พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เป็นกฎหมายฉบับหนึ่งที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันไม่น้อย หลังบังคับใช้มา 5 ปี มีภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่องที่ถูกสั่งห้ามฉาย หรือไม่อนุญาตให้ฉาย ที่เคยได้ยินกันก็เช่น Insects in the Backyard และ เชคสเปียร์ต้องตาย ในสายตาของคนสร้างงานศิลปะแล้วกฎหมายฉบับนี้กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกอย่างร้ายแรง
ไอลอว์ พูดคุยกับคนทำหนังกลุ่มหนึ่งเมื่อปลายปี 2555 จัดทำข้อเสนอต่อการแก้ไข พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดยยกเลิกกฎหมายเก่าทั้งฉบับ และร่างกฎหมายใหม่ขึ้นมา ในชื่อ ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. ... มีหลักการดังนี้
1. ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับวีดิทัศน คือ เกมส์ และคาราโอเกะ ให้ใช้บังคับต่อไป และส่วนที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ ให้ใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้แทน
2. แก้นิยามของคำว่า "ภาพยนตร์" ให้มีความเป็นสื่อที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความคิดของผู้สร้าง เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองเสรีภาพในฐานสื่อ เช่นเดียวกับสื่ออื่น โดยให้ภาพยนตร์ หมายความว่า "สื่อที่ถ่ายทอดความคิดออกมาในรูปแบบของการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงให้เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆได้ในลักษณะต่อเนื่องกัน แต่ไม่รวมถึงวีดิทัศน์"
3. ตั้งสภาภาพยนตร์แห่งชาติ ประกอบด้วยกรรมการ 15 คนมาจากการเลือกตั้งของผู้ประกอบอาชีพในสมาคมที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทำหน้าที่ในระดับนโยบายเกี่ยวกับงานด้านภาพยนตร์
4. ตั้งคณะกรรมการภาพยนตร์ คณะหนึ่งมี 7 คน แต่งตั้งโดยสภาภาพยนตร์ ทำหน้าที่พิจารณาและจัดประเภทภาพยนตร์
5. ภาพยนตร์แบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่
6. ไม่มีการแบน ไม่มีการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ในกฎหมายฉบับนี้ ภาพยนตร์ที่อาจมีเนื้อหารุนแรงจะถูกจัดเป็นประเภทภาพยนตร์ที่มีลักษณะพิเศษ ให้ฉายได้เฉพาะโรงภาพยนตร์ที่จดทะเบียนเป็นพิเศษ และให้จำหน่ายได้เฉพาะสถานที่ที่ได้รับอนุญาตเป็นพิเศษเท่านั้น
7. ให้มี “กองทุนสวัสดิการสภาภาพยนตร์” ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการส่งเสริมการประกอบอาชีพเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ตามนโยบายของสภาภาพยนตร์
8. แก้ไขบทลงโทษ ฐานจำหน่ายแผ่นซีดีโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท โดยไม่มีโทษขั้นต่ำ (บทเรียนจากกรณีคนเก็บซีดีเก่าไปขายแผ่นละ 20 บาทโดนศาลสั่งปรับ 100,000 บาท ตามโทษขั้นต่ำในกฎหมายเดิม)
[คลิกเพื่อดูร่างพ.ร.บ.ภาพยนตร์ พ.ศ. ... ฉบับเต็ม โดยไอลอว์]