ขอเสนอความคิดเห็น ดังนี้
รัฐธรรมนูญ
คำว่า “ รัฐ” หมายถึง อาณาเขต ดินแดน หรือ พื้นที่ ที่มีการปกครองแบบเดียวกัน และ เป็นอันหนึ่งเดียวกัน แบ่งแยกมิได้ รัฐที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด ก็คือ ประเทศ ดังนั้น รัฐธรรมนูญ จึงหมายถึง
แนวทางปฏิบัติสูงสุดของประชาชน ในอาณาเขต ดินแดน หรือ พื้นที่ ของรัฐ ในแต่ละรัฐ
รัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย
(1 ) กฎ (หมาย ) สูงสุด (ทฤษฎี ที่มีความถูกต้อง สูงสุด หรือที่สุด )(2 ) การใช้อำนาจสูงสุด ( อธิปไตย )
(3 ) การปกครองสูงสุด ( ประชาธิปไตย )
(4 ) ความยุติธรรมสูงสุด (ธรรมนูญ )
กฎหมายสูงสุด มิใช่ การใช้อำนาจสูงสุด มิใช่ การปกครองสูงสุด และมิใช่ ความยุติธรรมสูงสุด
ดังนั้น กฎหมาย จึงมิใช่ การใช้อำนาจ จึงมิใช่ การปกครอง จึงมิใช่ ความยุติธรรม
ดังนั้น หลักกฎหมาย จึงมิใช่ หลักการใช้อำนาจ จึงมิใช่ หลักการปกครอง จึงมิใช่ หลักความยุติธรรม
ตามหลักกฎ ( หมาย ) เราใช้กฎ(หมาย ) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อธิบายปัญหา และ ตอบปัญหา ได้ถูกต้องที่สุด
ตามหลักอำนาจ (อธิปไตย) ผู้มีหน้าที่ หรือ เจ้าหน้าที่ ใช้อำนาจอธิปไตย อันเป็นสิทธิ และ หน้าที่ เพื่อ
แก้ไขปัญหา ควบคุมปัญหา และ ป้องกันปัญหา ให้ดีที่สุด โดยใช้ข้อบังคับ
เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ( มิใช่กฎหมาย )
ตามหลักการปกครอง (ประชา + ธิปไตย) ประชาชนร่วมกันใช้ อำนาจธิปไตย เพื่อ บังคับ ควบคุม ผู้มี
หน้าที่ หรือ เจ้าหน้าที่ ให้ทำงาน อย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และ
มีประสิทธิผลสูง โดยใช้ข้อบังคับ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ( มิใช่กฎหมาย )
เมื่อผ่านหลักทั้ง 3 หลัก นี้แล้วปัญหา และ ความขัดแย้งทั้งหลาย ต้องหมดสิ้นไป หรือเหลือน้อยที่สุด แต่
ทำไมปัญหา และ ความขัดแย้งทั้งหลาย ยังอยู่ ไม่ลดลง แต่กลับเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้หลักที่4 มา
แก้ปัญหา นั่นคือ ใช้หลักความยุติธรรม เข้ามาประมวลผล เพื่อหาข้อยุติของปัญหา และ ตรวจสอบค้นหา
ความผิดพลาด ของกฎ (หมาย ) การใช้อำนาจ (อธิปไตย ) และ การปกครอง( ประชาธิปไตย ) ทั้งในส่วน
ทฤษฏี และ ปฏิบัติ
ตามหลักกฎหมาย กฎหมาย คือ กฎ ( หมาย ) กฎหมายมิใช่การปกครอง กฎหมายมิใช่การใช้อำนาจ
( อธิปไตย ) และ กฎหมายมิใช่ความยุติธรรม ดังนั้น ความยุติธรรมก็มิใช่กฎหมายเช่นกัน แล้วความ
ยุติธรรม คืออะไร ?
ความยุติธรรม คือ การยุติปัญหา ยุติความขัดแย้ง มิใช่ยุติที่กฎหมาย แต่เป็นการ นำการปกครอง นำ
กฎหมาย และ นำอำนาจ(อธิปไตย) อันเป็นสิทธิ และ หน้าที่ เข้ามาประมวลผล เพื่อหาข้อยุติของปัญหา ยุติ
ความขัดแย้ง และ ให้ความเป็นธรรม คือ สมดุล ในผลของประโยชน์ และ ผลของโทษ เช่นการลงโทษผู้
กระทำความผิด ให้สมดุลกับมูลค่า ของการกระทำความเสียหาย ที่ได้กระทำไว้ ต่อชีวิต และ ทรัพย์สินของผู้
อื่น ประดุจดั่ง ตาชั่งคาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของความยุติธรรม ตาชั่งต้องหยุดนิ่ง ไม่แกว่ง ( ปัญหายุติ
แล้ว ) และ ต้องสมดุล ไม่เอียงข้าง ( ความเป็นธรรม )
กฎหมาย จะเป็นกฎ (หมาย ) หรือ เป็นกฎหมายที่สูง ถึงสูงสุดมิได้ ถ้าไม่อยู่บนหลักพื้นฐาน ของกฎ (หมาย )
การใช้อำนาจ จะใช้อำนาจ หรือ ใช้อำนาจที่สูง ถึงสูงสุดมิได้ ถ้าไม่อยู่บนหลักพื้นฐาน ของการใช้อำนาจ
(อธิปไตย )
การปกครอง จะเป็นการปกครอง หรือ เป็นการปกครองที่สูง ถึงสูงสุดมิได้ ถ้าไม่อยู่บนหลักพื้นฐาน ของการ
ปกครอง(ประชา ธิปไตย )
ความยุติธรรม จะเป็นความยุติธรรม หรือ เป็นความยุติธรรมที่สูง ถึงสูงสุดมิได้ ถ้าไม่อยู่บนหลักพื้นฐาน
ของความยุติธรรม
ดังนั้น รัฐธรรมนูญ จะเป็นรัฐธรรมนูญมิได้ ถ้าไม่อยู่บนหลักพื้นฐาน ของกฎ (หมาย ) การใช้อำนาจ
(อธิปไตย ) การปกครอง (ประชาธิปไตย ) และ ความยุติธรรม
นอก กะลา
ขอบคุณครับ