ป่าไม้ของชาติ...
การบำรุงและรักษาหรือปลูกเพิ่มเติม เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและประชาชนซึ่งต้อง ช่วยกันปกป้องสมบัติของชาตินี้ไว้
ที่ผ่านมาภาครัฐต้องใช้เงินงบประมาณเป็นจำนวนมหาศาล และมีหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องหลายหน่วยงานแต่เป็นในรูปแบบต่างคนต่างทำ ในป่าไม้ นอกจากจะต้องบำรุงรักษาป้องกันไฟไหม้ป่ารักษาต้นน้ำ และยังมีระบบนิเวศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปกับการที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายลง
ประเทศไทยมีผู้ต้องขังเป็นจำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศและผู้ต้องขัง เหล่านี้เป็นแหล่งแรงงานที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ในแต่ละวัน หากนำแรงงานเหล่านี้ออกมาทำประโยชน์ให้แก่ชาติอาจจะช่วยประหยัดงบประมาณได้ ไม่มากก็น้อยผู้ต้องขังเหล่านี้ก็มาจากทุกสายอาชีพก่อนที่เขาจะถูกต้องโทษมา นั่งๆ นอนอยู่ในที่ขุมขังและส่วนใหญ่แล้วคงไม่ใช่นักโทษประเภทที่กลับตัวไม่ได้ และรัฐบาลคงจะหาอาสมัครจากบุคคลเหล่านี้เข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆที่จะ กล่าวในต่อไปนี้โดยไม่ยากนัก ส่วนประเภทมหันต์โทษนั้นก็อาจจะมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนใหญ่แล้ว โดยรวมข้อเสนอและแนะนำจากผมเข้าไปร่วมกับกรมราชฑัณต์ที่มีนโยบายกับผู้ต้อง หาเหล่านี้อยู่แล้วในปัจจุบันก็คงไม่เสียหายอะไร
กรมราชฑัณต์
รัฐบาลควรจะยกฐานะขึ้นเป็นระดับกระทรวงสายงานก็เหมือนกระทรวงอื่นๆ แต่ในระบบการปกครองในกระทรวงนี้นี้ควรมีปลัดกระทรวง ๓ ตำแหน่งเช่น
1. ปลัดฝ่ายปกครอง
2. ปลัดฝ่ายตรวจความประพฤติ ( พ้นโทษ )
3. ปลัดฝ่ายการผลิต
และมีกรมต่างๆ ภายใต้การดำเนินงานของปลัดในสามตำแน่งนี้ในกระทรวงตามความสำคัญของสายงาน
ยกฐานะพัสดีหรือผู้บัญชาการเรือนจำ เป็นเจ้ากรมหรืออธิปบดีควบคุมและปกครองกับสถานที่คุมขังนั้นๆมีอำนาจสิทธิ์ ขาดในการดำเนินงาน เช่นการรับบรรจุข้าราชการ การไล่ออกหรือตัดสินเพิ่มโทษกับผู้ต้องขังหรือโยกย้ายผู้ต้องขังเพิ่มระดับ หรือลดระดับและประสานงานกับกรมอื่นๆหากมีการโยกย้ายข้าราชการหรือเป็นความ ประสงค์ของข้าราชการเองที่ต้องการย้าย เพราะภายในกรมนั้นๆจะมีหน่วยงานต่างๆซึ่งเปรียบเสมือนเมืองเล็กๆและสามารถ เลี้ยงตัวเองได้ (ขึ้นตรงกับปลัดฝ่ายปกครอง )
