คนที่ถูกประกาศเรียกทั้งหมด
Number of individuals summoned | 565 คน |
คนที่ถูกจับกุมทั้งหมด
Number of individuals arrested | 233 คน |
Bangkok 94 คน | North 68 คน | Northeast 43 คน | East 2 คน | Central 13 คน | South 4 คน | Unknown 9 คน |
จำนวนคนที่ถูกหมายเรียก หรือจับกุม
แบ่งตามความเกี่ยวโยง Number of individuals summoned or arrested by affiliation |
รวม |
เกี่ยวโยงกับคนเสื้อแดง, นปช., พรรคเพื่อไทย
Related to Red Shirts/UDD/Pheu Thai Party | 384 คน |
เกี่ยวโยงกับ กปปส., พรรคประชาธิปัตย์
Related to PDRC/Democrat Party | 51 คน |
นักวิชาการ นักเขียน ดีเจ นักกิจกรรม
Academics, writers, journalists, DJs and activists | 135 คน |
ผู้ถูกจับกุมจากการชุมนุมโดยสงบ
Arrests at peaceful demonstrations | 73 คน |
จำนวนบุคคลที่ถูกดำเนินคดีหลังถูกเรียกหรือถูกจับกุม
Number of individuals facing criminal prosecution after summoned/arrested | รวม 77 คน |
ขึ้นศาลทหาร
Before the military court | 60 คน |
ขึ้นศาลพลเรือน
Before the civilian court | 17 คน |
บุคคลที่ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ (ม.112)
Individuals under investigation for lese majeste crime (section 112) | 12 คน |
รายละเอียดเพิ่มเติม
รอบอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม 2557 มีการเรียกตัวและจับกุมเพิ่มขึ้นทั้งหมด 8 คน แบ่งเป็น กรณีการจับกุมใหม่ 2 กรณี
1.นาย ธนะแสน (นามสมมติ) เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดนทหารโทรเรียกให้ไปรายงานตัว เนื่องจากสงสัยในกิจกรรมที่กำลังจะจัดขึ้น โดยควบคุมตัวเป็นเวลา 1 ชั่วโมงแล้วจึงปล่อยตัว
2.นายฉลาด วรฉัตร เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและอดีตนักการเมือง ตำรวจเชิญไปพูดคุยเพื่อเกลี้ยกล่อมให้ยุติการเคลื่อนไหวต่อต้าน คสช. และปล่อยตัวในวันเดียวกันนั้น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้แต่เพิ่งได้รับข้อมูล 6 คน เป็นผู้ชุมนุมในสถานที่ต่างๆ
1. กรณีจับกุมผู้ชุมนุมที่จ.นนทบุรี 4 คน
ธานนท์ (นามสมติ) หนึ่งในผู้ที่โดนจับกุม เล่าว่า โดนจับเพราะเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงการยึดอำนาจของ คสช. เมื่อเสร็จสิ้นการชุมนุม ตำรวจได้เข้าไปจับตัว เมื่อถามตำรวจว่า เป็นการจับกุมใช่หรือไม่ หากเป็นการจับกุมก็ต้องการทนายความ เจ้าหน้าที่ตอบว่าไม่ใช่การจับกุม เป็นเพียงการเชิญไปพูดคุย และระหว่างการพูดคุย ตำรวจพยายามปรับทัศนคติ เพื่อให้ยุติการเคลื่อนไหวต่อต้านและให้โอกาสกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เมื่อเสร็จสิ้นการพูดคุย ตำรวจได้แจ้งว่าเป็นการจับกุมรวมถึงทำการสอบสวนแล้ว จะรับสารภาพหรือไม่ ธานนท์ให้การปฎิเสธ และตำรวจให้หาคนมาประกันตัว
2. กรณีจับกุมตามหมายจับที่จ.เชียงราย 2 คน
จากการกระทำที่ถูกกล่าวหาว่าติดป้ายแบ่งแยกประเทศเป็นประเทศล้านนาซึ่งเกิดขึ้นก่อนการรัฐประหาร
นอกจากนี้ตัวเลขสถิติดังกล่าวยังไม่ได้นับรวมชายสามคนซึ่งโดนจับกุมตัว 2 คน และ ให้ไปรายงานตัว 1 คน
1.สมชาย (นามสมมติ) โดนจับตัวไปเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2557 เพราะออกไปซื้อของที่เซเว่น และในระหว่างซื้อของ ทหารและตำรวจนอกเครื่องแบบ กว่า 40 -50 คน ได้ มาล๊อคตัวอุ้มขึ้นรถไป
