เรื่องเล่าคนห้องกรง (E-Book)

 

iLaw ฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธินักโทษตลอดมา
ด้วยเหตุผลว่ากลุ่มคนเหล่านี้ถูกสังคมกดขี่ความเป็นมนุษย์
----จริงอยู่ที่คนผิดต้องได้รับโทษ แต่การเบียดเบียนสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นคนนั้นถูกต้องแล้วหรือ?

8 เรื่องราวนี้จะทำให้คุณเข้าใจชีวิตนักโทษมากขึ้น

*หมายเหตุ: อ่านแต่ละเรื่องได้ที่ชื่อเรื่อง และดาวน์โหลดไฟล์ PDF ได้ที่ท้ายบทความนี้

 

24 ชั่วโมง ในเรือนจำ.. แต่ละวันเขาทำอะไรกัน?

 

รู้หรือไม่? ในเรือนจำมีการเรียกรวมผู้ต้องขังเพื่อนับจำนวนถึงวันละ 5 ครั้ง เป็นประจำแบบนี้ทุกวัน "หนุ่ม เรดนนท์" อดีตผู้ต้องขังผู้ใช้ชีวิตกว่าสามปีในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เขียนเล่ากิจวัตรการตื่น การนอน กินข้าว เข้าแถว อาบน้ำ ทำงาน เผยชีวิตประจำวันตลอด 24 ของผู้ต้องขังแบบไม่มีวันหยุด

 

 

สิบปีของนาย ก. ในคุก "Grade A" และ "Grade B"

ในความเข้าใจของคนทั่วไป เรือนจำสำหรับผู้ต้องขังในคดีที่มีอัตราโทษสูงน่าจะมีระเบียบหรือมาตรการควบคุมที่มากกว่าเรือนจำที่ใช้ควบคุมผู้ต้องขังในคดีที่มีอัตราโทษต่ำ อย่างไรก็ตามคำบอกเล่าของอดีตผู้ต้องขังที่มีประสบการณ์ถูกจองจำในทั้งเรือนจำทั้งสองประเภทกลับตรงกันข้าม

เผยแพร่ครั้งแรกใน หนังสือเรื่องเล่าคนห้องกรง

 

 

ในเรือนจำเขาใช้จ่ายกันอย่างไร

ทุกสังคมย่อมมีสื่อกลางที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเป็นของตัวเอง เช่น สหรัฐอเมริกาใช้เงินดอลลาร์ ยุโรปใช้เงินยูโร หรือไทยใช้เงินบาท เรือนจำก็เป็นสังคมที่มีตัวกลางซึ่งใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเป็นของตัวเองเช่นเดียวกัน และเป็นสิ่งของที่คนภายนอกอาจจะมองข้ามไป

เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ เรื่องเล่าคนห้องกรง

 

 

"ตะบอง" อาวุธประจำกายผู้คุม

 

 

รู้หรือไม่ว่ากระบองที่ผู้คุมในเรือนจำไม่ได้ใช้เพื่อควบคุมนักโทษเท่านั้น แต่ยังเป็นอุปกรณ์ที่สะท้อนถึงความเชื่อบางอย่างด้วย

 

 

เรื่องเล่าความหลากหลายทางเพศในคุก (ชาย)

 


ในโลกห้องกรงถูกแบ่งเป็นสองเพศ
แต่ใครๆ ก็รู้ว่าโลกจริงๆ หลากหลายกว่านั้น
แล้วคนที่ไม่ใช่หญิงไม่ใช่ชายจะอยู่อย่างไรในโลกที่ถูกแบ่งเพียงสองเพศ
ชวนอ่านข้อเขียนจากอดีตคนห้องกรง "หนุ่ม เรดนนท์" เล่าเรื่องความหลากหลายทางเพศในคุก (ชาย)

 

 

สงกรานต์ครั้งแรกของผม.. หลังกำแพงคุก

สงกรานต์น่าจะเป็นเทศกาลแห่งที่สำคัญสำหรับคนไทยและเป็นเทศกาลที่มีความสนุกเป็นอันดับต้นๆ คนในเรือนจำก็เล่นสงกรานต์เช่นกัน ทว่างสิ่งนำมาใช้สาด ไม่ได้มีแค่น้ำ

 

ส่องคนห้องกรงเพื่อนบ้าน ASEAN

(ปรับปรุงจากบทสัมภาษณ์ทนายความจากประเทศ
ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และ ฟิลิปินส์ ซึ่งแยกเผยแพร่บนเฟซบุ้กเพจคนห้องกรง)


เปิดโลกคนห้องกรงอินโดจีน

เรือนจำลาวและกัมพูชาต่างมีปัญหาเรื่องความแออัดเช่นเดียวกับเรือนจำในไทย ในลาว การที่ผู้ต้องคดีไม่มีเงินประกันตัวคือสาเหตุแห่งความหนาแน่น ขณะที่ในกัมพูชา ความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรมคือสาเหตุสำคัญ
 

คนห้องกรงมาเลเซีย

ในภาพรวม การใช้ชีวิตในเรือนจำที่มาเลเซียดูไม่เลวร้ายนัก แต่ก็มีผู้ต้องคดีอีกหลายคนจะต้องเจอกับบททดสอบทางกายที่แสนสาหัสระหว่างถูกควบคุมตัวชั่วคราวที่โรงพัก
 

คนห้องกรงในฟิลิปปินส์

ปัญหาใหญ่ของเรือนจำในฟิลิปปินส์คือความหนาแน่น ไม่ต่างจากลาวและกัมพูชา ที่ต่างกันคือ ทางการฟิลิปปินส์ดูจะมีความพยายามแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรมกว่าอีกสองชาติอินโดจีน

เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือคนห้องกรง

 

 

อุปสรรคชีวิตอดีตนักโทษ: ฟ้าหลังฝนไม่สดใสเสมอไป 

 

 

 

ในอดีตการลงโทษเป็นไปเพื่อแก้แค้นให้เหยื่อ แต่ในปัจจุบัน จุดประสงค์ของการลงโทษเปลี่ยนไปมุ่งฟื้นฟูแก้ไขพฤติกรรมคนทำความผิดแทน คนห้องกรงจึงมีโอกาสพัฒนาความสามารถควบคู่ไปกับการถูกจำกัดอิสระภาพ อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นโทษไป อนาคตของอดีตนักโทษกลับไม่สดใสอย่างที่ควร เพราะข้อจำกัดด้านกฎหมายและด้านสังคมรออยู่เป็นพายุลูกใหญ่ที่อาจสาหัสกว่าเดิม

 

 

ทั้งแปดเรื่องราวนี้เป็นเพียง "ส่วนหนึ่ง" ของความจริงที่ซ่อนไว้หลังกรงเหล็ก ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่ควรหันกลับมาทบทวนว่ามาตรการเหล่านี้เหมาะสมแล้วหรือกับการให้โอกาสคนอีกครั้ง

ไฟล์แนบขนาดไฟล์
Prisoner_Story.pdf817.8 KB