รวมแถลงการณ์ต่อการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 53

รวมแถลงการณ์ต่อการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 53

เมื่อ 16 ก.ค. 2553
ไฟล์แนบขนาดไฟล์
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน133.18 KB
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน247.4 KB
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน345.59 KB
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน445.26 KB
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน545.62 KB
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน649.89 KB
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน743.63 KB
เครือข่ายสันติประชาธรรม136.67 KB
เครือข่ายสันติประชาธรรม226.79 KB
เครือข่ายสันติประชาธรรม329.7 KB
เครือข่ายสันติประชาธรรม428.07 KB
เครือข่ายสันติประชาธรรม535.41 KB
เครือข่ายนักเขียน ศิลปิน อิสระ40.47 KB
กลุ่ม 5 อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ.31.35 KB
กลุ่ม สมัชชาสังคมก้าวหน้า กลุ่มประกายไฟ และเครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภาคม28.21 KB
พลเมืองเน็ต27.95 KB
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน35.22 KB
กลุ่มสมาชิกวุฒิสภา 2543-254937.74 KB
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย27.11 KB
กลุ่มสันติใต้25.47 KB
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย30.37 KB
มูลนิธิยุติํธรรมเพื่อสันติภาพ32.04 KB
กลุ่มนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน27.78 KB
นักวิชาการและประชาชนใน จ.อุบลราชธานี29.56 KB
ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายจากความ รุนแรงทางการเมือง39.43 KB
มูลนิธิศักยภาพชุมชน35.96 KB
กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง27.31 KB

 

16 กรกฎาคม 2548 เป็นวันที่ “พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน” ถูกจารึกเอาไว้ในราชกิจจานุเบกษาเป็นกฎหมายเร่งด่วนที่คณะรัฐมนตรีดึงดันให้ออกมาใช้แก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดภาคใต้ ทันทีที่พ...มีผลบังคับใช้ กฎหมายฉบับนี้ก็ถูกประกาศครั้งแรกในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ และขยายเวลาต่อเนื่องกินเวลาหลายยุคสมัยรัฐบาล เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน กินเวลายาวนาน 5 ปี
 
บทเรียนของ 5 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ชัดเจนคือ การใช้พ...ฉุกเฉินฯ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการแก้ปัญหาความรุนแรงได้เลย
 
สำหรับกรุงเทพฯ สถานการณ์เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553 ถือเป็นครั้งแรกที่พื้นที่เมืองหลวงและหลายจังหวัดใกล้เคียงถูกประกาศว่าอยู่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงต่อเนื่องยาวนานที่สุด คือเริ่มประกาศตั้งแต่วันที่ 7 เม.. 53 และขยายเวลาต่อเนื่องจนรวมได้มากกว่า 3 เดือนแล้ว ในช่วงของการประกาศ มีทั้งคนตาย คนเจ็บ คนหาย มีประชาชนธรรมดาถูกเรียกเข้าค่ายทหาร ถูกจับกุม มีการเคอร์ฟิวยาวนานที่สุดในรอบสิบแปดปีที่ผ่านมา ย่อมไม่มีคนที่เชื่อในสันติวิธีและแนวทางประชาธิปไตยคนไหน ที่สนับสนุนว่าการใช้พระราชกำหนดเช่นนี้จะเป็นทางออกที่ถูกต้อง
 
หลากองค์กรภาคประชาชน ได้ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนต่อพ...ฉุกเฉิน ทีมงาน iLaw เห็นว่า สิ่งนี้เป็นบันทึกประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งที่น่าสนใจ ที่บอกได้ทั้งเรื่องราว และจุดยืนท่าทีของแต่ละเครือข่าย แม้สิ่งเหล่านี้จะไม่ได้รับความสนใจจากกระแสสังคมและรัฐบาลมากนัก แต่เนื้อหาประกอบแถลงการณ์จะเป็นอีกรูปแบบของบันทึกช่วยจำเหตุการณ์ ซึ่งอาจจะกำลังค่อยๆ เลื่อนลางไปในความทรงจำของคน "ไทย"
 
 
 
 

 

 
รวมแถลงการณ์ต่อการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง

 

ตั้งแต่เมษายน 53 - ปัจจุบัน
 
 
แถลงการณ์ที่นำโดยเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
 
แถลงการณ์ฉบับแรก เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553 บันทึกไว้ว่า เหตุการณ์ที่คนเสื้อแดงบางส่วนบุกเข้าไปในรัฐสภาเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 กลายเป็นเหตุให้รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และใช้อำนาจนั้นปิดสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล เว็บไซต์ประชาไท และเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน
 
