12 มกราคม 2558: เพิ่มวรรคสอง “มาตรา 7” ให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดทางตัน - ตั้ง “เอนก” ประสานทุกสีเสื้อถกปรองดอง
กมธ.ยกร่างฯ เพิ่มมาตรา 7 วรรคสอง วางศาล รธน. ตัดสิน ยกเหตุการณ์ตุลาการเข้าเฝ้าฯ ปี 2549 ด้าน กมธ. ปฏิรูปการเมือง ตั้ง “เอนก” เป็นหัวเรือใหญ่ประสาน ปชป.- พท.- นปช.- กปปส. หารือหาแนวทางสร้างปรองดอง ชี้แต่ละหน่วยงานทำงานไม่ทับซ้อนกัน
ที่มา : ผู้จัดการ
ในวันเดียวกัน: ขรก.เฮ มติวิปรัฐบาลผ่านร่างพ.ร.บ.ขึ้นเงินเดือน 5ฉบับเข้า สนช.
นายสุวพันธุ์ เปิดเผยผลการประชุมว่า มติวิปรัฐบาลเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ 5 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขึ้นเงินเดือนข้าราชการชั้นผู้น้อย ตำรวจ ทหาร รัฐสภา ครู 4% และปรับเพดานให้สูงขึ้น 10% ตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีการอนุมัติไปแล้ว ตามที่สำนักงานก.พ.เสนอเพื่อส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)พิจารณาตามขั้นตอนเพื่อออกเป็นกฎหมายต่อไป
ที่มา : มติชน
13 มกราคม 2558: ครม.เห็นชอบยกเลิก กม.12 ฉบับ-อนุมัติ พ.ร.บ.เวนคืนที่ดินสร้าง รฟฟ.
1. พระราชบัญญัติควบคุมและจัดการกิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าวบางจำพวกใน ภาวะคับขัน พุทธศักราช 2484
2. พระราชบัญญัติส่งเสริมสินค้าขาออก พ.ศ. 2503
3. พระราชบัญญัติส่งเสริมสินค้าขาออก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2509
4. พระราชบัญญัติควบคุมและการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504
5. พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2509
6. พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2511
7. พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำบางอย่างในการขนส่งสินค้าขาออกทางเรือ พ.ศ. 2511
8. พระราชบัญญัติสถานสินเชื่อท้องถิ่น พ.ศ. 2518
9. พระราชบัญญัติการประกอบอาชีพงานก่อสร้าง พ.ศ. 2522
10. พระราชบัญญัติการประกอบอาชีพงานก่อสร้าง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524
11. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 45
12. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 253
ที่มา: สำนักข่าวอิศรา
และในวันเดียวกัน : กมธ.ยกร่าง เคาะให้บุคคลมีอำนาจยื่นศาล รธน. สั่งหยุดล้มล้างการปกครองแบบ ปชต.ได้
การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราต่อเนื่อง ทั้งนี้ในช่วงเช้าได้มีการพิจารณามาตราที่ว่าด้วยการบัญญัติให้ "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพลักษณะก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้ ในกรณีที่บุคคลพบเห็นการกระทำย่อมมีสิทธิเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดได้ มีอำนาจสั่งให้เลิกการกระทำหรือสั่งการอื่นได้ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญและวิธีการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ แต่การใช้สิทธิเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำดังกล่าว"
ที่มา : มติชน
14 มกราคม 2558: กมธ.ยกร่างเห็นไม่ตรงประเด็น สิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา
ที่รัฐสภา มีการประชุมของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา หลังจากที่เมื่อวานนี้ได้มีการพิจารณาไปแล้ว 9 มาตรา โดยเป็นการพิจารณาในประเด็นหมวด 2 ประชาชน ส่วนที่ 2 สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ต่อจากเมื่อวาน เริ่มด้วยสิทธิของบุคคลในครอบครัว และส่วนที่3 ว่าด้วยเรื่องหน้าที่พลเมือง
ที่มา: มติชนออนไลน์
กมธ. ยกร่าง รับรองสิทธิ “เพศสภาพ” พร้อมคุมเข้ม “เฮทสปีช”
โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า กรรมาธิการฯ ได้พิจารณาหมวด 2 ประชาชน ส่วนที่ 2 สิทธิเสรีภาพของบุคคล โดยมาตราสำคัญคือ มาตรา 1/2/27 ที่กำหนดให้บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ เพศสภาพ สถานะของบุคคล หรือความคิดทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ ซึ่งถือว่ามีการบัญญัติคำว่า "เพศสภาพ" ไว้ เพื่อครอบคลุมสิทธิเสรีภาพไม่เฉพาะเจาะจงเพศกำเนิดเท่านั้น และยังมีมาตรา 1/2/214 ซึ่งบัญญัติขึ้นมาใหม่ให้สอดคล้องกับวิกฤตสังคมที่เกิดขึ้น มีเนื้อหาให้บุคคล เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเกลียดชังระหว่างคนในชาติ หรือศาสนา หรือการใช้ความรุนแรงระหว่างกัน ขณะที่เตรียมพิจารณามาตราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิสื่อ ให้มีข้อจำกัดเรื่อง Hate Speech หรือ วาทกรรมที่จะสร้างความเกลียดชังด้วย
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
