สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เมื่อ 25 ส.ค. 2552
ไฟล์แนบขนาดไฟล์
happyworkplace(2).pdf128.71 KB
happyworkplace_form.pdf60.78 KB

 

เนื้อหา

เจ้าภาพ : สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย

ด้วยหัวอกหัวใจของคนทำงาน โดยเฉพาะลูกจ้างที่ทำงานให้องค์กรต่างๆ ย่อมเข้าใจกันดีว่า ในแต่ละวันของการทำงาน ชีวิตคนคนหนึ่งได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากการทำงานไม่มากก็น้อย

เมื่อ 15-16 ปีที่แล้ว หากยังจำกรณีไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2536 มีคนทำงานจำนวนมากที่เสียชีวิตไปกับโศกนาฏกรรมครั้งนั้น จากเหตุการณ์นั้นเป็นต้นมาทำให้ผู้ใช้แรงงานรวมตัวกันเพื่อผลักดันให้มี กฎหมายด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และกลไกการทำงานที่มีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย

สาระหลักของกฎหมายนี้ เพื่อให้เกิดการก่อตั้ง "สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน" เป็นองค์กรอิสระภายใต้กระทรวงแรงงาน ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานของสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่มีความปลอดภัย และมีการจัดการทางการแพทย์ในการวินิจฉัยโรค อีกทั้งให้มีการพิจารณาจ่ายเงินทดแทนลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

กลุ่มผู้ใช้แรงงานเรียกร้องกฎหมายนี้มากว่า 15 ปี แต่ไม่เคยสำเร็จ ระหว่างทางของการเรียกร้องนั้น มีคนงานเจ็บป่วยพิการล้มตายเพราะโรคจากสารเคมีและสิ่งแวดล้อมปีละเกือบ 2 แสนราย

เมื่อรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ภาคประชาชนล่าชื่อเสนอกฎหมายเองได้ ทำให้จังหวะก้าวล่าสุดของการผลักดันเรื่องความปลอดภัยในสถานประกอบการ กลุ่มแรงงานเลือกใช้วิธีการเข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งล่าสุดมีผู้ลงรายชื่อแล้วประมาณ 6,000 ชื่อ ขาดอีกราว 4,000 ชื่อ

ร่างพ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

อ่านหรือดาวน์โหลดกฎหมายนี้ และร่วมลงนามเสนอกฎหมายได้ โดย
1. กรอกแบบฟอร์ม พร้อมกับ...
2. แนบสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง

ส่งมายัง
ตู้ ปณ.55 ปณฝ.สุทธิสาร กรุงเทพฯ 10321


 

 

 

Comments

ทำวิจัยเรื่องนี้อยู่ค่ะ...ติดประเด็นกฎหมายนี่แหละ...พยายามผลักดันอย่างเต็มที่มากๆ

พออ่านเนื้อหาในกฎหมายนี้ ซึ่งมันก็ครอบคลุมไปถึงแค่เฉพาะลูกจ้างในสถานประกอบการเท่านั้น ซึ่งในบ้านเรามีการจ้างงานโดยไม่ผ่านระบบมากมาย อย่างเช่น คนงานก่อสร้างที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวหรือแม้แต่ลูกจ้างประจำก็ตาม เวลาที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงสูญเสียอวัยวะ และเสียชีวิต ชะตากรรมก็หนีไม่พ้นไม่มีการรับผิดชอบ หรือความรับผิดชอบก็ไม่ครอบคลุมในระยะยาว ซึ่งครอบครัวก็ต้องมารับภาระ ชาวบ้านคนงานกรรมกร นอกจากทำงานหนัก ค่าแรงต่ำ แถมยังต้องรับภาระความเสี่ยงจากการทำงานด้วยตัวเองอีก มันไม่มีความเป็นธรรมเสียเหลือเกิน มีกรณีตัวอย่างที่ได้ประสบกับตัวเองเมื่อช่วงที่ไปซื้อบ้านจัดสรรย่านคลองเจ็ด ธัญบุรี เป็นหมู่บ้านจัดสรรที่ดำเนินการด้วยเจ้าของคนเดียว มีการจ้างคนงานรับเหมาและลูกน้อง ทยอยสร้างและทยอยขาย คนงานคนหนึ่งได้ประสบอุบัติเหตุที่มือทำให้นิ้วขาดใช้การไม่ได้ เจ้าของหมู่บ้านได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้เท่านั้น สุดท้ายเมื่อไม่สามารถทำงานได้ เขาก็ต้องเดินทางกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัด .. นี่คือชะตากรรม มีกรณีแบบที่ว่ามากมายและสภาพหนักยิ่งกว่า และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รับผิดชอบอะไร ซึ่งตรงนี้มีกฎหมายหรือจะทำกฎหมายอะไรที่จะครอบคลุมไปถึงคนงานทุกคนที่ทำงาน ให้ได้รับสวัสดิการในการบาดเจ็บทุกกรณีบ้าง..
อันนี้ฝากช่วยคิดต่อให้หน่อยนะคะ..
sahaikom's picture
เห็นด้วยและทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการร่างโดยเฉพาะแรงงานเพราะเขาทำงานเขาจะรู้ดีว่าอันไหนที่พวกจะได้ประโยชน์มิใช่ทำงานเก็บเงินแทบตายสุดท้ายต้องออกจากงานไปรักษาตัวเองหมดอะไรในทำนองนี้ ดังนั้นพ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ มันต้องเป็นประโยชน์สูงสุดสำหไรบคนงาน