ผู้อำนวยการ ตามสถานที่ฝึกอาชีพ-โรงเรียนและโรงงานฝ่ายผลิตอยู่ในบริเวณเดียวกันแต่แยก แดนออกไปและใช้แรงงานนักโทษแบบไปเช้าเย็นกลับมา ( มีผู้คุมอยู่ในสถานที่นั้นๆเช่นกันในการตรวจสอบจำนวนและควบคุมการปฏิบัติงาน และขึ้นตรงกับเจ้ากรมนั้นๆ ) ส่วนในสายงานผู้อำนวยการต่างๆมีหน้าที่จัดหาวัตถุดิบมาป้อนโรงงานตามงบ ประมาณที่ให้มาและมีรายได้กลับมาจากการขายผลิตผลต่างๆให้กรมราชฑัณต์ต่างๆ หรือหน่วยงานอื่นๆของรัฐและควบคุมเฉพาะพนักงานในสายงานนั้นๆ (ยกเว้นผู้คุม ) เช่นครู หรือครูอาชีวะหรือตำแหน่งงานต่างๆที่สนันสนุนเกี่ยวกับโครงการอยู่ภายใต้การ ปกครองกับเจ้ากรมฝ่ายการผลิตที่กระทรวง (ขึ้นตรงกับปลัดฝ่าย การผลิต)
กรมตรวจความประพฤติควรจะอยู่ภายนอกตามภาคต่างๆ คอยตรวจตราดูแลนักโทษที่ได้รับอภัยโทษหรือได้การปลด ปล่อยออกมาจากสถานคุมขังต่างๆ โดยมีการตั้งกฏเกณท์หลังจากการพ้นโทษของผู้ต้องโทษโดยต้องมารายงานตัวและ ความประพฦติต่อกรมนี้ในระหว่างที่มีฑัณต์บนอยู่ เช่นต้องโทษมาสิบปีก็ต้องมีฑัณต์บน ๑ ปีเป็นต้นลดหลั่นกันตามระยะเวลาของการต้องโทษ หากมีการละเมิดก็มีกฎระเบียบว่าจะต้องถูกส่งกลับไปรับโทษเ็ต็มๆกับคำสั่งของ ศาลและต้อง ประสานงานกับผู้รักษากฏหมายทุกเหล่างานด้วย ( ขึ้นตรงกับปลัดฝ่ายพ้นโทษ )
โครงสร้าง
ยุบสถานที่คุมขังที่มีอยู่ตามจังหวัดต่างๆให้เหลือประมาณ ๓๐ แห่ง (ใช้เรือนจำเก่าที่มีอยู่แล้วตามจังหวัดต่างๆเพียงแต่ปรับปรุงสถานที่เพิ่ม เติมโรงงานหรือสถานฝึกอาชีพขึ้นมาโดยเฉพาะแห่งที่ใหญ่ๆหรือตามจังหวัดที่มี ความพร้อมในด้านสถานที่) หรือจะสร้างใหม่หมดก็อยู่ที่รัฐบาลหรืองบประมาณ (คัดเลือกไว้ต่างหากประมาณ ๔ แห่งทั้งสี่ภาคของประเทศสำหรับฝึกแรงงานเกี่ยวกับป่าไม้ของชาติจะกล่าวถึงใน ตอนสุดท้าย) ทางกระทรวงหลังจากได้รับคำสั่งจากศาลให้กักขังนักโทษเหล่านี้แล้วก็แยกแยะ ว่าเขาเป็นนักโทษชั้นไหน
นำนักโทษชั้นเด็ดขาดไปรวมไว้ประมาณ ๑๐ แห่งและส่วนที่เหลือก็ส่งไปประจำตามสถานที่คุมขังอื่นๆอีกประมาณ ๒๐ แห่งโดยแยกระดับการต้องโทษของแต่ละแห่งโดยมีการจัดระดับการแยกระดับเช่น นักโทษระดับ ๑ ถึงระดับ ๕ และใช้นักโทษระดับ ๓ ถึง ๑ ลงมาส่งไปฝึกอาชีพไปประจำตามโรงงานหรือไปเป็นแรงงานกับการดำเนินการประจำวัน ในที่คุมขังต่างๆ เช่นประการประกอปอาหาร ทำสวน ทำความสะอาดสถานที่ เสมียน แผนกทำความสะอาดอาคาร ซักรีดชุดนักโทษหรือหน้าที่อื่นๆโดยแต่ละแห่งสามารถจะ เลี้ยงตัวเองได้ภายใน สถานที่ขุมขังเหล่านั้น (Self Support) การตั้งกฏเกณท์สำหรับนักโทษที่รัฐนำมากักขังก็ควรจะให้เขามีโอกาสที่จะเลือก ว่าเขาต้องการจะใช้ชีวิตในที่คุมขังเขาอย่างไร เช่น
( ๑ ) สมัครใจเรียนหนังสืออย่างเดียว ก็มีการลดหย่อนโทษให้ตามเวลาที่ตั่งใจในการเรียนหรือการรายงานตัวกับชั้น เรียนว่าใช้เวลาในการเรียนเต็มที่หรือไม่โดยดูตามรายงานของครูมีการลดหย่อน โทษให้ ชั่วโมงต่อชั่วโมง
( ๒ ) นั่งๆนอนอยู่เฉยๆโดยไม่ต้องทำอะไร ก็ไม่มีการลดหย่อนโทษให้
( ๓ ) เข้าฝึกงานในสายอาชีพ ก็มีการลดหย่อนให้กับวันเวลาที่เข้าฝึกงาน จะเป็นวันต่อวันหรือครึ่งวันต่อหนึ่งวัน ไม่มีเงินเดือนให้