ในแถลงการณ์นี้แสดงจุดยืนว่า ขอให้รัฐบาลยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทันที เพราะเหตุที่รัฐสภาไม่ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ยังสามารถใช้กฎหมายอาญาดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้อยู่แล้ว แต่การใช้พ...ฉุกเฉินกลับทำลายหลักการประชาธิปไตย ละเมิดเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น และไม่นำไปสู่การคลี่คลายสถานการณ์ให้ดีขึ้น
 
แถลงการณ์ฉบับที่สอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553 เรื่องให้รัฐบาลคุ้มครองสิทธิพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม ต่อผู้ที่ถูกควบคุมตัวตามพ...ฉุกเฉินฯ คือ รัฐบาลต้องเปิดเผยสถานที่ควบคุมตัวบุคคล เป็นการควบคุมตัวในสถานที่เปิดเผยซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ และต้องไม่เป็นการควบคุมตัวโดยปราศจากการติดต่อกับโลกภายนอก ผู้ถูกควบคุมตัวต้องมีสิทธิได้พบญาติ พบทนายความ และสิทธิในการคัดค้านการควบคุมตัว
 
ทั้งนี้เพราะเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 นายเมธี อมรวุฒิกุล ดารานักแสดงซึ่งเคยขึ้นเวทีนปช. ถูกทหารจับตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปสอบสวนที่เซฟเฮ้าส์ ซึ่งไม่ชอบธรรมเพราะแม้แต่ตามพ...ฉุกเฉินยังกำหนดไว้ว่าการคุมตัวต้องเกิดขึ้นในสถานที่ที่กำหนด ไม่ใช่ที่ลับ ทั้งยังไม่ปรากฏว่านายเมธีได้มีโอกาสพบญาติและทนายแต่อย่างใด
 
แถลงการณ์ฉบับที่สาม ออกเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 เรื่อง คัดค้านข้อเสนอของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่สนับสนุนให้รัฐบาลประกาศใช้กฎอัยการศึกเพื่อจัดการการชุมนุมของนปช. เพราะกฎอัยการศึกให้อำนาจกองทัพในการจัดการบ้านเมืองโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี เรื่องนี้ถือว่าขัดต่อหลักปกครองในระบอบประชาธิปไตย สร้างปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความรุนแรง ทั้งยังเป็นกฎหมายที่มีจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอย่างมาก
 
แถลงการณ์ฉบับที่สี่ ออกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 หลังจากสถานการณ์กดดันการชุมนุม โดยกองกำลังทหารติดอาวุธสงครามและกระสุนจริงเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2553 มีมาตรการปิดล้อมพื้นที่การชุมนุม ตัดน้ำไฟ จำกัดการเดินทาง ถัดจากนั้น ในคืนวันที่ 13 พฤษภาคม ก็เกิดเหตุลอบยิงพล.ตรี.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ตามมาด้วยการปะทะระหว่างทหารและผู้ชุมนุมที่หน้าสวนลุมพินี และต่อเนื่องไปยังพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ จากเหตุการณ์นั้น ปรากฏพลเรือนผู้เสียชีวิตจากการถูกยิงที่ลำตัว หน้าอก ศีรษะ 33 ราย บาดเจ็บมากกว่า 230 คน
 
ในแถลงการณ์ระบุว่า การใช้กำลังพลและอาวุธสงครามร้ายแรงต่อพลเรือนที่ปราศจากอาวุธ เป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ สถานการณ์มีแต่แนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้น และน่ากังวลว่าจะลุกลามกลายเป็นสงครามกลางเมืองทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ทั้งหมดนี้ชี้ว่าเจตนาของรัฐบาลที่จะคืนความเป็นปกติสุขแก่บ้านเมืองด้วยการใช้กองกำลังทหารและใช้อาวุธเพื่อยุติการชุมนุมนั้น ไม่เป็นผล
 
ข้อเสนอของแถลงการณ์ฉบับนี้ เสนอว่าให้ยุติการใช้กองกำลังทหารและอาวุธ เน้นการเจรจา และให้ทุกฝ่ายยุติการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงหรือตอบโต้ด้วยความรุนแรง และเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสอบข้อเท็จจริง
 
แถลงการณ์ฉบับที่ห้า ออกเมื่อ 20 พฤษภาคม 2553 แสดงความขอบคุณต่อแกนนำที่ประกาศยุติการชุมนุมเพื่อความปลอดภัยของประชาชน ยืนยันว่าทุกคนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในเหตุครั้งนี้ ต้องถือว่าเป็นคดีการเมือง และต้องได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอย่างเต็มที่ และเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แสดงความรับผิดชอบต่อการสูญเสีย และทำความจริงให้ปรากฏ
 
