ติดดาบดีเอสไอ. เพิ่ม 9 คดีพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ กฎกระทรวง ว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๕
กฎกระทรวง ดังกล่าว ระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติ การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจากัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๕๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทาได้โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการคดีพิเศษออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) และ (๑๔) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗
“(๖) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(๗) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(๘) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(๙) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยแร่
(๑๐) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(๑๑) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง
(๑๒) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
(๑๓) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา
(๑๔) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร”
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ที่มาข่าว มติชนออนไลน์
เปิด 12 รายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศสำนักงานศาลยุติธรรมเรื่อง รายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ประกาศระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๗ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ จึงประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการ ศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ในการตรวจนับคะแนนเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๕ ดังนี้
ก. ประเภทกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในชั้นศาลชั้นฎีกา
ตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้แก่
๑. นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
๒. นายสมศักดิ์ จันทรา รองประธานศาลฎีกา
๓. นายดิเรก อิงคนินันท์ รองประธานศาลฎีกา
๔. นายธานิศ เกศวพิทักษ์ รองประธานศาลฎีกา
๕. นายมานัส เหลืองประเสริฐ รองประธานศาลฎีกา
๖. นายสมชาติ ธัญญาวินิชกุล ผู้พิพากษาศาลฎีกา
ข. ประเภทกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในชั้นศาลชั้นอุทธรณ์
ตามมาตรา ๓๖ (๒) (ข) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้แก่
๑. นางนุจรินทร์ จันทร์พรายศรี รองประธานศาลอุทธรณ์
๒. นายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๑
๓. นายเศกสิทธิ์ สุขใจ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค ๘
๔. นายบุญชู ทัศนประพันธ์ ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์ภาค ๓
ค. ประเภทกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในชั้นศาลชั้นต้น
ตามมาตรา ๓๖ (๒) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้แก่
๑. นายสู่บุญ วุฒิวงศ์ อธิบดีผู้พิพากษาภาค ๕
๒. นายจุมพล ชูวงษ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ไพโรจน์ วายุภาพ
ประธานศาลฎีกา
แรงงานต่างด้าวกว่า 300 คน ประท้วงขอขึ้นค่าแรง
นายณรงค์ ครองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พ.ต.อ.ศิรเมศ พันธุ์มณี รองผุ้บังคับการตรำวจภูธร จ.ราชบุรี และเจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ราชบุรี ได้เดินทางเข้าไปที่บริษัท จี เอส เอนเนอร์จี้ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานถลุงแร่ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม หมู่ 4 ต.ดอนทราย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เพื่อเข้าร่วมพูดคุยกับแรงงานต่างด้าวกว่า 300 คน ที่กำลังประท้วงหยุดงานที่บริเวณหน้าโรงงานเพื่อขอขึ้นค่าแรงงานจากวันละ 190 บาท มาเป็น วันละ 251 บาท ตามที่กฎหมายกำหนด
ทางโรงงานได้ให้ตัวแทนแรงงานต่างด้าวจำนวน 5 คน เข้าร่วมพูดคุยเพื่อหาข้อตกลงในเรื่องที่ยื่นข้อเสนอไป โดยค่าขึ้นค่าแรงจากวันละ 190 บาท มาเป็นวัน 251 บาท เบี้ยขยันรายวันจากเดิมเคยจ่ายให้วันละ 90 บาท แต่ถูกตัดมาเหลือแค่เพียงวันละ 39 บาท ก็ขอให้มาเป็นวันละ 90 บาทเหมือนเดิม เบี้ยความร้อนจากเดิมวันละ 80 บาท แต่ถูกตัดเหลือวันละ 70 บาท ให้กลับมาเป็นวันละ 80 บาท รวมทั้งเบี้ยรายเดือนจากเดือนละ 1,500 บาท ก็ถูกตัดให้เหลือ 1,400 บาท ก็จะต้องให้เดือนละ 1,500 บาท เหมือนเดิม
นปช.แนะรัฐสภาออกกฎหมาย ล้างผลพวงรัฐประหาร
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) แถลงข่าวประจำสัปดาห์ นำโดย นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช. นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ โฆษกนปช. นายนิสิต สินธุไพร ผอ.โรงเรียนนปช.แดงทั้งแผ่นดิน และ นายยศวริศ ชูกล่อม เจ๋ง ดอกจิก แกนนำนปช. ร่วมการแถลงข่าว
จี้ รัฐบาลทำตามข้อเสนอคอป.
