โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) และเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA) เชิญชวนทนายความและนักกฎหมายที่สนใจประเด็นสิทธิมนุษยชนกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก เข้าร่วมอบรมในโครงการ
ค่ายนักกฎหมายเพื่อเสรีภาพออนไลน์ รุ่นที่ 2
26-29 ตุลาคม 2555
ผู้สมัครที่ได้รับคัดเลือก จะเข้าอบรมเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เรียนรู้เรื่องการเชื่อมต่อของข้อมูลออนไลน์ หลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ และการพิสูจน์หาตัวผู้กระทำความผิดทางออนไลน์ ศึกษาตัวอย่างคดีความพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่กระทบกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และทดลองวิเคราะห์คดีตัวอย่างที่เคยใช้วิธีการระบุตัวตนทางเทคนิคคอมพิวเตอร์
ผู้สนใจกรุณาดาวน์โหลดใบสมัครตามไฟล์แนบด้านล่าง กรอกข้อมูล ส่งใบสมัครมายัง [email protected] ภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2555
ผู้สมัครที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับการติดต่อกลับจากทีมงานภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2555 เพื่อแจ้งรายละเอียดการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมอย่างเป็นทางการ
-----------------------------------------------------------------------
โครงการ
ค่ายนักกฎหมายเพื่อเสรีภาพออนไลน์ รุ่นที่ 2
หลักการและเหตุผล
ท่ามกลางภาวะความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย ประชาชนตื่นตัวที่จะรับรู้ข่าวสารและมีส่วนร่วมทางการเมือง โลกออนไลน์ หรือ อินเทอร์เน็ต จึงกลายเป็นพื้นที่สำคัญที่ประชาชนใช้แสดงออกทางความคิดเห็น สื่อสาร จัดกิจกรรม รณรงค์ในประเด็นต่างๆ ที่ตนสนใจอย่างเท่าเทียมกัน ในแง่หนึ่งโลกออนไลน์จึงเป็นความหวังของการพัฒนาประชาธิปไตย แต่ขณะเดียวกัน ในอีกมุมหนึ่งอินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครื่องมือที่สั่นคลอนความมั่นคงของผู้ถืออำนาจรัฐ ดังนั้น รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยจึงพยายามควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของประชาชน อีกนัยหนึ่ง คือ การพยายามควบคุมความคิด และเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนนั่นเอง
ประเทศไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาเป็นเวลากว่า 4 ปี พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ของประชาชน และเปิดช่องให้ประชาชนฟ้องร้องกันได้ง่ายขึ้นเนื่องจากการแสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ต จากรายงานการศึกษาวิจัยโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน พบว่า คดีความตามกฎหมายนี้จะเป็นคดีความที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต และจำนวนหนึ่งเป็นการควบคุมการแสดงออกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางการเมือง หรือเรื่องการเรียกร้องสิทธิของประชาชน
ขณะที่คดีความกำลังเพิ่มสูงขึ้น ในแต่ละคดีเจ้าหน้าที่รัฐต้องอาศัยหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคทางคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เช่น การหาหลักฐานในการระบุตัวผู้กระทำความผิด การพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ การนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญในชั้นศาล ฯลฯ แต่เนื่องจากจำเลยในคดีความที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และไม่มีความรู้ ทำให้ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับทนายความที่รับผิดชอบคดีความซึ่งส่วนใหญ่ได้รับค่าตอบแทนน้อยก็ยังไม่มีพื้นฐานความรู้ทางเทคนิคคอมพิวเตอร์เพียงพอที่จะพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของจำเลยในคดีได้อย่างเต็มที่ ทำให้บางครั้งจำเลยไม่ได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการพิสูจน์ความจริงในชั้นศาล