แถลงการณ์ฉบับที่หก ออกเมื่อ 11 มิถุนายน 2553 เรื่องขอให้รัฐบาลปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และนักโทษการเมืองทุกคนที่ถูกควบคุมตัวตามพ...ฉุกเฉินฯ ซึ่งสืบเนื่องมาจากการควบคุมตัวนายสมยศตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม แถลงการณ์แสดงจุดยืนว่า การควบคุมตัวบุคคลที่แสดงความคิดความเชื่อที่แตกต่างโดยที่มิได้ใช้ความรุนแรง เป็นการกระทำที่มิชอบ จึงเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่ไม่มีข้อหาความผิดทางอาญา และให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คืนเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น
 
แถลงการณ์ฉบับที่เจ็ด ออกเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2553 สนับสนุนให้มีการนิรโทษกรรมผู้เข้าร่วมชุมนุมที่ถูกคุมตัวตามพ...ฉุกเฉินฯ และขอให้ยกเลิกประกาศพ...ฉุกเฉินโดยทันที
 
 
 
แถลงการณ์ในนามเครือข่ายสันติประชาธรรม
 
ตั้งแต่ก่อนประกาศพ...ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ ทางเครือข่ายสันติประชาธรรม ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2553 ว่าให้รัฐบาลยุติการใช้พ...ความมั่นคงและยุติการใช้สื่อของรัฐสร้างความเกลียดชังแก่ผู้ชุมนุม และยื่นข้อเรียกร้องให้ยุบสภาภายใน 3 เดือน ในวันถัดมา รัฐบาลก็ประกาศพ...ฉุกเฉิน และเมื่อวันที่ 8 เมษายน เครือข่ายสันติประชาธรรมย้ำว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแสดงถึงการที่รัฐบาลมีความอดกลั้นต่อผู้ชุมนุมน้อยลงจนอาจนำไปสู่การปราบการชุมนุม จึงเรียกร้องให้รัฐบาลละเว้นการใช้กำลังและเครื่องมือต่างๆ เพื่อสลายหรือปราบการชุมนุม และทั้งสองฝ่ายต้องกลับสู่โต๊ะเจรจาโดยเร็ว และต้องยุติการปิดสื่อ เพราะเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ
 
หลังจากนั้น วันที่ 22 เมษายนทางเครือข่ายฯ ออกแถลงการณ์ให้ถอดสลักความรุนแรง ให้รัฐบาลยกเลิกประกาศพ...ฉุกเฉินฯ และให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน เพื่อศึกษาและทำข้อเสนอต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดช่องว่างระหว่างรายได้
 
วันที่ 9 พฤษภาคม เครือข่ายสันติประชาธรรมออกแถลงการณ์อีกฉบับ ให้มีการยุติประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ยุติการปิดกั้นข่าวสาร ยุติการชุมนุมและแกนนำมอบตัว และเสนอข้อเสนอให้ทุกฝ่ายประนีประนอมและยุบสภาภายใน 5 เดือน เพื่อยุติความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น
 
วันที่ 14 พฤษภาคมในแถลงการณ์ของเครือข่ายสันติประชาธรรมระบุถึงความตึงเครียดของการชุมนุม การประนีประนอมดูท่าว่าจะล้มเหลว ภาพพจน์ของนปช.ย่อยยับในพื้นที่สื่อกระแสหลัก การตายของผู้คนจากเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนไม่มีความหมายอะไร โดยเฉพาะเมื่อเพ่งมองผ่านการรายงานของสื่อมวลชน อีกทั้งสื่อมองไม่เห็นและไม่เข้าใจความเจ็บแค้นของคนเสื้อแดงที่ไม่พอใจเมื่อแกนนำประกาศรับแผนปรองดองของรัฐบาล และเมื่อผู้ชุมนุมสูญเสียความชอบธรรมในสายตาของมวลชน นายกฯ อภิสิทธิ์ก็บิดพริ้วข้อตกลงที่จะยุบสภาวันที่ 14 พฤศจิกายนได้โดยทันที
 
แถลงการณ์ฉบับดังกล่าว ยื่นข้อเรียกร้องว่า ทุกฝ่ายจะต้องยึดมั่นแนวทางที่จะรักษาชีวิตของผู้ชุมนุมให้ได้ และรัฐบาลต้องยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อเป็นหลักประกันว่า แกนนำและมวลชนจะได้รับการปฏิบัติทางกฎหมายตามวิถีทางประชาธิปไตย
 