( ๔ ) เข้าทำงานตามโรงงานของกระทรวง หลังจากได้รับการฝีกงานแล้ว ( หรือใช้แรงงานจากนักโทษที่มีประสพการณ์ทางด้านต่างๆที่โรงงานต้องการ ) มีการลดโทษให้วันต่อวัน และมีเงินเดือนให้ด้วย
( ๕ ) ทำงานตามสถานที่คุมขังที่ตนเองต้องขังอยู่ในสายงานต่างๆมีการลดหย่อนโทษให้ วันต่อวันและ มีเงินเดือนให้ด้วย
( ๖ ) ออกไปประจำตาม Conservation Camps ต่างๆตามป่าไม้ของชาติ มีการลดโทษให้วันต่อวันและหากประพฤติดี ก็ไม่ต้องมีฑัณต์บน และมีเงินเดือนให้ด้วย
ขั้นตอน
๑. โรงเรียนฝึกอาชีพต่างๆอีกประมาณ ๓ ถึง ๕ สถานที่ตั่งอยู่ทั่วประเทศ หรือทั้งสี่ภาคของประเทศเพื่อนำนักโทษหลังจากได้รับการฝึกหัดจากสถานที่นี้ แล้วก็ส่งออกไปเป็นแรงงานให้ตามสถานที่คุมขังอื่นๆหรือป้อนโรงงานของกระทรวง ราชฑัณต์ และนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหลังจากพ้นโทษไปแล้ว จะกล่าวถึงในข้อต่อๆไปโดยขอความร่วมมือจากกรมอาชีวะในเรื่องของผู้ฝึกหัด (ขึ้นอยูกับปลัดฝ่ายการผลิต )
๒. ภายในสถานที่คุมขังก็ควรจะมีการสอนหนังสือจนถึงขั้นอุดมศึกษา (ให้นักโทษเขามีสิทธ์เลือกได้ว่าจะเรียนหนังสือในระหว่างต้องโทษหรือออกไป ฝึกอาชีพ ) ขอความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาในเรื่องของครู ( ขึ้นกับปลัดฝ่ายการผลิต)
๓. สร้างโรงงานผลิตสิ่งของเครื่องใช้สำหรับกระทรวงราชฑัณต์หรือกระทรวงอื่นๆ เท่านั้น (ห้ามส่งขายให้กับภายนอก ) ประมาณ ๕ โรงงาน นำนักโทษที่ได้รับการฝึกมาแล้วหรือมีประสพการณ์ในแต่ละอาชีพมาก่อนที่จะเข้า มารับโทษโดยตอนที่ถูกส่งตัวมาคุมขังทางกระทรวงจะทำการคัดเลือกหรือแยกประเภท แรงงานเหล่านี้เข้ามาประจำตามโรงงานต่างๆ (ขึ้นกับปลัดฝ่ายการผลิต )
๔. มีสถานที่ฝึกงานในด้านป่าไม้สำหรับนักโทษชั้น ๑ ถึง ชั้น ๒ โดยขอความร่วมมือ หรือนำหน่วยงานเหล่านี้เช่นเจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้ หน่วยดับเพลิง หน่วยนิเวศน์และกรมประมงหรือหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติเข้า ประจำการและฝึกสอนให้นักโทษเหล่านี้ เช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้และดับเพลิง( รับเข้าบรรจุใหม่และมีหลักสูตรการฝึกงานทั้งป่าไม้และการดับเพลิงหรือนำนัก เรียนจากกรมป่าไม้มาฝีกเพิ่มเติมที่นี่และเพิ่มหลักสูตรการเป็นผู้นำของผู้ ต้องขังเบี้องต้นด้วยหรือรวมหลักสูตรเข้าไปในโรงเรียนของกรมป่าไม้แต่ยังจะ ขึ้นตรงกับกรมป่าไม้) ที่จะเข้ามารับตำแหน่งนี้เพื่อจะได้ส่งออกไปบรรจุตามแคมป์ต่างๆ Conservation Camps (สถานที่ฝึกงานเหล่านี้ควรจะมีมีทุกภาคของประเทศ ๔ ถึง๘ ก็แล้วแต่งบประมาณ)
การฝึกงานจะเน้นหนักไปทางด้านบำรุงรักษาป่า ป้องกันไฟ ปลูกป่าทดแทน รักษาต้นน้ำ และระบบนิเวศน์ของป่า
