ช่วงสองปีกว่าของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีกฎหมายเก่าถูกแก้ไขและกฎหมายใหม่ถูกประกาศใช้เป็นจำนวนมาก หลายฉบับก็พอคุ้นหู หลายฉบับชื่อก็แปลกๆ ไม่รู้จะกระทบต่อเราอย่างไรบ้าง บางฉบับกว่าจะรู้อีกทีก็บังคับใช้ส่งผลกระทบกับตัวเราไปแล้ว
ร่างกฎหมายใหม่ทั้งหลายมีช่องทางในการติดตามทางเว็บไซต์ แต่ดูช่องทางจะน้อยเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนร่างกฎหมายที่ออกมาจำนวนมาก และร่างกฎหมายส่วนใหญ่กว่าจะรู้ว่ามีร่างกฎหมายอะไรบ้าง หรือเนื้อหาเป็นอย่างไร ก็เกือบจะปลายทางของการออกกฎหมายแล้ว แต่การมีช่องทางอย่างจำกัดก็ยังดีกว่าไม่มี เราจะมาแนะนำช่องทางในการค้นหาและติดตามร่างกฎหมายจากเว็บไซต์ต่างๆ ในยุค คสช.
เว็บไซต์สนช. www.senate.go.th
www.senate.go.th เป็นเว็บดั้งเดิมของวุฒิสภาที่ปัจจุบันทำหน้าที่ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คือเว็บไซต์ที่สำคัญที่สุดของการติดตามร่างกฎหมาย เพราะร่างกฎหมายที่จะประกาศใช้แทบทุกฉบับจะต้องผ่านความเห็นชอบจากสนช. เว็บไซต์นี้จะเผยแพร่วาระการประชุมในแต่ละสัปดาห์ของ สนช. ว่าจะมีการประชุมพิจารณาร่างกฎหมายอะไรบ้าง พร้อมแนบร่างกฎหมายนั้นๆ ลงไปด้วย นอกจากนี้หลังการประชุมก็จะมีบันทึกการประชุมเพื่อให้ติดตามว่าสมาชิกแต่ละคนอภิปรายร่างกฎหมายต่างๆ ว่าอย่างไร
สนใจร่างฉบับไหนก็คลิกเข้าไปดูเลย
เว็บไซต์ กรธ. http://cdc.parliament.go.th/
อีกเว็บไซต์ที่สำคัญคือ เว็บไซต์ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) หรือ
http://cdc.parliament.go.th/ เพราะหลังจากร่างรัฐธรรมนูญผ่านการออกเสียงประชามติ กรธ.มีหน้าที่สำคัญคือการออกแบบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ฉบับใหม่ ซึ่งเมื่อเราเข้าหน้าแรกของเว็บกรธ.ตามลิงค์ที่บอกไปตอนต้นแล้ว
เว็บไซต์สปท. www.parliament.go.th
เว็บไซต์สุดท้ายที่จะแนะนำคือ เว็บไซต์ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ (สปท.) หรือ
www.parliament.go.th เว็บไซต์นี้จะมีข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอการปฏิรูปประเทศของ สปท. และในบางข้อเสนอการปฏิรูป จะมีร่าง พ.ร.บ.ควบคู่มาด้วย
เจอเอกสารที่ตามหาแล้วก็คลิกเข้าไปดูเลย