“เราเปลี่ยน โลกเปลี่ยน:วิถีสู่พุทธศาสนาของสังฆรักษิตา” บทเรียนการทำงานกับจัณฑาลในประเทศอินเดีย

เสมสิกขาลัย ร่วมกับ มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคประทีป และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
ขอเชิญร่วมงานปาฐกถาเสมพริ้งพวงแก้ว ครั้งที่ ๑๘
------------------------------------------------------------


“เราเปลี่ยน โลกเปลี่ยน:วิถีสู่พุทธศาสนาของสังฆรักษิตา”
 บทเรียนการทำงานกับจัณฑาลในประเทศอินเดีย
 โดย ธรรมจารีโลกมิตรา 


------------------------------------------------------------
วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
ณ ห้องประชุมชั้น ๒ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สวนวชิรเบญทัศ(สวนรถไฟ)
------------
กำหนดการ
------------
๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น. ลงทะเบียนเพื่อร่วมรับฟังปาฐกถา
๑๓.๓๐ – ๑๔.๐๐ น. ฉายวีดีทัศน์การทำงานกับจัณฑาลในประเทศอินเดีย (อยู่ระหว่างประสานงาน)
๑๔.๐๐ – ๑๔.๑๕ น. คุณสุรสีห์ โกศลนาวิน กล่าวเปิดงานปาฐกถา
๑๔.๑๕ – ๑๔.๓๐ น. ฉายวีดิทัศน์ รายงานกิจกรรมเสมสิกขาลัย
๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น. อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์กล่าวแนะนำปาฐก
๑๔.๔๕ – ๑๖.๑๕ น. ปาฐกถา หัวข้อ “เราเปลี่ยน โลกเปลี่ยน:วิถีสู่พุทธศาสนาของสังฆรักษิตา” บทเรียนการทำงานกับจัณฑาลในประเทศอินเดีย โดย ธรรมจารีโลกมิตรา แปลภาษาโดย คุณลภาพรรณ ศุภมันตา
๑๖.๑๕ – ๑๖.๔๕ น. ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิด
๑๖.๔๕ – ๑๗.๐๐ น. กล่าวปิดงานโดย อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์

