ลดปัญหาคอรัปชั่นด้วยการเปิดเผยข้อมูลของระบบราชการ

ลดปัญหาคอรัปชั่นด้วยการเปิดเผยข้อมูลของระบบราชการ

Nutchapakorn เมื่อ 22 เม.ย. 2557

เวลาที่เราพูดถึงการคอรัปชั่น เรานิยมให้ความสนใจไปที่การเมืองระดับชาติ เช่น นักการเมืองโกง แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่แค่นักการเมือง แต่ตัวระบบราชการเองก็เป็นอีกกลไกหนึ่งที่เต็มไปด้วยการคอรัปชั่นเหมือนๆกัน ภายใต้อิทธิพลแนวคิดการจัดการธุรกิจ ระบบราชการได้นำเรื่องของกลไกตลาดมาใช้ในการจัดบริการสาธารณะ โดยจัดให้มีการประมูล หรือ จัดซื้อจัดจ้าง เช่น การว่างท่อประปา การทำถนน ฯลฯ แต่การเข้าถึงข้อมูลว่าใครรับผิดชอบเรื่องต่างๆเหล่านั้น ยังเป็นประเด็นปัญหาในปัจจุบัน

 
การจัดซื้อจัดจ้างและการประมูลเป็นที่เชื่อถือในทางทฤษฎีว่าจะทำให้ใช้ต้นทุนต่ำแต่มีประสิทธิภาพจากการแข่งขันของผู้รับเหมา แต่ในทางปฏิบัติ ไม่มีกลไกตรวจสอบว่า การประมูล หรือ จัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใสอย่างแท้จริง เรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับ ผู้รับเหมาคนนี้ สายนักการเมืองคนนั้น หรือมีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งกับผู้มีอำนาจในการจัดบริการสาธารณะ 
 
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า การที่คนที่มีความเกี่ยวข้องที่ได้รับสัมปทาน หรือ ชนะการประมูลจะทำหน้าที่ได้ไม่ดี แต่คำถามคือนั้นมีความเป็นธรรมตามทฤษฎีกลไกตลาดหรือไม่ มีผู้แข่งขันมากรายเพื่อทำให้การประมูล หรือจัดซื้อจัดจ้างนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่จะได้ผู้รับเหมาที่ดีและเหมาะสมต่อการลงทุนที่สุด
 
ดังนั้นทางออกที่สำคัญประการหนึ่งคือการเพิ่มอำนาจตรวจสอบโดยประชาชน ซึ่งดูจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการที่เราให้ตัวแทนของเราเข้าไปตรวจสอบแทนเพราะอาจมีปัญหาจากการที่ตัวการตัวแทนไม่ได้ทำหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเรา การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบจึงเป็นประชาธิปไตยทางตรง
 
ซึ่ง TDRI มีความคิดที่จะปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของรัฐเพื่อจะนำไปสู่การแก้ปัญหาคอรัปชั่นมาก่อน ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีประเด็นที่สามารถนำมาขยายต่อได้ดังนี้
 
1.พัฒนากฎหมายเพื่อให้เป็นกฎหมาย "แม่บท" การเข้าถึงข้อมูลของรัฐ ให้มีการบังคับใช้ครอบคลุมหน่วยงานทั้งหมด การเปิดเผยข้อมูลเป็นกฎหมายที่สำคัญเมือมีการข้อเรียกดู ต้องเปิดเผยข้อมูล หากข้อมูลที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของรัฐเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้นจากบุคคลทั่วไป แต่หากมีการทำหนังสือรับรอง ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายนี้ต่อส่วนราชการได้ 
 
2.ปรับปรุงมาตรฐาน ขั้นตอน และวิธีการในการเปิดเผยข้อมูล ให้มีการเปิดเผยข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ข้อมูลนั้นต้องเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการแก้ไข หรือหากมีการแก้ไข ต้องระบุว่าใครเป็นผู้แก้ไขข้อมูลนั้นเพื่อป้องกันการแก้ไขข้อมูลเพื่อปกปิด และการเข้าถึงข้อมูลต้องออกแบบให้ดึงออกมาใช้ได้ง่าย
 
3.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร หรือให้ขึ้นตรงกับรัฐสภา เพื่อให้มีการพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลได้อย่างเต็มที่และมั่นใจได้ว่าจะไม่โดยฝ่ายบริหารแทรกแซง ให้สามารถจัดสรรงบประมาณเองได้ หรืออาจจะจัดให้เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญหรือเป็นหน่วยงานย่อยขององค์การที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
 
(ขอบคุณรูปและเนื้อหาบางส่วนจาก TDRI)
 
 

 

คุณแสดงความคิดเห็นว่า
Vote
Get Adobe Flash player