ยกเลิกกฎอัยการศึก และ พ.ร.บ.ความมั่นคงแห่งชาติ

ยกเลิกกฎอัยการศึก และ พ.ร.บ.ความมั่นคงแห่งชาติ

poll เมื่อ 2 ก.ค. 2552

ยกเลิกกฎอัยการศึก และ พ...ความมั่นคงแห่งชาติ

 

 
นี่คือหนึ่งในข้อเสนอจากคนเล่นเน็ตทางบ้านที่เคยตอบไว้ในแบบสำรวจของ iLaw"
คุณสามารถเสนอรายละเอียดเพิ่มและแสดงความเห็นต่อยอดที่ข้างท้ายนี้ รวมทั้งโหวตสนับสนุนประเด็นนี้ได้
 

 

คุณแสดงความคิดเห็นว่า
Vote
Get Adobe Flash player

Comments

Pisit108's picture
ผมเสนอให้เปลี่ยนเป็นอำนาจในการตัดสินใจทั้งหมดควรเป็นของสภาผู้แทนราษฏรหรือนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่มาจาก ผบทบ.หรือ ทหาร
นาปายยัน's picture
ในเมื่อกฏอัยการศึกและ พรบ.ความมั่นคงแห่งชาติยังคงถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐและองค์กรปกครองที่เป็นราชการโดยเฉพาะสถาบันทหาร ในการปกครองประชาชนในประเทศให้อยู่ภายใต้อำนาจรัฐอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างมีประสิทธิภาพเยียงนี้ แล้วจะยังมีใครสามารถไปแก้ไขได้แม้กระทั่งการใช้กลไกในสภา ตัวอย่างเช่นการที่ทหารออกมาปฏิวัติรัฐประหารไม่ว่าจะเพื่อตนเอง พวกพ้องน้องพี่หรือเพราะเหตุผลอะไรก็ตามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและในอนาคต จะต้องมีการเกณฑ์นักกฏหมายจำนวนหนึ่ง(เนติบริกร)ให้ไปช่วยทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อใช้ปกครองประเทศ โดยที่ไม่ยักลืมเขียน พรบ.นิรโทษกรรมให้ตนเองไม่มีความผิดซักทีสิน่า แล้วไง ก็เสวยสุขกันต่อไปในสังคมนี้แหละ ใครไม่เห็นด้วยไม่ว่าจะแสดงเหตุและผลให้เป็นที่ประจักษ์เพียงไรก็ไม่สนใจ พอมีคนที่มีความคิดความเห็นรู้แจ้งเห็นจริงตามเหตุและผลที่แสดงมามากๆเข้าก็ใช้กฏและพรบ.นั่นแหละเป็นเครื่องมือจัดการ แล้วลองตรองดูซิว่ารัฐจะยังคงเอาไว้ไหมกับไอ้เจ้ากฏและพรบ.ทั้งหลายแล่ที่ประเดประดังกันออกมากดหัวประชาชนอยู่จนทุกวันนี้
bact's picture
ผมคิดว่ายังต้องมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในยามฉุกเฉินอยู่

แต่..
1) จำเป็นต้องจำกัดอำนาจให้มีได้ตามสมควรเพียงพอแต่การรักษาความสงบเท่านั้น จะให้อำนาจไปมากกว่านั้นไม่ได้
2) องค์กรที่มีอำนาจประกาศใช้ จำเป็นต้องเป็นสถาบันที่มีความเป็นประชาธิปไตย เช่น สภาผู้แทนราษฎร รวมถึงกระบวนการในการประกาศใช้ ก็จำเป็นต้องรัดกุม มีบทลงโทษรุนแรง หากลุแก่อำนาจนี้
3) การประกาศใช้คราวแรก อาจมีความจำเป็นเร่งด่วน จะใช้ขั้นตอนแบบรวดเร็ว ก็พอเข้าใจได้ แต่หลังจากประกาศใช้ไปแล้ว จำเป็นต้องได้รับการเห็นชอบจากสภาอีกครั้ง ถ้าสภาไม่เห็นด้วย ก็จำเป็นต้องยกเลิกประกาศ และการประกาศใช้คราวแรกนี้ ต้องมีเวลาจำกัด เช่น ไม่เกิน 3 วัน 7 วัน ระบุไว้ในกฎหมาย
4) การจะประกาศขยายการใช้กฎหมายดังกล่าว ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทน กระบวนการประกาศขยายนี้ จะอ้างเรื่องต้องฉับไวทันการณ์ไม่ได้แล้ว เพราะเป็นเรื่องการขยาย รู้สถานการณ์ต่าง ๆ แล้ว