15 มกราคม 2558 : กมธ.ยกร่างฯ เคาะ เห็นชอบห้ามทุนครอบงำสื่อ นักการเมืองเป็นเจ้าของไม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในช่วงเย็นของ กมธ.ยกร่างมีการพิจารณาใน ตอนที่ 3 สิทธิพลเมือง มาตรา 1/2/2)20 ว่าด้วยเสรีภาพของสื่อมวลชนในการประกอบวิชาชีพ โดยนำบทบัญญัติในมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญ 2550 มาปรับถ้อยคำ กมธ.ยกร่างฯ ได้อภิปรายขอปรับเพิ่มถ้อยคำ ประเด็น การห้ามครอบงำสื่อมวลชนให้ครอบคลุมถึงผู้ถือหุ้น อาจนำมาซึ่งการผูกขาดการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร
ที่มา : มติชน
ขณะเดียวกัน: วิษณุ ชี้แก้ม.68ให้ชัด ให้ศาลรธน.สร้างเกราะป้องแห่ฟ้อง ลั่นคสช.ก็อาจไม่พอใจร่างรธน.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย กล่าวถึงกรณี กมธ.ยกร่างฯเสนอแก้ไขมาตรา 68 ว่าด้วยเรื่องล้มล้างการปกครอง ให้ประชาชนสามารถยื่นฟ้องร้องโดยตรงได้ มีข้อกังวลว่าจะเป็นปัญหาเหมือนในอดีตว่า เรื่องนี้คงต่างจากมาตรา 68 ที่ผ่านมา แล้วตีความว่าประชาชนยื่นฟ้องได้ ทำให้ไม่แน่ใจว่าถูกหรือผิด วันนี้จึงจะเขียนให้ชัดว่าประชาชนยื่นฟ้องร้องได้ ก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องของการตีความ แต่เกรงว่าประชาชนจะยื่นฟ้องร้องกันมาก
ที่มา : มติชน
ในวันเดียวกัน: กมธ.ยกร่างฯ ผ่านบทบัญญัติคุมเข้มการชุมนุมของพลเมือง คลอด 7 เงื่อนไขห้ามชุมนุม
การประชุมผ่านการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรารวม 26 มาตรา และมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ ร่างมาตรา (1/2/2) 21 ว่าด้วยการคุ้มครองเสรีภาพพนักงานหรือลูกจ้าของเอกชนซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน โดย อนุกมธ.ฯ ได้นำบทบัญญัติของมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญ 2550 มาพิจารณาและปรับเพิ่มถ้อยคำ โดยที่ประชุมได้มีการอภิปรายและปรับแก้ไขร่างรายมาตราตามที่ อนุกมธ.ฯ เสนอมา โดยปรับเพิ่มเติมในส่วนของกรณีที่มีกฎหมายจัดตั้งองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนซึ่งประกอบด้วยบุคคลในวิชาชีพ เพื่อคุ้มครองสวัสดิการของบุคคลที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น รวมถึงพนักงาน ข้าราชการ หรือลูกจ้างของหน่วยงานรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน เพื่อให้องค์กรดังกล่าวมีหน้าที่ปกป้องเสรีภาพ ความเป็นอิสระ และส่งเสริมจริยธรรมแห่งวิชาชีพ รวมถึงพิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรมของผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งการพิจารณาคำร้องดังกล่าวนั้นเป็นถ้อยคำที่เพิ่มเติมเข้ามาตามความเห็นของ กมธ.ฯ
ที่มา : คมชัดลึก
16 มกราคม 2558: ศธ.เตรียมชงครม.เก็บภาษีเงินได้โรงเรียนกวดวิชา ผู้ช่วยเลขาฯรมต.แนะต้องลดปริมาณการติว
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่าจากการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักศธ.เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการรายความคืบหน้าการดำเนินการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการคลัง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วและยืนยันให้มีการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาทุกแห่งซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2,000 กว่าแห่งทั่วประเทศและจะแบ่งประเภทการจัดเก็บภาษีเงินได้เป็น ประเภทบุคคลธรรมดา และประเภทนิติบุคคล
ที่มา : มติชน
สนช.นัดแถลงปิดคดีถอดถอน 'ยิ่งลักษณ์' 22ม.ค.
ภายหลังจากการประชุมพิจารณาซักถามคณะกรรมาธิการต่อน.ส.ย่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ไม่เดินทางมาชี้แจงด้วยตัวเอง แต่ได้มอบหมายให้ผู้แทน 9 รายเข้าชี้แจงแทนได้อ่านคำถามครบทั้ง 35 คำถามแล้ว นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช.คนที่ 2 ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมในขณะนั้น ได้นัดประชุมสนช.ในวันที่ 22 ม.ค.เพื่อรับฟังแถลงปิดสำนวนคดีด้วยวาจาของคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายคือ ป.ป.ช.และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ
ที่มา : คมชัดลึก
รธน.ใหม่ ให้ตรวจสอบ NGO - มูลนิธิ
กมธ.ยกร่างพิจารณาในหมวดว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในประเด็นการกำหนดกลไกที่มีประสิทธิภาพของการป้องกันและตรวจสอบ และขจัดทุจริต ประพฤติมิชอบในส่วนภาครัฐและเอกชน อาทิ มาตรา (2/2)6 ที่ว่าด้วยการกำหนดให้รัฐต้องออกกฎหมายและการตรวจสอบ รายรับ รายจ่ายและการเสียภาษีของนิติบุคคลหรือผู้แทนนิติบุคคลในภาคเอกชนทั้งที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร ซึ่งหมายถึงองค์กรเอกชน, องค์กรเอ็นจีโอ, มูลนิธิ เป็นต้น เพื่อกำกับให้เกิดความเป็นธรรมาภิบาลทุกระดับ ซึ่งเป็นไปตาม มาตรา 35(3)ของรัฐธรรมูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
ที่มา : เนชั่นทีวี