งานสัมมนาวิชาการ " มรดกทางภูมิปัญญาของชาติ: บทเรียนจากเพื่อนบ้าน "

ศมส.ขอเชิญร่วมงานสัมนาวิชาการ
" มรดกทางภูมิปัญญาของชาติ: บทเรียนจากเพื่อนบ้าน "
 
ปาฐกถาพิเศษ โดย ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า ก่ออนันตกูล
 
ในหัวข้อ " อุดมคติ ช่องว่าง และหลุมพรางใน 2003 Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage "
 
:: หัวข้อเสวนา ::
- " มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้: บทเรียนจากเพื่อนบ้าน "
- " มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ: มุมมองของผู้ปฏิบัติ "
- " มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม: ทางออกและข้อเสนอแนะ "
 
*****************************************
 
ศมส.ในฐานะองค์กรทางวิชาการทางด้านมานุษยวิทยา ได้ตระหนักถึงมิติที่หลากหลายของ #งานด้านมรดกวัฒนธรรม ทั้งที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนเจ้าของวัฒนธรรม และที่ชวนตั้งคำถามกับบทบาทของหลายภาคส่วนในการจัดการมรดกวัฒนธรรมดังกล่าว
 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 (2003 Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ขององค์การยูเนสโก
 
ด้วยเหตุนี้ จึงเริ่มดำเนินงานด้านมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้มาอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย การจัดอบรมโรงเรียนภาคสนาม ซึ่งเป็นการอบรมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยมรดกวัฒนธรรมขององค์กรยูเนสโก แนวทางการดำเนินงานและข้อปัญหาต่างๆ ที่ควรคำนึงถึง รวมถึงการฝึกหัดดำเนินโครงการร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูนและจังหวัดสุรินทร์ การดำเนินงานระหว่าง พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2556อยู่ในความดูแลของ ดร.อเล็กซานดรา เดนิส (Dr. Alexandra Denes) โครงการดังกล่าวนี้ได้รับความสนใจจากภัณฑารักษ์ นักจัดการมรดกวัฒนธรรม นักปฏิบัติการทางวัฒนธรรม รวมทั้งผู้ที่ให้ความสนใจจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
ในระยะต่อมา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ให้ความสนใจกับงานมรดกวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายประเทศในภูมิภาคให้การรับรองสัตยาบันอนุสัญญาฯ และวางมาตรการต่างๆ ของหน่วยงานรัฐบาลเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ นั้น อย่างไรก็ดี วิธีคิดและกระบวนการทำงานเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมของหน่วยงานรัฐก็ดี สถาบันทางวิชาการก็ดี และชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมก็ดีต่างมีความสอดคล้องกันบ้าง มีความขัดแย้งกันบ้าง
 
ศมส.และองค์กรทางวิชาการต่างๆ เล็งเห็นความสำคัญที่จะคัดสรรบทความของนักวิชาการที่มีความสนใจในงานด้านมรดกวัฒนธรรม ที่ศึกษาตลอดจนตั้งข้อสงสัยต่อการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมดังกล่าว 
 
โดยการรวบรวมบทความในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่เอกสารทางวิชาการในรูปแบบหนังสือชื่อ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน” ซึ่งจะแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2560
 
และจัดงานสัมนาวิชาการในวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2560เพื่อให้เห็นภาพของการตั้งคำถามต่องาน ICH มากขึ้น
 
******************************************************
 
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2560
เวลา 8.30 - 17.00 น.
ณ หอประชุม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)
 
ลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าผ่าน www.sac.or.th
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-880-9429 ต่อ 3810,3834 , inbox เพจเฟซบุ๊ก SAC - Bank of Anthropological Data