ดังนั้น ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน จึงร่วมกับ เครือข่ายพลเมืองเน็ต และเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน จัดโครงการ ค่ายนักกฎหมายเพื่อเสรีภาพออนไลน์ รุ่นที่ 2 ขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้กับทนายความที่ทำงานเพื่อพิทักษ์เสรีภาพการแสดงออก และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ในการทำงานและให้เกิดเครือข่ายของกลุ่มนักกฎหมายและทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่พร้อมจะทำงานเพื่อปกป้องสิทธิของจำเลยในคดีความเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในโลกออนไลน์ที่อาจเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคตได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ให้กลุ่มทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่สามารถรับผิดชอบช่วยเหลือคดีความที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพการแสดงออกได้
2. เพื่อสร้างความตื่นตัว และตระหนักถึงเรื่องเสรีภาพให้เกิดขึ้นในกลุ่มนักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน
3. เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการทำงานและเกิดเครือข่ายของนักกฎหมายและทนายความที่สนใจประเด็นสิทธิเสรีภาพการแสดงออก ที่สามารถช่วยเหลือ ประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ระหว่างกัน เพื่อการทำงานปกป้องสิทธิเสรีภาพในโลกออนไลน์ต่อไปในอนาคต
กลุ่มเป้าหมาย
ทนายความและนักกฎหมาย 30 คน ซึ่งมีคุณสมบัติต่อไปนี้
- เป็นทนายความ (มีตั๋วทนาย) ที่สนใจประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเรื่องสิทธิเสรีภาพการแสดงออก
- นักกฎหมาย (จบการศึกษาด้านกฎหมาย หรือทำงานในแวดวงกฎหมาย) ที่มีความสนใจและพร้อมที่จะทำคดีเพื่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกออนไลน์
ผู้สนใจกรุณาดาว์นโหลดแบบฟอร์ม กรอกข้อมูล และรอการติดต่อกลับจากทีมงานเพื่อยืนยันการเข้าร่วม
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
วันที่ 26-29 ตุลาคม 2555
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ร่วมกับ เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) และเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิ (HRLA)
(ร่าง) กำหนดการ
ค่ายนักกฎหมายเพื่อเสรีภาพออนไลน์ รุ่น 2
วันที่ 26-29 ตุลาคม 2555 จังหวัดจันทบุรี
จัดกระบวนการโดย โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) และเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA)
วันที่ 26 ตุลาคม 2555
ออกเดินทางไปยังจังหวัดจันทบุรี
วันที่ 27 ตุลาคม 2555
07.00 – 09.00 รับประทานอาหารเช้า
09.00 – 10.30 รู้จักพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เบื้องต้น และผลกระทบจากการบังคับใช้
10.30 – 10.45 พักทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 โลกออนไลน์คืออะไร เรียนรู้สายพานการรับส่งข้อมูลข่าวสาร และคำศัพท์สำคัญที่นักกฎหมายมักเจอ
12.00 – 13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.30 การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์
15.30 – 15.45 พักทานอาหารว่าง
15.45 – 17.00 ความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางคอมพิวเตอร์
17.00 – 19.00 รับประทานอาหารเย็น
19.00 แจกเอกสารคดีตัวอย่างตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ให้ผู้เข้าร่วมแบ่งกลุ่มทดลองวิเคราะห์แนวทางการต่อสู้คดี
วันที่ 28 ตุลาคม 2555
07.00 – 09.00 รับประทานอาหารเช้า
09.00 – 10.00 ผู้เข้าร่วมช่วยกันตั้งประเด็นข้อต่อสู้ และร่วมกันวิเคราะห์ต่อคดีตัวอย่าง
10.00 – 12.00 ผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่มนำเสนอประเด็นข้อต่อสู้ และร่วมกันวิเคราะห์ให้ความเห็นต่อการตั้งประเด็นข้อต่อสู่ในคดีตัวอย่าง
12.00 – 13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 16.30 แบ่งกลุ่มเป็นสามกลุ่มย่อย ถอดบทเรียนและร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ
16.30 ปิดการสัมมนา
17.00 – 19.00 รับประทานอาหารเย็น
วันที่ 29 ตุลาคม 2555
เดินทางกลับ
*หมายเหตุ* กำหนดการยังอยู่ในระหว่างการปรับปรุง
สนับสนุนหลัก โดย