ฐานความผิด | อัตราโทษที่บัญญัติในกฎหมาย | |
พระราชบัญญัติ ปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 | พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 | |
เตร็ดเตร่อยู่ตามท้องถนนโดยมีลักษณะเหมือนเป็นผู้ค้าบริการ | มาตรา 5 ผู้ใด เพื่อการค้าประเวณี (2) เตร็ดเตร่ หรือคอยอยู่ตามถนน หรือสาธารณสถานในลักษณะหรืออาการที่เห็นได้ว่า เป็นการเรียกร้องการติดต่อในการค้าประเวณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ | ไม่มีความผิด |
เข้าไปติดต่อหรือชักชวนคนให้มาซื้อบริการจากตนในที่สาธารณะ | มาตรา 5 ผู้ใด เพื่อการค้าประเวณี (1) เข้าติดต่อ ชักชวน แนะนำตัว ติดตาม หรือรบเร้าบุคคลตามถนน หรือสาธารณสถาน หรือกระทำการดังกล่าวในที่อื่นใดอันเป็นการเปิดเผยและน่าอับอายหรือเป็นที่เดือดร้อนรำคาญแก่สาธารณชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ | มาตรา 5 ผู้ใดเข้าติดต่อ ชักชวน แนะนำตัว ติดตาม หรือรบเร้า บุคคลตามถนนหรือสาธารณสถาน หรือกระทำการดังกล่าวในที่อื่นใด เพื่อการ ค้าประเวณีอันเป็นการเปิดเผยและน่าอับอายหรือเป็นที่เดือนร้อนรำคาญแก่ สาธารณชน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท |
เข้าไปมั่วสุมในสถานที่ค้าประเวณี | มาตรา 5 ผู้ใด เพื่อการค้าประเวณี (3) เข้าไปมั่วสุมในสถานการค้าประเวณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ | มาตรา 6 ผู้ใดเข้าไปมั่วสุมในสถานการค้าประเวณีเพื่อประโยชน์ ในการค้าประเวณีของตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำเพราะถูกบังคับ หรือ ตกอยู่ภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ ผู้กระทำไม่มี ความผิด
|
ค้าประเวณีในสถานประกอบการค้าประเวณี | มาตรา 6 ผู้ใดกระทำการค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณี ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ | ไม่มีความผิดฐานนี้โดยเฉพาะแต่อาจมีความผิดฐานเข้าไปมั่วสุมในสถานที่ค้าประเวณี |
โฆษณา การค้าประเวณี | ไม่มีความผิด | มาตรา 7 ผู้ใดโฆษณาหรือรับโฆษณา ชักชวน หรือแนะนำด้วยเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือกระทำให้แพร่หลายด้วยวิธีใดไปยังสาธารณะ ในลักษณะที่เห็นได้ว่า เป็นการเรียกร้องหรือการติดต่อเพื่อการค้าประเวณีของตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
กระทำชำเราเด็กและเยาวชนในสถานการค้าประเวณี | ไม่ระบุความผิด | มาตรา 8 ผู้ใดกระทำชำเราหรือกระทำอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่ ของตนเองหรือผู้อื่นแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีในสถานการค้า ประเวณี โดยบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปี ถึงสามปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำแก่เด็กอายุไม่เกิน สิบห้าปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึง หนึ่งแสนสองหมื่นบาท ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำต่อคู่สมรสของตน โดย มิใช่เพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ผู้กระทำไม่มีความผิด |
ความผิดของผู้เป็นนายหน้า (หมายเหตุ พระราชบัญญัติ ปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 มิได้บัญญัติโทษในกรณีที่มีเด็กและเยาวชนมาเกี่ยวข้อง แต่ในพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มีการบัญญัติโทษไว้อย่างชัดเจน) | มาตรา 8 ผู้ใดจัดหาผู้กระทำการค้าประเวณีเพื่อผู้อื่นเป็นปกติธุระ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ | มาตรา 9 ผู้ใดเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งบุคคลใด เพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีแม้บุคคลนั้นจะยินยอมก็ตาม และไม่ว่า การกระทำต่าง ๆ อันประกอบเป็นความผิดนั้นจะได้กระทำภายในหรือนอก ราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำแก่บุคคลอายุ กว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำแก่เด็กอายุ ยังไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับ ตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม เป็นการกระทำโดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจ ครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ผู้กระทำต้อง ระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม หนึ่งในสาม แล้วแต่กรณี ผู้ใดเพื่อให้มีการกระทำการค้าประเวณี รับตัวบุคคลซึ่งตนรู้อยู่ว่ามี ผู้จัดหา ล่อไป หรือชักพาไปตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม หรือวรรคสี่ หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ ในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม หรือวรรคสี่ แล้วแต่กรณี |
ความผิดของผู้เป็นเจ้าของกิจการค้าประเวณี (หมายเหตุ พระราชบัญญัติ ปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 มิได้บัญญัติโทษในกรณีที่มีเด็กและเยาวชนมาเกี่ยวข้อง แต่ในพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มีการบัญญัติโทษไว้อย่างชัดเจน) | มาตรา 9 ผู้ใดเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ดูแล หรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ | มาตรา 11 ผู้ใดเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแล หรือ ผู้จัดการกิจการการค้าประเวณีหรือสถานการค้าประเวณี หรือเป็นผู้ควบคุม ผู้กระทำการค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้ากิจการหรือสถานการค้าประเวณีตามวรรคหนึ่งมีบุคคลซึ่งมีอายุกว่า สิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีทำการค้าประเวณีอยู่ด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท ถ้ากิจการหรือสถานการค้าประเวณีตามวรรคหนึ่งมีเด็กอายุยังไม่เกิน สิบห้าปีทำการค้าประเวณีอยู่ด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึง ยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท |
หลบหนีจากสถานสงเคราะห์หรือสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ | มาตรา 15 ผู้รับการสงเคราะห์ผู้ใดหลบหนีไปจากสถานสงเคราะห์ หรือ สถานที่ซึ่งอธิบดีกำหนดให้ไปทำงานหรือประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๔ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ | ไม่มีความผิด กฎหมายเพียงแต่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตามตัวผู้เข้ารับการคุ้มครองกลับมาเท่านั้น มาตรา 38 ในระหว่างที่รับการดูแลในสถานแรกรับหรือรับการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ถ้าผู้ใดหลบหนีออกนอกสถานแรกรับ หรือสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ให้เจ้าหน้าที่ของสถานแรกรับหรือสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพมีอำนาจหน้าที่ออกติดตามตัวผู้นั้นเพื่อส่งตัวกลับไปยังสถานแรกรับหรือสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพได้ แล้วแต่กรณี ในการนี้ สถานแรกรับหรือสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพจะร้องขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยดำเนินการให้ด้วยก็ได้ |