Human rights for All has No exceptions!..Let Freedom, Joy and Laughter Rule our World. Tonight join us and Celebrate Life and Unite for tomorrow as it's another Chance for Change.
นอกจากวันที่ 10 ธันวาคม จะเป็น “วันรัฐธรรมนูญ” ของไทยแล้ว ในเวทีสากลองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็น “วันสิทธิมนุษยชน” (Human Rights Day) ของโลกด้วย
เพื่อสร้าง ความตระหนักและ พัฒนา ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ให้ก้าวหน้าขึ้น รวมถึงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง โดยไม่คำนึงถึงแหล่งกำเนิด เพศ ศาสนา
วันสิทธิมนุษยชน
ความเป็นมาของวันสิทธิมนุษยชน
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ผู้นำประเทศต่างๆ ได้ตระหนักว่า การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดสันติภาพแลความเจริญก้าวหน้าขึ้นในโลก ดังนั้น จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์การโลกที่จะคุ้มครองมนุษยชาติให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน สมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 และมีมติประกาศให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชน (Human Rights Day)
หลังจากนั้นสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติเมื่อ พ.ศ. 2495 ให้ร่างตราสารสิทธิมนุษยชนขึ้น 2 ฉบับ โดยให้ใช้ชื่อว่า กติกา (convenant) ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและทางการเมืองฉบับหนึ่ง และอีกฉบับหนึ่งว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยผ่านการรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2519 ตามลำดับ และต่อมาได้มีมติประกาศให้ปี ค.ศ. 1995-2004 เป็นทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชนศึกษาของสหประชาชาติ
ในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ใช้กันมาในอดีต ได้กล่าวถึงสิทธิมนุษชนไว้เป็นบางส่วน จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน ได้เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ เช่น
“มาตราที่ 4 ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง”
ซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 ที่กล่าวไว้ว่า
“มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสรเสรีและเท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง”
นับได้ว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” เพิ่งได้รับการบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นครั้งแรก ดังนั้น การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพย่อมขัดต่อรัฐธรรมนูญและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน