เวทีสาธารณะเรื่อง การกำกับดูแลกันเอง จริยธรรมสื่อ และความท้าทายใหม่ในภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป

 
เวทีสาธารณะเรื่อง การกำกับดูแลกันเอง จริยธรรมสื่อ และความท้าทายใหม่ในภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป
15 ธันวาคม 2559 เวลา 9.00-12.30 น.
โรงแรมอวานี่ เอเทรี่ยม บางกอก (AVANI Atrium Bangkok Hotel) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
 
สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือซีป้า ขอเรียนเชิญสือมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมเวทีสาธารณะเรื่อง การกำกับดูแลกันเอง จริยธรรมสื่อ และความท้าทายใหม่ในภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป (Challenges to Self-Regulatory Bodies and Media Ethics in a Changing Media)
 
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งที่ตกอยู่ในวังวนของภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของสื่อใหม่ (new media) ที่ทำให้การแข่งขันในธุรกิจสื่อเปลี่ยนไป ทั้งแง่เนือหา รูปแบบการนำเสนอ และพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารของประชาชนทีเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับสารมาเป็นผู้ผลิตที่ทั้งส่งสารและวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลในเวลาเดียวกัน
 
ปรากฏการณ์ข้างต้น ในด้านหนึ่งก่อให้เกิดความท้าทายถึงจริยธรรมและความเชื่อมั่นในสื่อกระแสหลักในฐานะผู้ส่งสารหลักหรือผู้รักษาประตู (gate keeper) ที่ถูกลดทอนความสำคัญลงไป ดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นในไทยและฟิลิปปินส์ อีกด้านหนึ่งก็กระตุ้นให้รัฐต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พยายามกำกับดูแลและควบคุมสื่อใหม่มากยิ่่่่งขึ้น แม้การเปลียนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นควบคู่กับโอกาสที่ประชาชนในบางประเทศสามารถเข้าถึงและใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อแสดงจุดยืนและระดมความเห็น แต่กลับปรากฏว่าพัฒนาการประชาธิปไตยในหลายประเทศเสื่อมถอยลง เสรีภาพสือถูกคุกคามมากขึ้น กลไกการความคุมจริยธรรมและวิชาชีพกันเองของสื่อกระแสหลักที่มีอยู่ ยังไม่สามารถทำหน้าที่ในกำกับดูแลและตรวจสอบการทำหน้าที่ของสื่อได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
 
สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันมี 5 ประเทศที่มีสภาวิชาชีพสื่อ อันได้แก่ อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย และล่าสุดที่เพิ่งตั้งขึ้นในปีนี้ คือประเทศติมอร์ เลสเต อย่างไรก็ตาม สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงอาเซียน (ASEAN) ไม่มีนโยบายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนให้สอดรับการรวมตัวเป็นประชาคม
 
ความท้าทายดังกล่าวมาข้างต้นจึงเป็นที่มาของโจทย์ที่ว่า สื่อมวลชนและสมาคมวิชาชีพสื่อต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะปรับตัวอย่างไรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ จริยธรรมสื่อ และรักษาบรรยากาศในการแสดงความคิดเห็น
 
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์สื่อในภูมิภาค และรับทราบปัญหาและความท้าทายของกลไก การกำกับดูแลกันเอง เช่น สภาการหนังสือพิมพ์ ในการส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อ
2. เพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาและรับมือกับความท้าทายดังกล่าวข้างต้น
 
วิทยากร:
- เวอร์ฮีลลีโอ ดาซิลวา กูเทเรส ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งติมอร์ เลสเต
- เมลินดา คินโทส เดเฮสุส ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อเสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ ประเทศฟิลิปปินส์
- ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ประเทศไทย
- สภาวิชาชีพสื่อในประเทศอินโดนีเซีย (รอการยืนยัน)
- สภาวิชาชีพสื่อในประเทศเมียนมาร์ (รอการยืนยัน)
 
(มีล่ามแปลภาษาไทย)