เข้าร่วมฟรี สามารถลงทะเบียน ได้ที่ https://goo.gl/ZsURgt
......
วันสิทธิความหลากหลายทางเพศ มีที่มาจากวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ณ วันนั้นมีการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนข้อความในใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกิน (แบบ สด. 43) ใบสำคัญสำหรับคนจำพวกที่ 4 (แบบ สด. 5) และใบสำคัญ (แบบ สด. 9) ในส่วนที่ระบุว่าตน ‘เป็นโรคจิตถาวร’ การระบุเช่นนี้ถือเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และทำให้เสื่อมเสียหรืออับอาย ซึ่งในที่สุดศาลปกครองกลางพิพากษาเพิกถอนใบสำคัญที่ระบุข้อความว่า ‘เป็นโรคจิตถาวร’ และแก้ไขเป็น ‘ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด’ ใน พ.ศ. 2554
กลุ่มหลากหลายทางเพศจึงยกให้วันนี้เป็นหมุดหมายสำคัญเป็น “วันแห่งความหลากหลายทางเพศ”
มูลนิธิศักยภาพชุมชน ร่วมกับเครือข่ายกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTI and Non-binary) ประเทศไทยได้ร่วมกันจัดงานรำลึก 10 ปี วันหลากหลายทางเพศขึ้น โดยใช้หัวข้อในการจัดงานว่า “สิทธิและความเสมอภาคในการก่อตั้งครอบครัวที่หลากหลาย”
โดยมีกิจกรรมคือ
-เวทีอภิปราย เพื่อสิทธิและความเสมอภาคในการก่อตั้งครอบครัวที่หลากหลาย
-แถลงการร่วมจากชุมชนความหลากหลายทางเพศ
-
ในวัน พฤหัสบดี ที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เวลา 8.30 - 18.30น
ณ อาคาร เฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคาร จามจุรี 10) ห้อง 801 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนน พญาไท แขวง ปทุมวัน เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
กำหนดการ
8.30 – 9.00 ลงทะเบียน
.
9.00 – 9.30 กล่าวเปิดงาน โดย คุณไบรอัน เดวิดสัน, เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย
.
9.30 – 10.30 ช่วงที่1 เวทีอภิปราย สิทธิความเสมอภาคในการก่อตั้งครอบครัวที่หลากหลาย
ดำเนินรายการ โดย ผศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เวทีอภิปราย 1 ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต
คุณเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร, รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (รอการยืนยัน)
คุณกิตตินันท์ ธรมธัช, สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
คุณนาดา ไชยจิตต์, นักกิจกรรมเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ
.
10.30 – 11.30 เวทีอภิปราย 2 การแก้ไขประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์เพื่อการสมรสที่เท่าเทียม
คุณมัจฉา พรอินทร์, กิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน และ ความเท่าเทียมทางเพศ
คุณธงรบ รอดสวัสดิ์, นักกิจกรรมสิทธิความหลากหลายทางเพศ
คุณณฐกมล ศิวะศิลป์, ทนายความ และที่ปรึกษาทางกฎหมายเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ
.
11.30 – 12.00 เวทีแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมเพื่อสิทธิและความเสมอภาคในการก่อตั้งครอบครัวที่หลากหลาย
.
*****
12.00 – 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
*****
13.00 – 13.15 กลุ่มความหลากหลายทางเพศกล่าวแถลงการณ์
- ยื่นหนังสือให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
- ยื่นหนังสือให้พรรคการเมือง
.
13.15 – 13.30 กิจกรรมงานแสดง เปิดโลก Non-Binary
.
13.30 – 14.15 เวที เยาวชนเพศหลากหลาย (Youth Talk For Change)
ดำเนินรายการ โดย คุณวรรณพงษ์ ยอดเมือง, นักกิจกรรมด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ
นำเสนอโดย คุณชิษณุพงศ์ นิธิวนา, ผู้ก่อตั้ง Pride CMU
คุณจรัญ คงมั่น, นักกิจกรรมสิทธิความหลากหลายทางเพศ(Non-Binary Thailand)
คุณญาณิศา ทรงไพบูลย์, นศ.จากมธ.ผู้สนับสนุนด้านความเสมอภาคทางเพศในสังคม
คุณปัถวี เทพไกรวัล, ผู้เข้าแข่งขันรายการ Drag Race Thailand
คุณทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี, นักกิจกรรมสิทธิเยาวชนและความเสมอภาคทางเพศ
คุณกรกนก คำตา, สมาชิกกลุ่ม Jimism
.
14.30 – 16.15 เวที พรรคการเมือง รับฟัง ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกฎหมายสมรส ช่วงแสดงวิสัยทัศน์จากพรรคการเมือง ดำเนินรายการ โดย คุณวิทยา แสงอรุณฺ, เจ้าของรายการ PinkMangoTV
.
ผู้เข้าร่วมตัวแทน
พรรค เพื่อไทย
พรรค พลังประชารัฐ
พรรค ไทยรักษาชาติ
พรรค สามัญชน
พรรค เสรีรวมไทย
พรรค ประชาธิปัตย์
พรรค อนาคตใหม่
พรรค ชาติไทยพัฒนา
พรรค เกียน
พรรค เพื่อชาติ
.
16.15 – 16.30 รับฟัง ความคิดเห็นจากนักการฑูต
เดินขบวนพาเหรด
.
16.30 – 18.30 กิจกรรม เดินขบวนพาเหรดเพื่อสิทธิเสรีภาพความหลากหลายทางเพศ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึง จามจุรีสแควร์