายูมุสลิมกับรัฐไทย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นเวทีวิชาการในนำเสนอรายงานการวิจัยทางวิชาการด้านมุสลิมศึกษาในภาคใต้ของประเทศไทย
2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านวิชาการและสังคมวัฒนธรรมเกี่ยวกับมุสลิมในสังคมไทย
3. เพื่อให้นักศึกษา นักวิชาการและบุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจในประวัติศาสตร์และ อัตลักษณ์มุสลิมภายใต้บริบทของรัฐชาติและกระแสโลกาภิวัตน์
วิทยากร
1. ดร. อนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ดร. วรวิทย์ บารู สมาชิกวุฒิสภา ปัตตานี
3. อาจารย์ อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการอิสระ ปัตตานี