ทำกฎหมาย คุ้มครองผู้ต้องหาไม่ให้ถูกซ้อม

ทำกฎหมาย คุ้มครองผู้ต้องหาไม่ให้ถูกซ้อม

เมื่อ 6 พ.ย. 2552

หลักการ


ที่มาภาพ : thukral

เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การซ้อมหรือทรมาน 'ผู้ต้องหา' หรือ 'ผู้ถูกคุมขัง' โดยเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อบังคับให้รับสารภาพ เป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นอยู่บ่อยครั้งในบ้านเมืองของเรา

การบังคับให้สารภาพด้วยการซ้อมหรือทรมาน ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรง และเป็นผลเสียต่อกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งเหยื่อของการถูกซ้อมหรือทรมาน มักจะไร้โอกาสและเข้าไม่ถึงการเรียกร้องสิทธิของตัวเอง
 
อย่างไรก็ดี ประเทศไทยร่วมลงนามใน “อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี” (CAT) ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีรัฐภาคีร่วมลงสัตยาบันมากถึง 141 รัฐ มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 รวมระยะเวลากว่า 20 ปีแล้ว
 
อนุสัญญาฉบับนี้ มีเนื้อหาที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและปกป้องการทรมานหรือการกระทำอันโหดร้ายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า เนื้อหาตามอนุสัญญาจะมีผลบังคับใช้ภายในประเทศได้ ก็ต่อเมื่อรัฐไทยเองมีกฎหมายภายในที่มีเนื้อหาหลักการเช่นเดียวกันนั้นรองรับอยู่ด้วย หากไม่มีกฎหมายภายในแล้ว หลักการในอนุสัญญาระหว่างประเทศก็มีผลเป็นเพียงหลักสากลที่รัฐต้องเคารพแต่ไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้
   
หลักการของร่างพ.ร.บ.ป้องกันและต่อต้านการทรมาน
ที่ผ่านมา 'เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน' ระดมความเห็นจากนักวิชาการ ส่วนราชการ องค์กรความร่วมมือต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกส่วน เพื่อจัดทำ “ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและต่อต้านการทรมาน พ.ศ....” ขึ้นเพื่อพัฒนากฎหมายของไทยให้รับเอาหลักการในอนุสัญญาดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติจริง
 
หลักการที่น่าสนใจ ที่จะมีอยู่ในอยู่ในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เช่น
 
คณะกรรมการ
จัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วย นักสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ นักกฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯลฯ ขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลปัญหาการซ้อม ทรมาน และให้มีอำนาจในการเข้าเยี่ยมสถานที่คุมขังของรัฐเพื่อตรวจดูว่า มีการซ้อมหรือทรมานผู้ต้องขังอยู่ภายในหรือไม่
 
วิธีพิจารณาความ
ในคดีที่มีเจ้าหน้าที่ถูกกล่าวหาว่าซ้อมหรือทรมานผู้ต้องหา ให้มีหน่วยงานแยกต่างหากที่มีอำนาจและหน้าที่สืบสวนคดีการกระทำของเจ้าหน้าที่ต่อผู้ต้องหา เป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระ เชี่ยวชาญพิเศษ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของหน่วยงานใด
ให้มีระบบการเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกซ้อมหรือทรมาน โดยเยียวยาเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น พาตัวออกจากสถานที่คุมขัง และดูแลทางการแพทย์ ฯลฯ
ให้ศาลที่พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้อง พิจารณาคดีด้วยระบบไต่สวน
 
อัตราโทษ
เจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำความผิดอันเป็นการซ้อมหรือทรมานเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือคำรับสารภาพ เพื่อลงโทษ ข่มขู่ หรือเพราะเหตุใดๆ บนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ ต้องรับโทษทางอาญาสูงกว่าโทษความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
อย่างไรก็ดี ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา ระดมความคิดเห็น และยังต้องช่วยกันปรับแต่งอีกหลายประเด็นจึงจะเสร็จสมบูรณ์เป็นร่างกฎหมายที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย คณะทำงานจึงต้องการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในสังคม ให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ ดังนี้ 
 
ความเป็นมา: 
0

Comments

4
samphan's picture
เห็นด้วย เพราะการพิสูจน์ว่าถูกซ้อมจะต้องรัดกุมพอควรที่จะถูกใช้ในทางที่ผิดไม่ได้
และเชื่อว่าสำหรับตำรวจไทย ต้องไม้แรงขนาดนี้ถึงจะได้ผล
5
samphan's picture
เห็นด้วยอย่างมาก ผู้เสียหายไม่ควรจะต้องทำหน้าที่พิสูจน์เอง
6
samphan's picture
สองเท่าของการทำร้ายร่างกาย
7
samphan's picture
มีหน่วยงานให้แจ้งการถูกซ้อมและฟ้องให้
ควรจะมีการชดเชยความเสียหายเป็นเงินให้ผู้เสียหาย
ตำรวจคนนั้นต้องเป็นตำรวจหรือกระบวนการยุติธรรมอีกไม่ได้
เห็นตำรวจจะซ้อมให้เซ็นรับสารภาพ ทำให้ลายเซ็นนั้นไม่มีผลในศาลได้ไหม
ถ้าอยู่ดีๆ ผู้ต้องหาบอกว่าถูกซ้อม แล้วจะมีวิธีป้องการเขาอย่างไรไหม
2
samphan's picture
ควรจะตรวจได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่อาศัยกลไกอื่น
3
samphan's picture
ไม่ควรมีข้อกำจัดในการดูข้อมูล ควรมีข้อจำกัดตัวกรรมการที่รู้ข้อมูลไม่ให้ใช้ประโยชน์และลงโทษอย่างรุนแรง
1
samphan's picture
ปัญหาจะเกิดในการพิสูจน์การทรมานที่หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดแผลหรืออะไรที่ตรวจสอบได้
2
yingcheep's picture
แต่ผมว่าน่าจะต้องมีหมายค้นด้วยนะ
คณะกรรมการที่ว่า ถ้ามีก็เป็นเหมือนเจ้าหน้าที่รัฐน่ะแหละ
แม้จะมีหน้าที่เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิแต่ก็ไม่น่าจะละเมิดสิทธิคนอื่นได้นะ
3
yingcheep's picture
คณะกรรมการก็เป็นจ้าหน้าที่รัฐไม่ใช่คนนอก ไม่ใช่NGOต่างชาติ น่าจะมีความไว้วางใจได้ระดับหนึ่งในการให้ดูความลับของรัฐ
4
yingcheep's picture
เห็นด้วย อาจเป็นวิธีเดียวที่ทำให้ตำรวจตื่นตัวแก้ปัญหากันจริงจังซะที
1
bact's picture
อ่านแล้วงง ๆ มันเป็น 4 ข้อ หรือยังไงอ่ะ อ่านแล้วมันกระโดด ๆ
7
opop's picture
ชอบไอเดียที่ให้มีหน่วยงานฟ้องแทนจังเลย

หวังว่าร่างพรบ.จะมีเรื่องการชดเชยเป็นตัวเงินให้ด้วยนะ

ส่วนเรื่องลายเซ็นต์ไม่มีผลในศาลนี้มี ป.วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 อยู่แล้วครับ
4
-.-'s picture
ต่างกรรม ต่างวาระ แยกถูกแยกผิด แยกข้อหา