นางธิดา กล่าวอีกว่าขอเรียกร้องยังรัฐบาลให้ทำตาม เรื่องที่คอป.ได้นำเสนอต่อรัฐบาลตั้งแต่สมัยนายอภิสิทธิ์ อาทิ เลิกตีตรวนนักโทษคดีการเมือง และให้ปล่อยตัวชั่วคราวนักโทษคดีการเมือง คืนสิทธิ์การประกันตัวให้ผู้ต้องหาคดีการเมือง และให้สภาและรัฐบาลได้แก้ไขมาตรา 112 และให้มีการเยียวยา ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเงิน แต่ต้องเยียวยาชื่อเสียงเกียรติยศด้วย ซึ่งนี่ไม่ใช่ข้อเสนอของนปช. แต่เป็นข้อเสนอของคอป. ซึ่งหากทำได้ทั้งหมดนี้ประตูสู่ความปรองดองจึงจะเกิดได้อย่างจริงใจ ที่สำคัญนปช.ขอ เรียกร้องไปยังรัฐบาลเพิ่มเติมว่าจะต้องทำความจริงให้ปรากฏ คดีที่ต้องทำความจริงให้ปรากฏขอให้ดำเนินการโดยเร็ว ทั้งนี้มี 2 หลัก การ คือ ต้องรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นและกำลังเดินไปสู่จุดไหน เพราะหากข้างหน้ายังเดินไปไม่ตรงกันและข้างหลังที่เดินผ่านมาก็ไม่ตรงกัน ถามว่าความปรองดองจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งเห็นได้จากในสภาที่การใส่ร้ายป้ายสียังดำรงอยู่จึงเป็นหน้าที่ของคอ ป.และรัฐบาลต้องเร่งทำให้ความจริงปรากฏชัดเจนโดยให้คนทั้งสังคมรู้ว่าอนาคต ของ ประเทศจะเดินไปทางไหนหากเป็นเช่นนี้ความปรองดองจะเกิดขึ้นได้
ส่วนของรัฐสภาที่มีหน้าที่ออกกฎหมายจะต้องสร้างความยุติธรรมในสังคม นปช.จึง ขอเรียกร้องให้ออกกฎหมายที่ลักษณะล้มล้างผลพวงของการทำรัฐประหารให้หมด ซึ่งคือข้อเรียกร้องของประชาชน เพราะการทำรัฐประหารคือชนวนของความขัดแย้งที่แท้จริง โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมร่าง มากที่สุดด้วยอย่างไรก็ตามสำหรับประชาชนคนเสื้อแดงยินดีจะก้าวเข้าสู่ความ ปรองดองระดับประเทศโดยเป็นไปในระดับประชาชนกับประชาชนด้วยกัน เพราะประชาชนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขัดแย้งกับประชาชน แต่นาทีนี้ประชาชนจะปรองดองกับฝ่ายรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ที่เป็นปฏิปักษ์กับประชาชนยังเป็นเรื่องยาก
"นิสิต" ชี้ ประชาธิปัตย์ไม่ปรองดอง เพราะกองหนุนยังอยู่
ขณะที่นายนิสิต กล่าวว่า ในประวัติศาสตร์การปรองดองผู้ชนะได้หยิบยื่นไปให้ผู้แพ้ วันนี้พรรคเพื่อไทยที่มาคนเสื้อแดงอยู่เบื้องหลังได้รับชัยชนะ และหยิบยื่นการปรองดองไปให้ แต่กลายเป็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่แพ้เลือกตั้งไม่ต้องการและขัดขวาง เพราะว่ายังมั่นใจในตุลาการภิวัฒน์ ทหารยังหนุนหลังอยู่ ประกอบกับมีกลุ่มที่มีอำนาจอย่างแท้จริงคอยอยู่ข้างพรรคประชาธิปัตย์จึงคอย ขัดขวางการปรองดอง การต่อสู้ของคนเสื้อแดงมีเป้าหมายหลัก 3ข้อ 1.โค่นรัฐบาลอำมาตย์ ซึ่งทำสำเร็จแล้วทำให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน 2.ยกเลิกรัฐธรรมนูญเผด็จการ ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการ ในสภาฯมีการพิจารณาในวาระที่สอง 3.โค่น ระบอบอำมาตย์ให้หมดไป ซึ่งจะทำได้เราต้องให้ขบวนการคนเสื้อแดงและขบวนการประชาธิปไตยมีความเข้ม แข็ง เพื่อดำเนินให้ได้เป็นไปตามเป้าหมายหลักของเรา
ที่มาข่าว กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เลื่อนสั่งฟ้องรอบ 2 ผู้ต้องหาถอนตัวมาตรา 21