2.สมรักษ์ (นามสมมติ) วันที่ 29 กรกฎาคม 2557 เวลา 13.00 น. ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวไปต่อหน้าเพื่อนร่วมงานของเขาหลายคนในโรงพยาบาล โดยไม่มีการแจ้งสาเหตุในการควบคุมตัว และไม่แจ้งว่าจะควบคุมตัวไปไว้ที่ใด และไม่อนุญาตให้ติดต่อญาติ ซึ่งขณะนี้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน สามารถติดตามตัวเขาได้แล้ว
3.สมคิด (นามสมมติ) ทหารติดต่อเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ให้ไปรายงานตัวที่กทม.ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2557 แล้วโดนกักตัวไว้ 7 วัน (23-30 กรกฎาคม 2557) ตอนนี้ถูกปล่อยตัวกลับถึงบ้านแล้ว
หมายเหตุ : ระบบสถิติจะใช้การนับชื่อ ดังนั้นอาจมีรายชื่อที่โดนเรียกซ้ำและทำให้ตัวเลขสถิติไม่เคลื่อนไหว
* นี่คือจำนวนเท่าที่มีรายงานยืนยันได้เท่านั้น จำนวนผู้ถูกปล่อยตัวจริงอาจมากกว่านี้
This is a number of confirmed releases only. The actual number of releases may be higher.
ระเบียบวิธีการศึกษา
สถิตินี้เน้นการศึกษาสองประเด็น
(1) บุคคลที่ถูกคำสั่งเรียกให้มารายงานตัวโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทั้งในกรุงเทพมหานคร และในหน่วยทหารระดับท้องถิ่น และ
(2) บุคคลที่ถูกจับกุมโดย คสช. ภายหลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
สถิตินี้รวบรวมขึ้นมาจากการออกคำสั่งเรียกบุคคลของ คสช. จากรายงานตามสื่อมวลชน และข้อมูลที่ได้จากภาคประชาชนสังคม นักข่าว พรรคการเมือง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลนี้ผ่านการยืนยันแล้วจากหลายแหล่งเท่าที่สามารถรวบรวมได้ อย่างไรก็ตาม การรวบรวมสถิตินี้ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมข้อมูลทั้งหมดได้ เนื่องจากข้อมูลบางอย่างไม่สามารถตรวจสอบได้ โดยเฉพาอย่างยิ่ง ข้อมูลการปล่อยตัวบุคคล การเรียกและจับกุมตัวบุคคลนอกเขตกรุงเทพฯ ซึ่งตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงกว่านี้
สำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ช่วยสนับสนุนด้านเทคนิคในระเบียบวิธีการเก็บข้อมูล
Methodology
The statistics focuses on two main categories:
(1) individuals summoned by the National Council for Peace and Order (NCPO) in Bangkok and local military units at the provincial level and
(2) individuals arrested by NCPO after 22 May 2014.
The statistics were developed after careful reviews of the NCPO’s published orders, media reports and information provided by civil society groups, journalists, political parties and concerned individuals.
To the extent possible, the information has been verified through multiple sources. However, the compilation is by no means comprehensive. Due to unavailability of information, especially concerning (1) released individuals and (2) summons and arrests outside of Bangkok, actual numbers could be higher.
The Office of United Nations High Commissioner for Human Rights (OHCHR) provided technical assistance in developing the methodology.