 
แถลงการณ์อื่นๆ
 
เครือข่ายนักเขียนและศิลปินอิสระ อ่านประกาศเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 เรื่อง คนต้องเท่ากัน เพื่อคัดค้านการประกาศใช้ พ...ความมั่นคง และ พ...ฉุกเฉิน และการปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร โดยเรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ตระหนักถึงความไม่ถูกต้องของการใช้อำนาจกฎหมายมากดขี่สิทธิเสรีภาพของผู้คน
 
กลุ่มห้าอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2553 ทันทีหลังรัฐบาลประกาศพ...ฉุกเฉิน เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข เพราะการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในวงกว้าง อีกทั้งการชุมนุมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน หากรัฐบาลเห็นว่าการกระทำใดของผู้ชุมนุมมีความผิดตามกฎหมายใด ก็สามารถบังคับใช้กฎหมายนั้นเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดได้ ไม่ได้มีเหตุจำเป็นที่รัฐบาลต้องถือเอาสถานการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดงมาประกาศว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน และเมื่อประกาศแล้ว มาตรา 16 ของกฎหมายฉบับนี้ยังกำหนดว่าข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง ภายใต้พ...ฉุกเฉินฯ ไม่อยู่ในความควบคุมของศาลปกครอง เท่ากับว่าภายใต้พ...ฉุกเฉิน ประชาชนไม่ได้รับการประกันสิทธิเสรีภาพโดยองค์กรตุลากรเพียงพอ
 
กลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้า กลุ่มประกายไฟ และเครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภาคม ร่วมกันออกแถลงการณ์ประณามการประกาศพ...ฉุกเฉิน เพราะกฎหมายนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่สามารถแก้ปัญหาทางการเมืองได้ และย้ำด้วยว่ารัฐบาลสามารถใช้กฎหมายทั้งแพ่งและอาญาที่มีอยู่แล้วจัดการปัญหาต่างๆ ได้ ทั้งนี้การอ้างว่าความรุนแรงเกิดจากการกระทำของกลุ่มนปช. เป็นข้อกล่าวหาที่ขาดหลักฐาน รัฐบาลควรทำหน้าที่ดูแลหาทางแก้ไข ไม่ใช่เร่งโยนความผิดว่าเป็นของฝ่ายตรงข้ามโดยยังไม่มีการสืบสวนสอบสวน
 
เครือข่ายพลเมืองเน็ต ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2553 ว่าจากการประกาศพ...ฉุกเฉิน นำไปสู่การปิดกั้นเว็บไซต์ทางการเมือง ซึ่งพลเมืองเน็ตเห็นว่า การปิดกั้นข่าวสารขัดต่อหลักประชาธิปไตย และยิ่งยั่วยุให้เกิดแรงต้าน จึงขอเรียกร้องให้รัฐยกเลิกการปิดกั้นการสื่อสาร
 
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน และองค์กรภาคี ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2553 ว่าแม้มาตรการทหารและกำลังพลติดอาวุธ จะไม่ได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตประชาชน แต่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจะส่งผลให้ภาพลักษณ์ของประเทศเลวร้ายและสูญเสียโอกาสในการฟื้นฟูประเทศ จึงขอให้รัฐบาลยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินโดยเร็ว
 
นอกจากนี้ ในแถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า ขอบคุณแกนนำบางส่วนที่ยุติการชุมนุม ขอบคุณรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ทหารที่ควบคุมสถานการณ์จนไม่มีผู้เสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ สนับสนุนนายกรัฐมนตรีที่แสดงความเป็นผู้นำในการแก้วิกฤตด้วยการใช้อำนาจของพลเรือนกำกับดูแลการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหาร และสนับสนุนให้มุ่งแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย ส่งเสริมให้รัฐบาลตรวจสอบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บกพร่อง อีกทั้งชื่นชมสื่อมวลชนและบุคลากรทางแพทย์ที่ทำงานเสี่ยงอันตรายเพื่อประชาชน
 
กลุ่มสมาชิกวุฒิสภา 2543-2549 ซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2549 ให้ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินและการใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐทันที เพราะถือว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และให้ยกเลิกการปิดกั้นสื่อทุกประเภท ทั้งขอเรียกร้องให้สถาบันสื่อเปิดให้ทุกฝายที่เกี่ยวข้องมีโอกาสเสมอหน้ากันในการนำเสนอข่าวสาร มิใช่มีเพียงฝ่ายรัฐบาลดังที่ได้กระทำไป กลุ่มอดีตส..ยังย้ำว่า การชุมนุมของคนเสื้อแดงเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2540
 
