เวทีพูดคุยนานาชาติ:“กระบวนการสันติภาพปัตตานีในบริบทอาเซียน"

เวทีพูดคุยนานาชาติ:กระบวนการสันติภาพปัตตานีในบริบทอาเซียนวันที่ 7 กันยายน 2555 เวลา 14:00-17:00 ณ หอประชุมใหญ่นานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ จ.สงขลา

ปีของความรุนแรงที่นำมาสู่ความยืดเยื้อเรื้อรังและความสูญเสียที่ไม่จบสิ้นในพื้นที่ชายแดนใต้ มีการวิจัยทางวิชาการหลายชิ้นยืนยันว่าปัญหาอัตลักษณ์และการทำลาย การปิดกั้น และกดทับโดยโครงสร้างอำนาจรัฐที่แปลกแยกกับท้องถิ่นได้นำไปสู่การ “ขาดความชอบธรรม” ของอำนาจรัฐและการปกครอง ความอยุติธรรมและการตอกย้ำความรุนแรงที่ไร้ความประนีประนอมระหว่างฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงทุกฝ่าย ทางออกคือการหันมาจับประเด็นปัญหาที่ชัดเจน เสนอทางออกในการจัดการปกครองใหม่ การสร้างความยุติธรรม และการพูดคุยสนทนาเรื่องสันติภาพ ข้อเสนอเรื่อง “การสร้างกระบวนการสันติภาพที่ปัตตานี” (Patani Peace Process-PPP) ได้ถูกสร้างและก่อรูปขึ้นมาอย่างเด่นชัดจากเครือข่ายภาคประสังคมชายแดนใต้ หัวใจสำคัญคือการเปิดพื้นที่การพูดคุยระหว่าง “คนใน” ที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์ความขัดแย้ง การวิเคราะห์สันติภาพ และการเสนอแผนที่เดินทางไปสู่สันติภาพ (Roadmap for Peace) อย่างเป็นรูปธรรม ในท่ามกลางปริบทใหม่ของการก้าวไปสู่ความเป็นสากล อิทธิพลของปัจจัยระหว่างประเทศยิ่งเด่นชัด การก้าวไปสู่ยุคของความเป็นชาติอาเซียน กระบวนการสันติภาพที่ปัตตานี ก็ยิ่งมีความชัดเจนยิ่งขึ้น นี่คือคำถามใหม่อะไรจะเกิดขึ้นกับ 'กระบวนการสันติภาพปัตตานีในบริบทของอาเซียน' ? พบกับ

 

- ปาฐกถาพิเศษ "พื้นที่กลางสร้างสันติภาพจาก 'คนใน' ภายใต้บริบทของกระบวนการสันติภาพปาตานี"

 

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส
ผู้อำนวยการองค์กรสนับสนุนสันติภาพเบิร์กฮอฟ

- แนวคิดเรื่องพหุวิถีและสหอาณาบริเวณ
สำหรับกระบวนการสันติภาพปาตานี

 

ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

- ความเข้าใจสันติเสวนาและการเจรจาเพื่อสันติภาพ

 

 

.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- การสนทนาเรื่องเขตปกครองพเิศษ
ในฐานะที่เป็นสาระหลักในความขัดแย้งชายแดนใต้

 

ดร.ดันแคน แมคคาร์โก
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ

- การหนุนเสริมสันติภาพจากคนนอก

 

มาโฮ นากายาม่า
เจ้าหน้าที่มูลนิธิสันติภาพซาซากาว่า ประเทศญี่่ปุ่น

- บทบาทของประชาสังคมในกระบวนการสันติภาพ

 

 

ดาดัง ตรีซาซงโก
ที่ปรึกษาสถาบันช่วยเหลือทางกฎหมาย อินโดนีเซีย

- ประสบการณ์มาเลเซียในจังหวัดชายแดนใต้ของไทย

 

 

คอยริน อันวาร์
ผู้ประสานงานประจำภูมิภาคแห่งอาเซียน Malaysian Relief Agency (MRA)

- ประสบการณ์ของการค้นหาทางเลือกบนเส้นทางสันติวิธี

 

อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการอิสระ

เป็นการเปิดตัว "กระบวนการสันติภาพปัตตานีในบริบทอาเซียน" โดยเครือข่ายภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ภายในงานประชุมวิชาการนานาชาติรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์และสันติศึกษาในบริบทอาเซียน “ประชาสังคม, การเมือง, และการพัฒนาประเทศในประเทศสมาชิกอาเซียน" ซึ่งมีนักรัฐศาสตร์ นักจัดการความขัดแย้ง นักปฏิบัติการด้านสันติวิธีจากทั่วโลก และในระดับอาเซียนมารวมตัวกันจำนวนมาก โดยมีไฮไลท์สำคัญอีก คือ

  • 6 .. ปาฐกถานำ โดย .ดร.ดันแคน แมกคาร์โก "การปรองดอง/ประสานงา: สะพานเชื่อมการแบ่งแยกประเทศไทย?”

  • 7 .. ปาฐกถาพิเศษ "วิสัยทัศน์ผู้นำว่าด้วยการเมือง ความขัดแย้ง และสันติภาพในประเทศสมาชิกอาเซียน" โดย ดร.มหาเธร์ โมฮำหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย

    มีการแปลสองภาษาตลอดงาน

    รายละเอียดดังเอกสารและกำหนดการที่แนบมาด้วย หากสนใจเข้าร่วมทำข่าว โปรดติดต่อผู้ประสานงาน
    :
    รอมฎอน ปันจอร์
    โทร. 086-529-4334 email: [email protected]
    ฐิตินบ โกมลนิมิ
    โทร. 089-142-1112 email: [email protected]
    สุภาภรณ์ พนัสนาชี โทร
    . 086-296-9438 email: [email protected]

แจ้งข่าวโดยศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ฐิตินบ โกมลนิมิ  9 สามเสน 9 ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรสาร 0-2241-8488  โทรศัพท์ 08-9142-1112
 [email protected] | www.thitinob.com | follow me @thitinob