ผมขอรบกวนฝากประเด็นเกี่ยวกับประกันสังคมให้ช่วยพิจารณา ดังนี้
-ผู้ประกันตนตาม ม. 33ใช้ฐานเงินค่าจ้าง(สูงสุด) 15,000บาท
-ผู้ประกันตนตาม ม. 39ใช้ฐานเงินค่าจ้าง(สูงสุด) 4,800บาทผลประโยชน์กรณีบำนาญชราภาพจะถูกกำหนดต่างกันจากฐานเงินค่าจ้าง(ได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตราร้อยละ 20ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย)
1. เหตุผลที่ใช้ฐานเงินค่าจ้างต่างกัน ยุติธรรมหรือไม่?
2. ฝากประเด็นกรณีที่ผู้ประกันตนตาม ม. 39 จะขอปรับใช้ฐานเงินค่าจ้าง(สูงสุด) 15,000 บาทโดยยินยอมนำส่งเงินประกันตนเพิ่มจะสามารถแก้ไขให้ทำได้หรือไม่(เนื่องจากเป็นการประกันตนภาคสมัครใจอยู่แล้ว)
ที่ผ่านมาผมประกันตน ม.33เกือบ 20ปี แต่ต้องออกจากงาน
จึงต้องมาขอเป็นผู้ประกันตน ม.39ต่อ ไม่เคยเว้นว่างการจ่ายเบี้ย
แต่ถูกลดผลประโยชน์แบบดูแล้วไม่เป็นธรรมเท่าที่ควรและผมคิดว่ามีผู้ประกัน
ตนอีกหลายรายก็เป็นแบบผมจึงขอเรียนเสนอประเด็นนี้
ให้โปรดช่วยนำเสนอคณะกรรมการประกันสังคมพิจารณาด้วยครับ
ขอบคุณครับ