----------------------------
ประวัติ ธรรมจารีโลกมิตรา
----------------------------
ธรรมจารีโลกมิตราเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ และได้ออกบวชเป็นส่วนหนึ่งของนิกายพุทธตะวันตก (Western Buddhist Order)
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยสังฆรักษิตาเป็นผู้บวชให้ในกรุงลอนดอน ต่อมา ภายหลังที่ได้เป็นประธานของศูนย์ลอนดอนเหนือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อนของนิกายพุทธตะวันตก (Friends of Western Buddhist Order - FWBO) มาระยะหนึ่งแล้ว เขาก็ได้ย้ายมาอยู่ที่ประเทศอินเดียในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่อินเดียนี้ เขาได้ช่วยริเริ่ม พัฒนา และให้คำแนะนำต่อกิจกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นเวลาหลายปี ในนามองค์กร “ตรีรัตนพุทธมหาสังฆะ” (Triratna Bauddha Mahasangha - TBM) และทำโครงการทางสังคมหลายโครงการในนามองค์กร “พหุชนหิตายะ” (Bahujan Hitay) ปัจจุบันนี้ กลุ่ม TBM ได้บริหารศูนย์สอนพุทธศาสนากว่า ๔๐ แห่งประเทศอินเดีย ในจำนวนนี้มีศูนย์ปฏิบัติสมาธิภาวนาขนาดใหญ่ ๒ แห่งที่เขตพะชะ ใกล้กับเมืองปูเน และเขตบอรธารันใกล้เมืองนาคปุระ องค์กรพหุชนหิตายะได้สร้างหอพักกว่า ๒๐ แห่งให้กับเด็กๆ ซึ่งหากไม่มีหอพักเช่นนี้ ก็ยากที่พวกเขาจะได้รับการศึกษาในโรงเรียนได้ องค์กรนี้ก็ได้เริ่มขยายกิจกรรมไปสร้างโครงการชุมชนด้านสุขภาพและการศึกษา ในเขตชุมชนแออัดของเมืองปูเน นาคปุระ มุมไบ และอื่นๆ อีกด้วย งานเหล่านี้ส่วนมากได้เกิดขึ้นสำหรับกลุ่มดาลิต ซึ่งหลายคนได้เปลี่ยนมาถือพุทธศาสนาด้วยการนำของ ดร. เอ็มเบ็ดการ์
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา ธรรมจารีโลกมิตราได้มีส่วนร่วมในการก่อตั้ง “กองทุนชมพูทวีป” (Jambudvipa Trust) ที่เมืองปูเน ชมพูทวีปเป็นชื่อทางพุทธศาสนาโบราณที่ใช้เรียกอนุทวีปอินเดีย ชื่อนี้แสดงให้เห็นถึงการแปรเปลี่ยนสังคมและวัฒนธรรมผ่านค่านิยมทางจริยธรรมและจิตวิญญาณ กองทุนดังกล่าวดำเนินโครงการและเครือข่าย “มนุสกี” (Manuski) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นสนับสนุนให้ชาวดาลิตออกมารับผิดชอบต่อการแปรเปลี่ยนสถานการณ์ของตนเอง นอกจากนี้ กองทุนนี้ยังทำหอพักหนึ่งแห่งสำหรับเด็กหญิงชาวดาลิตที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รัฐคุชราตเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และหอพัก ๒ แห่งสำหรับเด็กๆ ชาวดาลิตที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิใกล้กับเมืองเชนไน ธรรมจารีโลกมิตราได้สร้างสถาบันนาครชุน (Nagarjuna Institute) ที่เขตนาคโลก เมืองนาคปุระ และให้คำแนะนำแก่สถาบันนี้ กิจกรรมสำคัญของสถาบันนี้ก็คือการสอนพุทธศาสนาทั้งปริยัติและปฏิบัติในหลักสูตรแบบโรงเรียนประจำระยะเวลาหนึ่งปี สำหรับคนที่เพิ่งเปลี่ยนมาเป็นพุทธศาสนิกชนใหม่ๆ จากที่ต่างๆ ในประเทศอินเดีย ตลอดเวลา ๙ ปีที่ผ่านมา มีนักศึกษากว่า ๖๐๐ คน มาจากรัฐต่างๆ ๒๒ แห่ง ได้รับประโยชน์จากการอบรม และได้ประกอบกันขึ้นเป็นเครือข่ายทั่วอินเดียที่ข้ามพ้นวรรณะและภูมิภาค
ไม่นานมานี้ ธรรมจารีโลกมิตราได้มีส่วนร่วมในการเริ่มต้นเครือข่าย “ปรพุทธพรัต” (Prabuddha Bharat Network) เพื่อสร้างการสื่อสารและสนับสนุนประชาชนจากทั่วประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากแนวทางไปสู่พุทธศาสนาและการเปลี่ยนแปลงสังคมของ ดร. เอ็มเบ็ดการ์
 
ท่านสามารถบริจาคตามกำลังทรัพย์เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดงาน และเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
---------------------------------------------------
สำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
---------------------------------------------------
เสมสิกขาลัย(รามคำแหง) คุณสาวิตรี กำไรเงิน โทร. ๐๒ – ๓๑๔ ๗๓๘๕ ถึง ๖ 
e-mail: semsikkha_ram@yahoo.com http://www.semsikkha.org
 
เสมสิกขาลัยขออภัยหากอีเมล์เป็นการรบกวนท่าน
หากไม่ต้องการรับข่าวสารกรุณาตอบกลับมาทางอีเมล์ [email protected]
If you don't want to receive email from us in the future, 
please let us know by stating so in an email addressed to [email protected]