Shakespeare Must Die เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องล่าสุดที่ถูกสั่งห้ามฉาย ผู้คนในวงการภายนตร์ร่วมกันออกจดหมายเปิดผนึกไม่เห็นด้วยกับคำสั่ง และเรียกร้องนายกรัฐมนตรีอย่าแบนภาพยนตร์ไทยอีก โดยให้เหตุผลว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ
จดหมายเปิดผนึก หยุดแบนภาพยนตร์ไทย หยุดปิดกั้นเสรีภาพ ไม่เป็นประชาธิปไตย เรียน นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประธานคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ และรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม นางสุกุมล คุณปลื้ม รองประธานกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ด้วยคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะที่ ๓ มีมติในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ ห้ามเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่อง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ (Shakespeare Must Die) ในราชอาณาจักร ด้วยเหตุผลว่า “ภาพยนตร์มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๗(๓)” คณะของข้าพเจ้าอันประกอบไปด้วย ทีมผู้สร้างภาพยนตร์ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย นักวิชาการ นักแสดง ผู้ประกอบวิชาชีพด้านภาพยนตร์ กลุ่มคนรักหนัง ตลอดจนประชาชนผู้รักเสรีภาพ เห็นว่ามติดังกล่าวคลุมเครือ ครอบจักรวาล ไร้เหตุผลสนับสนุน ถือเป็นมาตรการรุนแรง ขาดความพอดี อันเป็นเหตุให้กระทบต่อ “สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” แก่ทุกฝ่าย ทั้งผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ชม ทั้งนี้เจตนารมณ์ของ พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ปัจจุบัน เป็น พรบ.ที่ให้ความสำคัญกับระบบการจัดประเภทของภาพยนตร์ (Rating) เพื่อเป็นหลักประกันในสิทธิและเสรีภาพของประชาชน แทนพรบ.ภาพยนตร์ฉบับเก่าที่ใช้วิธีแบบเผด็จการคือ ห้ามฉายหรือแบน คณะของข้าพเจ้าจึงขอคัดค้าน ไม่เห็นด้วยต่อมติห้ามฉายภาพยนตร์ไทย ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ และขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ โปรดพิจารณาทบทวนมติดังกล่าว และโปรดมีคำสั่งห้ามแบนภาพยนตร์ไทยในอนาคต โดยให้ยึดถือการจัดประเภทภาพยนตร์ (Rating) เป็นหลักปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อมิให้กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย อนึ่ง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ นับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องที่สอง ที่ถูกคำสั่งห้ามฉาย ภายใต้พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฉบับปัจจุบัน โดย Insects in the Backyard ของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถูกคำสั่งดังกล่าวใน ปี ๒๕๕๓ ซึ่งเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจาณา ด้วยความนับถือ Open Letter of Appeal Stop Banning Thai Films; Stop Obstructing Freedom; Stop Undemocratic Practices Addressed to: Prime Minister Yingluck Shinawatra Chairperson, National Board of Film and Video and Minister of Culture Mrs Sukumol Khunpleum Vice Chair of the National Board of Film and Video On April 3rd, 2012, the Film and Video Censorship Board, Third Committee, issued a verdict banning from distribution the film ‘Shakespeare Must Die’ in the Kingdom of Thailand, the reason given being that “the film’s content causes divisiveness among the people of the nation, according to Ministerial Regulation describing types of films 2009, Article 7(3)” I and my party, consisting of filmmakers, academics, actors, film professionals, film lovers as well as the general freedom-loving public, believe that the verdict is excessively vague and over-inclusive, unsupported by reason, and as such must be considered an extreme and excessive measure, without moderation, and a severe infringement on everyone’s “constitutionally-guaranteed democratic rights and freedoms” as it infringes on the rights of both filmmakers and their audience. The intent of the present Royal Edict on Film and Video of 2009, which instituted the rating system, is to ensure the people’s rights and freedoms, in place of the previous Royal Edict on Film and Video which employed solely the dictatorial measure of banning films. Therefore I and my party hereby lodge our disagreement to the banning order on ‘Shakespeare Must Die’, and request that the Prime Minister, in her capacity of Chairperson of the National Board of Film and Video, consider overturning this verdict, and further, to issue an order to forbid the banning of any other Thai film in future, and to use the rating system exclusively, so that there would be an end to this infringement of democratic rights and freedoms. ‘Shakespeare Must Die’ is the second Thai film to have been banned under the present Royal Edict on Film and Video, with ‘Insects in the Backyard’ by Thanyavarin Sukhapisit being the first film to have been banned in 2010 after the institution of the rating system. For your kind consideration. Respectfully Yours, Manit Sriwanichpoom
|