อัยการนาทวีเลื่อนส่งฟ้องอีกครั้ง 4 ผู้ต้องหาถอนตัวมาตรา 21 นัดใหม่เป็นวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 โดยไม่แจ้งเหตุผล
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 19 เมษายน 2555 ที่สำนักงานอัยการจังหวัดนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา พนักงานอัยการจังหวัดนาทวี ได้นัดนายมะซับรี กะบู นายซุบิร์ สุหลง นายสะแปอิง แว และนายอับริก สหมานกูด ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่ถอนตัวจากการสมัครเข้าอบรมแทนการถูกขัง ตามมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ความมั่นคง) เพื่อแจ้งว่า ได้ขอให้ศาลเลื่อนการส่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ต่อศาลจังหวัดนาทวีไปเป็นวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 โดยไม่ได้แจ้งเหตุผลที่เลื่อน
เดิมพนักงานอัยการจังหวัดนาทวี ได้กำหนดวันส่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ต่อศาลจังหวัดนาทวี ในวันที่ 6 มีนาคม 2555 ต่อมาเลื่อนเป็นวันที่ 19 เมษายน 2555 กระทั่งล่าสุด พนักงานอัยการจังหวัดนาทวีได้แจ้งเลื่อนการส่งฟ้องศาลทั้ง 4 คนอีกครั้งไปเป็นวันที่ 21 พฤษภาคม 2555
นักวิชาการส่งจ.ม.เปิดผนึก ทบทวนคำสั่งแต่งตั้งกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น
เครือข่ายนักวิชาการและนักกฎหมาย ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อกรณีคำสั่งแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะกรรมการในคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น โดยขอให้ทบทวนคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๔๖/๒๕๕๕ เรื่อง แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕
จดหมายระบุว่า คำสั่งกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ปรากฏเนื้อหาที่ขัดต่อตัวบทและความมุ่งหมายแห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ แก้ไขฉบับที่ ๕ พ.ศ.๒๕๕๕ และพ.ร.บ.สัญชาติ ฉบับที่ ๕ พ.ศ.๒๕๕๕ อันหมายถึงการใช้อำนาจโดยบิดเบือน (Abuse of Power) และส่งผลให้คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา ๙ วรรค ๑ (๑) แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒) และส่งผลให้คณะกรรมการฯ ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงตามความมุ่งหมายแห่งกฎหมาย กล่าวคือ
(๑) คณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๔๖/๒๕๕๕ฯ ขาดความสมบูรณ์ในแง่เนื้อหาหรือองค์ประกอบ เนื่องจากขาดองค์ประกอบของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในส่วนนักวิจัยหรือนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์หรือกลุ่ม ชาติพันธุ์
(๒) ผู้ทรง คุณวุฒิฯ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระบุหรือยืนยันถึงการมีอยู่ของข้อเท็จจริงอันเป็น องค์ประกอบที่กฎหมายกำหนดคุณสมบัติไว้ คือ บุคคลหนึ่งๆ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วยเพราะมีคุณสมบัติใดกล่าวคือ เป็นนักวิจัยหรือนักวิชาการในด้านหนึ่งด้านใด หรือเป็นผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน หรือเป็นผู้แทนภาคประชาชน
รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านชาติพันธุ์ ได้ส่งจดหมายลาออกแล้ว