ตามแคมป์ป้องกันและรักษาป่าไม้ ( Conservation camps ) เหล่านี้ รัฐบาลควรจะจัดสร้างขึ้นมาตามป่าไม้ต่างๆทั่วประเทศ ระเบียบและการควบคุมนักโทษเหล่านี้ก็ยังเป็นสถานที่คุมขังเพียงแต่ไม่มีรั้ว กั้นหรือกำแพงเหมือนสถานที่คุมขังใหญ่ๆและเลี้ยงตัวเองได้ภายในแคมป์นั้นๆ โดยกรมราชฑัณน์ที่ใกล้เคียงเป็นคนส่งเสบียงกรังให้เพียงแต่ขนาดการปกครองจะ ย่อลงมาและการใช้แรงงานนักโทษ (ชั้น ๑ ที่ได้คัดเลือกแล้ว ซึ่งต้องไม่เป็นประเภทที่ต้องอาญาทางด้านกระทำชำเรา หรือปล้นฆ่าโดยเจตนาหรือมีประวัติในการหลบหนีมาก่อน ) แต่ละแห่งไม่ควรเกิน ๑๐๐ คน แยกเป็นหน่วยป้องกันหรือบำรุงรักษา(และรายงานการบุกรุกป่าหรือทำลายป่าให้ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปราบปราม ) ประมาณไม่เกินกลุ่มละ ๑๒ คน ๕ กลุ่ม(นักโทษที่เหลือก็ปฎิบัติหน้าที่ต่างๆ เช่นประกอบอาหาร เสมียนและอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานงาน daily operation ภายในแคมป์ขึ้นตรงกับผู้คุม ) ส่วนกลุ่มนักโทษป่าไม้และดับเพลิงก็นำโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้และดับเพลิงเป็น หัวหน้ากลุ่มออกไปประติบัติงานเช้าเย็นกลับ (ไม่มีอำนาจในการปราบปรามหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องในด้านกฎหมายหน้าที่โดยตรง คือกึ่งดับเพลิงกึ่งบำรุงและรักษาและเป็นหัวหน้ากลุ่มนักโทษในระหว่างประฎิ บัติงานเท่านั้น) ตรางการประฏิบัติงานควรจะออกมาจากกรมป่าไม้เป็นผู้กำหนดขอบเขตการคุ้มครอง ของแต่ละแคมป์ตามแผนที่ของป่าไม้ของแต่ละเขตหรือภาคและจัดตรางการทำงานแต่ละ เดือนควรจะร่วมร่วมกันจัดกับเจ้าหน้าที่อื่นๆจากหน่วยงานที่กล่าวไว้เบื้อง ต้นแล้ว มีผู้คุม (ประจำแคมป์ ) เป็นผู้ควบคุมภายในแคมป์ในการเข้าออกของนักโทษที่ออกไปทำงานและนักโทษที่ ประจำทำงานอยู่ในแคมป์และควบคุมนักโทษต่อหลังจากกลับมาจากกลับมาจากงานประจำ วัน ระดับสายงานภายในแคมป์ มีผู้บัญชาการของแคมป์และผู้ช่วยอย่างละหนี่งตำแหน่ง มีผู้คุมที่สลับเปลี่ยนเวรยามอย่างน้อย ๗ ตำแหน่งต่อนักโทษ๑๐๐ คน และขึ้นตรงกับกรมราชฑัณต์ที่อยู่ใกล้ที่สุดและหากนักโทษทำผิดหรือหลบหนีจะ ได้ส่งกลับไปได้ (หัวข้อนี้เป็นหัวข้อใหญ่ที่ผมเขียนแนะนำขึ้นมาและควรจะเริ่มก่อนหัวข้อ อื่นๆ )
การผลิตโรงงาน สิ่งที่ควรผลิตออกมาเื่พื่อป้อนภาครัฐเช่น
1. ป้ายทะเบียนรถยนต์ส่งขายให้กรมขนส่งทางบก
2. เครื่องใช้ในสำนักงาน (ยกเลิกสิ่งที่ทำจากไม้ )
3. เครื่องนุ่งห่มนักโทษ และเครื่องแบบของนักโทษต่างๆซึ่งควรจะแยกเป็นสีสันแตกต่างกันตามสายงานเพื่อจะได้ง่ายต่อการควบคุม
4. ซ่อมรถยนต์ของราชการ
5. เคาะพ่นสีรถยนต์ ทาสีอาคาร ( ของราชการ )
