ตามที่ได้มีการเสนอข่าวว่าคณะรัฐมนตรี เห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. ... เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม หรือ คุ้มครองการใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เช่น ภาษา การแสดง การดนตรี พิธีกรรม ประเพณี เทศกาล และงานช่างฝีมือ โดยรัฐจะกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในแต่ละจังหวัด ซึ่งจะมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม รวมทั้งมีบทลงโทษ โดยมาตรา 40 ระบุว่า หากมีการนำมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ซึ่งขึ้นทะเบียนแล้ว ไปเผยแพร่ในลักษณะหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทบกระเทือนศาสนาและความมั่นคงของประเทศ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีนี้ แม้พรบ จะยังไม่ได้รับความเห็นชอบก็ตาม แต่ส่วนตัวเห็นว่า วัฒนธรรมคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและมีวัฒนการของตัวเองไปเรื่อยๆ ยืดหยุ่นและไม่มีความคงตัวถาวร ดังนั้น การจะออกกฏเพื่อมาแช่แข็งวัฒนธรรมหนึ่งๆ เอาไว้ ย่อมเรื่องที่เสียเวลา เสียทรัพยากรเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะบอกว่า มีบางวัฒนธรรมเท่านั้นที่เข้าข่ายวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์โดยต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ 1.วัฒนธรรมทางภาษาและการสร้างสรรค์ทางภาษา รวมทั้งการแสดงออกโดยใช้ภาษาเป็นสื่อถ่ายทอด 2.ศิลปะการแสดงและการดนตรี 3.การปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และประเพณีหรือเทศกาล 4.ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5.ผลงานซึ่งเป็นงานช่างฝีมือดั้งเดิม และ 6.มีลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ไม่ใช่วัฒนธรรมไทยทั้งหมด แต่เงื่อนไขเหล่านี้ก็ยากที่จะปฏิบัติ รวมถึงอาจเปิดช่องให้เกิดการละเมิดความคิดส่วนบุคคล หรือจำกัดความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วย
ดูภาพต้นฉบับที่ http://on.fb.me/16ftyjh