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2553 สืบเนื่องจากที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เรียกนักศึกษาเข้าไปรายงานตัวที่กรมทหารราบที่ 11 โดยมิได้แจ้งข้อหาที่แน่ชัด ซึ่งถือเป็นการคุกคามของรัฐทหารที่กระทำต่อประชาชนที่มีจุดยืนใกล้เคียงกับคนเสื้อแดงและคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐทหาร โดยใช้วิธีการออกหมายเรียกบุคคลจำนวนมาก รวมทั้งการเผยแพร่ผังเครือข่ายล้มเจ้า
 
สนนท.จึงเรียกร้องให้รัฐบาลมีความโปร่งใสในการปฏิบัติต่อประชาชน และขอให้ยกเลิกการประกาศใช้พ...ฉุกเฉินฯ เพื่อคุกคามสิทธิเสรีภาพ
 
กลุ่มสันติใต้ ซึ่งนำโดยสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้และนักวิชาการ ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เรื่อง รัฐบาลอภิสิทธิ์หมดความชอบธรรมแล้วโดยสิ้นเชิง โดยระบุว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้แนวทางอำนาจนิยม ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมจนประชาชนบาดเจ็บและเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง จึงเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการสลายการชุมนุม และยกเลิกพ...ฉุกเฉินทันทีในทุกพื้นที่ และต้องยุติการบิดเบือนและปิดกั้นข่าวสาร และเสนอให้ประกาศยุบสภาโดยทันที
 
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (TWFT) ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ประณามการล้อมปราบของรัฐบาล เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และให้ยกเลิกพ...ฉุกเฉินฯ หยุดปิดสื่อทุกแขนง
 
คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 ว่า ขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักการด้านสิทธิมนุษยชน และให้รัฐยกเลิกการประกาศใช้พ...ฉุกเฉิน และขอให้ผู้ชุมนุมยุติการใช้อาวุธ เพื่อลดเงื่อนไขอันนำไปสู่การใช้ความรุนแรง
 
กลุ่มนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ออกจดหมายเปิดผนึก ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2553 ชี้ให้เห็นปัญหาว่า หลังจากการประกาศ พ...ฉุกเฉินฯ แล้ว ศอฉ.ได้ออกหมายจับบุคคลจำนวนมาก แต่ไม่เปิดเผยรายชื่อของผู้ที่ถูกจับและสถานที่ควบคุมตัว ซึ่งลักษณะนี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนแก่ผู้ถูกจับและญาติมิตรที่ไม่อาจทราบสภาพความเป็นอยู่ จึงเรียกร้องให้มีการประกาศชื่อและสถานที่ควบคุมตัว เพื่อให้ญาติและทนายสามารถติดต่อได้ทันที
 
นักวิชาการและประชาชนใน จ.อุบลราชธานี ร่วมกันออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2553 ให้ยกเลิก พ...ฉุกเฉิน โดยระบุว่า สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว การคง พ...สร้างความอึดอัดคับข้องใจกับประชาชน ส่วนการแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับรัฐบาล ก็สมควรเป็นสิ่งที่ทำได้ตามปกติในระบอบประชาธิปไตย แต่การใช้ พ...ฉุกเฉินเท่ากับการยกเลิกรัฐธรรมนูญ  
 
วันที่ 4 กรกฎาคม 2553 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายจากความรุนแรงทางการเมือง (ศรส.) และองค์กรภาคี ออกจดหมายเปิดผนึกคัดค้านการขยายเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อันเป็นการต่อเวลาหลังจากที่ประกาศใช้มาแล้ว 3 เดือน ในฐานะสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างความปรองดองและความร่วมมือเพื่อสันติภาพ
มูลนิธิศักยภาพชุมชน ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2553 เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และให้ปล่อยตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์
 
กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2553 ให้รัฐบาลยกเลิกพ...ฉุกเฉินฯ ในทุกจังหวัด เพราะพ...จะทำให้ยิ่งสร้างความแตกแยก และสะท้อนว่าระบบยุติธรรมปกติ ไม่สามารถทำงานได้ และขอให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมจากการแสดงออกทางการเมือง
 
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยกเลิกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เรียกร้องให้กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเดินไปอย่างรวดเร็ว และให้มีการปฏิรูปประเทศไทย เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการปฏิรูปอย่างแท้จริง
 
 
 
ที่มาภาพ : philippeleroyer
หมายเหตุ : หากท่านใดมีแถลงการณ์เพิ่มเติม ส่งมาได้ที่ [email protected]

 

ประเภทเรื่องน่าสนใจ:

Comments

cocomi99's picture
รัฐบาลจะปรองดองภายใต้พรก.ฉุกเฉินไม่ได้หรอก