6. เครื่องนอนของนักโทษ
7. โรงพิมท์แบบฟอร์มต่างๆของราชการ
8. อาหารสำเร็จรูปหรือผลิตพันธ์จากพืชผล อาหารแห้ง
9. ปศุสัตว์ สำหรับนักโทษ เช่น วัว หมู ไก่ นมสด
ค่าจ้างสำหรับนักโทษรัฐตั้งระบบการจ่ายเงินเดือนได้โดยใช้มาตตราฐานค่าแรง ขั้นต่ำของประชาชนต่อวันเป็นที่ตั้งและหักค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูนักโทษแต่ ละคนก็นำมาหักลบกันไปที่เหลือคือค่าแรงงานซึ่งก็ต้องแตกต่างกันไปตามขั้นงาน และแบ่งระดับงานออกไปอย่างน้อย ๕ ขั้นเช่น
1. ช่าง special skill
2. ลูกมือ semi skill
3. เสมียน clerk
4. แรงงาน labored
5. ป่าไม้ conservation camps
เงินเดือนของนักโทษเหล่านี้ต้องเปิดเป็นบัญชีที่ไม่มีการหมุนเวียนออกไปภาย นอกมีไว้สำหรับนักโทษเอาไว้ซื้อหาข้าวของที่ทางสถานที่คุมขังจัดมาจำหน่าย สำหรับนักโทษ (สหกรณ์) หรือส่งไปให้ครอบครัวที่อยู่ข้างนอก หรือนำติดตัวไปได้เมื่อพ้นโทษแล้ว
สหกรณ์ในสถานที่คุมขังเช่นกันรัฐควรจะเป็นคนออกเงินล่วงหน้าไปก่อนในการจัด หาข้าวของมาใส่ในร้านค้าและบวกกำไรเข้าไปเพื่อคุ้มครองกับค่าขนส่งและบวก กำไรไม่เกิน ๕ % จากยอดขายเข้าไปและนำผลกำไรนั้นมาจัดซื้้อหาต่อ
รายละเอียดหรือการวางแผนรวมทั้งข้อปลีกย่อยต่างๆ หากรัฐบาลเห็นด้วย ถ้าต้องการส่งคนมาดูงานแบบไม่เป็นทางการ ผมก็มีสมรรถภาพที่จะนำไปเรียนรู้ได้ ถ้าจะมาดูงานในรูบแบบเป็นทางการก็จะหาหนว่ยงานที่จะติดต่อโดยตรงให้ หรือจะประหยัดเงินงบประมาณก็ชวนเชิญกับข้าราชการต่างๆที่ปลดเกษียรจากหน่วย งานข้างล่างนี้ไปช่วยวางแผนงานและฝึกงานให้กับข้าราชการของกระทรวงที่ประเทศ ไทย ( ทุกตำแหน่งต่อไปนี้จะเป็นอดีตข้าราชการที่อยู่ในระดับบริหารมาแล้ว) โดยรัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการเลี้ยงดู ผมว่าใช้เวลาประมาณ ๖ เดือนถึง ๑ ปีก็เพียงพอแล้ว ผมขอแนะนำให้เชิญชวน
1. เจ้าหน้าที่ป่าไม้และดับเพลิงจาก ระดับมลฑลหนึ่งนาย
2. เจ้าหน้าที่ป่าไม้และดับเพลิงจากมลรัฐ หนึ่งนาย
3. เจ้าหน้าที่ป่าไม้และดับเพลิงจากรัฐบาลกลาง หนึ่งนาย
4. เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ธรรมชาติจากรัฐบาลกลาง หนึ่งนาย
5. เจ้าหน้าที่จากกระทรวงราชฑัณต์ (มลรัฐ ) หนึ่งนาย
ระบบราชการที่นี่มีตั่งแต่ระดับรัฐบาลท้องถิ่นจนถึงระดับรัฐบาลกลางแต่พอมาถึง เรื่องการป้องกันป่าไม้ทุกๆหน่วนงานให้ความร่วมมือกันในเรื่องนี้และมีการทำ สัญญาระหว่างกัน หน้าที่ใครหน้าที่มันไม่ก้าวก่ายกันแต่ทุกตำแห่งยังสังกัดอยู่กับต้นสังกัด แต่พอเข้ามาร่วมงานกันในแคมป์แล้วก็ปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ แต่ในระบบของรัฐบาลไทยทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นเพราะอยู่ใต้รัฐบาลเดียวกัน