กระบวนการยุติธรรม กับ หลักความยุติธรรม

กระบวนการยุติธรรม กับ หลักความยุติธรรม

vxdpass5 เมื่อ 3 ก.ย. 2560

 ขอเสนอความคิดเห็น                                                        

                                                                                                    หลักความยุติธรรม

     

ยุติธรรม มาจาก ยุติ + ธรรม คำว่ายุติ หมายถึงยุติ หยุด  และคำว่าธรรม  หมายถึ  ความ  สมดุล  

         ความพอเพียง  พอดี  ไม่มากไป  ไม่น้อยไป  กลางๆ

 

ดังนั้น   ความยุติธรรม จึงหมายถึง  การยุติปัญหา   ยุติความขัดแย้ง   มิใช่ยุติที่กฎหมาย   มิใช่

        ยุติที่การใช้อำนาจ  มิใช่ยุติที่การปกครอง   แต่เป็นการนำกฎหมาย   นำอำนาจ(อธิปไตย)

        อันเป็นสิทธิ และหน้าที่ และนำการปกครอง( ประชาธิปไตย ) เข้ามาประมวลผล เพื่อหาข้อ

        ยุติของปัญหา ยุติความขัดแย้ง และให้ความเป็นธรรม  คือสมดุลย์  ในผลของประโยชน์

        และผลของโทษ ของการกระทำ  เช่นการลงโทษผู้กระทำความผิด  ให้สมดุลกับมูลค่า 

       ของการกระทำความเสียหาย ที่ได้กระทำไว้ต่อชีวิต และทรัพย์สินของผู้อื่น ประดุจดั่งตาชั่งคาน

       ซึ่งเป็น  สัญลักษณ์ ของความยุติธรรม ตาชั่งต้องหยุดนิ่งไม่แกว่ง(ปัญหายุติแล้ว)

       และ ต้องสมดุลย์ ไม่เอียงข้าง(ความเป็นธรรม)

 

กฎหมาย คือกฎ(หมาย)   กฎ(หมาย)มิใช่การใช้อำนาจ   กฎ(หมาย)มิใช่การปกครอง   

และ    กฎ(หมาย)มิใช่ความยุติธรรม     


                                        
ตามหลักกฎ(หมาย เราใช้กฎ(หมาย) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อธิบายปัญหา และตอบปัญหาได้ถูกต้องที่สุด

 

ตามหลักอำนาจ(อธิปไตย) ผู้มีหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่ ใช้อำนาจอธิปไตย อันเป็นสิทธิ และหน้าที่  

                   เพื่อแก้ไขปัญหา ควบคุมปัญหา  และป้องกันปัญหา   ให้ดีที่สุด 

ตามหลักการปกครอง(ประชา+ธิปไตย) ประชาชนร่วมกัน ใช้อำนาจธิปไตย เพื่อบังคับควบคุม  ผู้มี

            หน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ ให้ทำงานอย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลสูงสุด

   

เมื่อผ่านหลักทั้ง 3 หลักนี้แล้วปัญหา และความขัดแย้งทั้งหลาย ต้องหมดสิ้นไป หรือเหลือน้อยที่สุด แต่ทำไมปัญหา และความขัดแย้งทั้งหลาย ยังอยู่ ไม่ลดลง แต่กลับเพิ่มมากขึ้น

 

จึงจำเป็นต้องใช้หลักที่4  มาแก้ปัญหา

นั่นคือ ใช้หลักความยุติธรรม เข้ามาประมวลผล เพื่อยุติปัญหาและยุติความขัดแย้ง โดยตรวจสอบ    

        ค้นหาความผิดพลาด  ของกฎ(หมาย) การใช้อำนาจ(อธิปไตย)อันเป็นสิทธิ และหน้าที่

         และการปกครอง(ประชาธิปไตย)ทั้งในส่วนของทฤษฏี และปฏิบัติ 

 

ความผิดพลาด  เกิดจากทฤษฏีที่ผิด  ประกอบด้วย

 

 (1) กฎหมาย ผิดหรือขัดต่อ หลักกฎ(หมาย)  ได้แก่ 

 
             1 มีเนื้อหาสารประโยชน์  อันเป็นเท็จ  ไม่มีที่มาที่ไป

             2 พิสูจน์มิได้ ขาดความชัดเจน  จนต้องตีความ

             3 ไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน                          

             4 มีเหตุผลที่ดีกว่า  ถูกต้องมากกว่า  มาหักล้างได้  
                        

(2)ข้อบังคับการใช้อำนาจ ผิดหรือขัดต่อ หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน(ชาวไทย) ได้แก่
                                                                        

