สังคมไทยจำเป็นหรือไม่? ที่ต้องมีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

จากปรากฏการณ์วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพที่ปรากฏชัดอย่างต่อเนื่อง รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 จึง ได้กำหนดให้มีองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นต่อโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนก่อนที่หน่วยงานรัฐจะอนุมัติหรืออนุญาตให้ดาเนิน โครงการหรือกิจกรรมดังกล่าว

แต่ตลอดระยะเวลาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ไม่มีรัฐบาลใดออกกฎหมายลูกเพื่อจัดตั้งองค์การอิสระดังกล่าว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 67 วรรคสอง ยังคงบัญญัติให้มีองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ และในวันที่ 4 พฤษภาคม 2554 สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ พ.ศ. ... และวุฒิสภาได้ลงมติรับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าว ต่อมาวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 มีผลให้เกิดการยุบสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 23 ในขณะนั้นมีกฎหมายที่ค้างอยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติทั้งหมด 293 ฉบับ แบ่งเป็นอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรจานวน 287 ฉบับ และวุฒิสภาจานวน 6 ฉบับ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ พ.ศ. ...(เสนอโดยคณะรัฐมนตรี) เป็น 1 ใน 6 ฉบับ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาในวาระที่สองของวุฒิสภา โดย มีสาระสาคัญ คือ การจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ธรรมชาติและสุขภาพเพื่อพิจารณาผลกระทบของการดาเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ก่อนที่จะมีการดาเนินการตามโครงการหรือกิจกรรมดังกล่าว

แม้ว่าคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554 ข้อที่ 5.3. ระบุว่า...ผลักดันกฎหมายว่าด้วยองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติจากการประชุมเมื่อวันที่ 20 เดือนกันยายน พ.ศ.2554 ไม่ยืนยัน “ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ พ.ศ. ....” ที่อยู่ในระหว่างการพิจาณาของวุฒิสภา

เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพได้ออกแถลงการณ์ขอคัดค้านมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 เดือนกันยายน พ.ศ.2554 และ ขอเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีได้ทบทวนแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเพื่อยืนยันร่างพระ ราชบัญญัติองค์การอิสระสิ่งแวดล้อมและสุขภาพฉบับที่อยู่ในขั้นการพิจารณาของ คณะกรรมาธิการวิสามัญของวุฒิสภา แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณาจากรัฐบาล จึงทาให้ร่างกฎหมายนี้ตกไป

ด้วยเหตุดังกล่าว เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพ และองค์กรชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบรุนแรงฯ ตาม มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 จึงร่วมกันใช้สิทธิของพลเมืองตามมาตรา 163 ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ไม่น้อยกว่า 10,000 รายชื่อ เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯฉบับนี้ โดยมีกำหนดการ : ยื่นรายชื่อผู้ยืนยันเสนอกฎหมายนี้ ต่อประธานรัฐสภา ในวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555

ดังนั้น ในวันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 จึงจะจัดให้มีเวทีเสวนา “สังคมไทยจำเป็นหรือไม่ ? ที่ ต้องมีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ” เพื่อแสดงจุดยืนของภาคประชาชน ที่เห็นพ้องถึงความจาเป็นของสังคมไทย ที่ต้องมี องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ และการผลักดันให้มีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตามเจตจานงของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซอยวัฒนะโยธิน ราชวิถี 7

 

สังคมไทยจำเป็นหรือไม่ ? ที่ต้องมีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 09.30 - 14.30 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 4 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซอยวัฒนะโยธิน ราชวิถี 7 (โทร. 02-248-3734)

ประเด็น

  • องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ในต่างประเทศที่น่าสนใจ
    โดย อาจารย์เดชรัตน์ สุขกาเนิด ผู้อำนวยการมูลนิธินโยบายสุขภาวะ
  • ความพยายามของภาคประชาสังคม ในการผลักดันให้มีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ในประเทศไทย
    โดย คุณหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมฯ
  • สาระสาคัญของ ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พ.ศ. .... (ฉบับเข้าชื่อเสนอกฎหมายภาคประชาชน)
    โดย อาจารย์สัญชัย สูติพันธ์วิหาร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ข้อจากัดในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมฯ (เฉพาะกาล)
    โดย คุณวีรพงษ์ เกรียงสินยศ อดีตกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เฉพาะกาล)
  • แถลงข่าว : จุดยืนภาคประชาชน ความจำเป็นของสังคมไทยที่ต้องมีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ
    โดย ผู้แทนจากองค์กรผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย และผู้แทนภาคประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ (อุตสาหกรรมมาบตาพุด โรงถลุงเหล็กบางสะพาน เหมืองแร่ทองคาเมืองเลย)

 

ร่วมจัดโดย
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.ชาติ)
เครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย
สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ผู้ประสานงาน
ภรภัทร พิมพา 081-409-7884 / 02-691-1216