ร่างกรรมาธิการ | ร่างที่เสนอให้แก้ไข | ร่างที่ผ่านวาระสอง | ปัญหาสำคัญของร่างตามวาระสอง | |
---|---|---|---|---|
วรรค ๑ | มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และ สัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ | (คงเดิม) | (คงเดิม) | (คงเดิม) |
วรรค ๒ | หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือ มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา | หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือ มีบทให้เปิดเสรีหรือคุ้มครองด้านการค้าการลงทุน หรือมีบทเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองหรือจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรือสังคม ที่มิใช่ความร่วมมือทางวิชาการ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา | หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทยหรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา | หนังสือสัญญาเกือบทั้งหมดจะไม่เข้าตามมาตรา 190 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางธรรมชาติ พลังงาน รวมถึงการเจรจาทางเศรษฐกิจที่สำคัญส่วนใหญ่นับจากนี้ |
วรรค ๓ | ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับหนังสือสัญญาตามวรรคสอง และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา การศึกษาถึงประโยชน์ของหนังสือสัญญาและผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการ และการดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากหนังสือสัญญาดังกล่าวด้วย | ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกําหนดลักษณะ กรอบการเจรจา ขั้นตอนและวิธีการจัดทําหนังสือสัญญา รวมทั้งการให้ข้อมูลและจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชน และการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญาตามวรรคสอง กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาถึงประโยชน์ของหนังสือสัญญาและผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการ และการดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวด้วย | ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญา และแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้รับประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป | ไม่มีการเสนอกรอบการเจรจา ส่งผลให้ความโปร่งใส แทบจะหายไปโดยสิ้นเชิง ลดทอนความชอบธรรมและอำนาจต่อรองในการเจรจา ในทางปฏิบัติคือประชาชนและรัฐสภาจะรับรู้ข้อมูลเพียงพอในการมีส่วนร่วมก็ต่อเมื่อการเจรจาจบสิ้นไปแล้ว ซึ่งแทบไม่มีความหมายแต่อย่างใด ตัดการศึกษาผลกระทบออกไปซึ่งตรงกับความต้องการของธุรกิจข้ามชาติ ส่งผลให้สังคม รวมถึงผู้เจรจราและฝ่ายนโยบายเอง ขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงผลดีผลเสีย ง่ายต่อการถูกกดคันจากคู่เจรจาและกลุ่มทุน การเจรจาของรัฐบาลและการพิจารณาของรัฐสภาจึงไม่ขึ้นอยู่กับฐานองค์ความรู้และปัญญา |
วรรค ๔ | ก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันในหนังสือสัญญาตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วย | (คงเดิม) | (ตัดทิ้ง) | เสียงของประชาชนไม่จำเป็นต้องถูกได้ได้ยินอีกต่อไป ยังผลให้ความตึงเครียดและความไม่เข้าใจกับรัฐบาลจะเพิ่มสูงขึ้น ง่ายต่อการฉกฉวยโอกาศของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง นำไปสู่ภาระของรัฐบาลเองและประสิทธิภาพการเจรจาในที่สุด |
วรรค ๕ | ในกรณีที่มีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามวรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดโดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔(๑) และ (๒) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดให้แล้วเสร็จในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับเรื่อง | ในกรณีที่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาใดเข้าลักษณะหนังสือสัญญาตามวรรคสาม ให้เป็นอํานาจของคณะกรรมการวินิจฉัยหนังสือสัญญา ซึ่งประธานรัฐสภาจะได้แต่งตั้งขึ้น ประกอบด้วยประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี และประธานศาลฎีกา ให้นำข้อบังคับการประชุมของรัฐสภามาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการวินิจฉัยหนังสือสัญญาโดยอนุโลม คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยหนังสือสัญญาตามมาตรานี้ให้มีผลทั่วไปและเป็นเด็ดขาด ผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และหน่วยงานทั้งปวงของรัฐ | ในกรณีที่มีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดโดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) และ (๒) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับเรื่อง | กลไกการตรวจสอบจะไม่มีความหมายอีกต่อไป |
วรรค ๖ | ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน ให้เสนอกรอบการเจรจาให้ รัฐสภาเห็นชอบ และ เสนอผลกระทบของหนังสือสัญญา และ แนวทางในการเยียวยาให้รัฐสภาทราบ ตามความเหมาะสม | ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ (วรรคหนึ่ง คงเดิม) ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน ให้เสนอกรอบการเจรจาให้ รัฐสภาเห็นชอบ และ เสนอผลกระทบของหนังสือสัญญา และ แนวทางในการเยียวยาให้รัฐสภาทราบ | ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ (วรรคสอง ถูกตัดออกทั้งหมด) | รัฐบาลสามารถเตะถ่วงการออกกฏหมายลูก ส่งผลให้การบังคับใช้มาตรา 190 มีความสับสนอยู่ต่อไป |
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๑๙๐ ที่ผ่านรัฐสภาวาระ ๒ ข้ามเที่ยงคืนเข้าสู่วันที่ ๑๗ ต.ค.๕๖ มาตรา ๑ รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พุทธศักราช...” มาตรา ๒ รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นๆ กับนานาประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทยหรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญา และแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้รับประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป (ร่างคณะกรรมาธิการฯ ที่ถูกตัดทิ้ง –ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับหนังสือสัญญาตามวรรคสอง และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา การศึกษาถึงประโยชน์ของหนังสือสัญญาและผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการ และการดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากหนังสือสัญญาดังกล่าวด้วย โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้รับประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป) ในกรณีที่มีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดโดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) และ (๒) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับเรื่อง มาตรา ๔ ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ (ร่างคณะกรรมาธิการฯที่ถูกตัดทิ้ง – ในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการตรากฎหมายตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดดยรัฐธรรมนูญนี้ และในกรณีที่เป้นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุนให้เสนอกรอบการเจรจาเพื่อขอความเห็นชอบของรัฐสภาและผลการศึกษาถึงประโยชน์และผลกระทบของหนังสือสัญญาดังกล่าวต่อรัฐสภาเพื่อทราบด้วย ทั้งนี้ตามความเหมาะสม) |