        1 ไม่มีผู้ทำหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่ ในการแก้ไขปัญหา ควบคุมปัญหา และป้องกันปัญหา 

        2 ให้อำนาจอธิปไตยอันเป็นสิทธิ  และหน้าที่ จนเกินขอบเขต เกินเลย  จนเกิดปัญหา

             สร้าวความเดือดร้อน รำคาญ หรือเสียหาย ต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของผู้อื่น

        3 ละเว้น ละเลย เพิกเฉย ไม่ใช้อำนาจอธิปไตยอันเป็นสิทธิ และหน้าที่ จนเกิดปัญหา

                        สร้าวความเดือดร้อน รำคาญ หรือเสียหาย ต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของผู้อื่น

 
                           
(3)ข้อบังคับการปกครอง ผิดหรือขัดต่อ หลักการปกครอง(ประชาธิปไตย) ได้แก่ 


            1 ผู้ทำหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่ มิได้มาจากประชาชน และมิได้ใช้กรรมวิธีประชาธิปไตย 

                ในการคัดเลือก  จึงด้อยความรู้ และขาดความสามารถ เกิดความขัดแย้ง

            2 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่   มิได้ใช้กรรมวิธีประชาธิปไตย  ในการปฏิบัติ 

                หน้าที่ จนเกิดปัญหา เกิดความขัดแย้ง 

            3 การบังคับควบคุม กำกับติดตาม การทำงานของเจ้าหน้าที่ มิได้ใช้กรรมวิธี

               ประชาธิปไตย ทำให้ขาดคุณภาพ และขาดประสิทธิภาพ  เกิดความขัดแย้ง

            4 การตรวจสอบ  และประเมินผลงาน มิได้มาจากประชาชน และ มิได้ใช้กรรมวิธี

                ประชาธิปไตย ในการตรวจสอบ และประเมินผลงาน เกิดความขัดแย้ง

            5 การให้คุณ และให้โทษ กับเจ้าหน้าที่  มิได้ใช้ อำนาจธิปไตย ในการให้คุณ

                และให้โทษกับเจ้าหน้าที่  เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับ   เกิดความขัดแย้ง

 

ความผิดพลาดเกิดจากการปฏิบัติที่ผิด  ประกอบด้วย


                  1 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ที่ถูกต้อง ตามหลักกฎ(หมาย)

                  2 ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ ในการใช้อำนาจ  ที่ถูกต้อง

                     ตามหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน(ชาวไทย)  

                    3 ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ ในการปกครอง ที่ถูกต้อง

                     ตามหลักการปกครอง(ประชาธิปไตย )    



ความเป็นธรรม คือ ความสมดุล ความพอเพียง ในผลของประโยชน์ และผลของโทษ  ในการกระทำ

                การลงโทษผู้กระทำความผิด  ต้องสมดุลกับมูลค่า  ในการกระทำความเสียหาย 

                ที่ประเมินได้ ตามหลักความยุติธรรม ที่ได้กระทำไว้ต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น 

                หากไม่สมดุลย์  ก็คือ ไม่เป็นธรรม 

 

การลดหย่อนโทษของผู้กระทำความผิด  จากมากไปหาน้อย    ประกอบด้วย


                 1    ความไม่รู้  รู้เท่าไม่ถึงกาล  คิดไม่ถึง คาดไม่ถึง

                 2    ประมาท  เลินเล่อ  เผลอเลอ  ไม่เจตนา

                 3    เจตนา  โมโห ใจร้อน  วู่วาม โดยไม่ใช้อาวุธ

                 4    เจตนา  โมโห  โดยใช้อาวุธ

                 5    เจตนา  โดยใช้อาวุธ  โดยเตรียมการ วางแผนมา

 

การหักล้างโทษของผู้กระทำความผิด  จากน้อยไปหามาก ประกอบด้วย

 

                 1   ถูกเอารัดเอาเปรียบ   ดูหมิ่น  เหยียดหยาม  ยื้อแย่ง   ชิงดีชิงเด่น

                 2    ถูกกดขี่   ข่มเหง   รังแก   ใส่ร้าย

                 3    ถูกคุกคาม   ข่มขู่   ปองร้าย

                 4    ถูกทำร้าย    ทำลายชีวิต

 

 

                                                                                                                    ความยุติธรรมสูงสุด (ธรรมนูญ)                                                                                                                      

                                                                                                                              ขอบคุณครับ

                                                                                                                

คุณแสดงความคิดเห็นว่า
Vote
Get Adobe Flash player