สืบพยานคดีปีนสภา
เมื่อ 20 ก.พ. 2555 โดย iLaw
นัดสืบพยานคดีปีนสภา
เรียนเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจ เข้าร่วมการสังเกตการณ์การพิจารณาคดีปีนสภาสนช. คดีนี้เกิดจากเหตุการณ์ในปี 2550 ที่ผู้ชุมนุมนับพันคัดค้านการเร่งผ่านกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งเป็นสภาที่ถูกแต่งตั้งขึ้นหลังจากการรัฐประหารในปี 2549 โดยผู้ชุมนุมได้ปีนรั้วเข้าไปภายในอาคารรัฐสภา ส่งผลให้สำนักงานเลชาธิการวุฒิสภาแจ้งความฟ้องร้องนายจอน อึ๊งภากรณ์ และพวก ซึ่งประกอบด้วยนักพัฒนาองค์กรเอกชน นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ รวม 10 คน
โดยในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 9.00 เป็นต้นไป ณ ศาลอาญารัชดาภิเษก ห้อง 801 มีการสืบพยานโจทก์วันแรก โดยนายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานสนช. จะให้การในฐานะพยานโจทก์ปากที่หนึ่ง และยังมีนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ และนางเตือนใจ ดีเทศน์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาให้การในฐานะพยานโจทก์ด้วย
คดีดังกล่าว ศาลรับฟ้องเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 เป็นคดีดำที่ อ.4383/2553 ฟ้องร้องว่าผู้ชุมนุมละเมิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (กระทำการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล สร้างความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน) มาตรา 215 (มั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง) มาตรา 362 (เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น) มาตรา 364 (เข้าไปในเคหะสถานโดยไม่มีเหตุอันควรและไล่ไม่ยอมออก) มาตรา 365 (ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่ว่าจะประทุษร้ายในการกระทำตามมาตรา 362, 364)
นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน และเคยได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐ เป็นจำเลยที่หนึ่งในคดีนี้ และผู้ถูกกล่าวหาอีก 9 คนได้แก่ นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายพิชิต ไชยมงคล นายอนิรุทธ์ ขาวสนิท นายนัสเซอร์ ยีหมะ นายอำนาจ พละมี นายไพโรจน์ พลเพชร กรรมการปฏิรูปกฎหมาย และประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมในครั้งนั้นมาจากหลากหลายกลุ่มรวมราวพันคน เพราะเห็นว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่สมควรและไม่มีความชอบธรรมเร่งผลักดันกฎหมายใดๆ อีกทั้งช่วงการชุมนุมดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนจะมีการเลือกตั้งใหม่ราวสองสัปดาห์ และได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดการเลือกตั้ง ซึ่งสนช. ไม่ควรและไม่มีความชอบธรรมในพิจารณากฎหมายอีกแล้ว และเนื้อหากฎหมายเหล่านั้นก็ขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ผู้ชุมนุมเข้าไปชุมนุมบริเวณด้านหน้าห้องประชุมรัฐสภาเพื่อขอให้ สนช.ยุติการพิจารณากฎหมายเหล่านั้นและเคารพเสียงของประชาชนเนื่องจากได้มีการกำหนดวันเลือกตั้งแล้วจึงควรให้ผู้ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นผู้พิจารณากฎหมายตามหลักการประชาธิปไตยต่อไป
ทั้งนี้ ตัวอย่าง กฎหมายที่ผู้ชุมนุมคัดค้าน ได้แก่
- ร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรมีสาระสำคัญเป็นการขยายอำนาจให้กองทัพควบคุมสังคม โดยปราศจากการตรวจสอบจากสถาบันตุลาการ
- ร่างกฎหมายป่าชุมชน มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเงื่อนไขตัดสิทธิการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชุมชน
- ร่างกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรน้ำ มีสาระสำคัญให้รัฐมีอำนาจบริหารจัดการน้ำแบบเบ็ดเสร็จใน 3 รูปแบบ คือรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำ การผันน้ำการทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำในยามน้ำท่วม รูปแบบการบริหารจัดการหรือการใช้น้ำและรูปแบบการกำหนดการใช้ที่ดิน รวมทั้งไม่รับรองสิทธิของชุมชนที่จัดการน้ำที่มีอยู่เดิม
- ร่างกฎหมายการประกอบกิ