ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง เกิดขึ้นมากว่า 16 ปี โดยการผลักดันร่วมกันของกลุ่มคนหลายส่วน ทั้งภาคประชาชน เอ็นจีโอ นักการเมือง และข้าราชการ มีเจตนาเพื่อสร้างหลักประกันด้านสุขภาพให้กับทุกคนในประเทศอย่างเท่าเทียม เสมอภาค และเป็นธรรม
บัตรทอง ได้สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนทุกคนว่า “เมื่อเจ็บป่วย ทุกคนจะได้รับการรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย” เป็นหลักประกันด้านสุขภาพที่ช่วยให้คนไม่ต้องล้มละลายจากค่ารักษาพยาบาล
แต่รัฐปัจจุบันกลับมองว่า “บัตรทอง” เป็นภาระของประเทศ และมีความพยายามบิดเบือนหลักการถ้วนหน้าของระบบมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเสนอให้ “ร่วมจ่าย” หรือการให้เฉพาะกลุ่ม เป็นการถอยหลังกลับไปสู่ระบบสงเคราะห์แบบเดิม

โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในยุค คสช.
รัฐจัดให้ เลือกสงเคราะห์เฉพาะคนจน ระบบค้นหาตกหล่น ลดทอนศักดิ์ศรี
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือ “บัตรคนจน” เป็นการออกแบบการให้สวัสดิการที่เลือกค้นหา “คนจน” และจัดสวัสดิการด้วยการให้เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า ตามที่รัฐระบุไว้
ระบบ “บัตรคนจน” เป็นระบบที่ยังตกหล่นคนจนและไม่ทั่วถึง “บัตรคนจน” ที่มีคำถามว่าเอื้อต่อนายทุนผู้ผลิตสินค้า หรือเพื่อคนจนจริงๆ
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีความเหมือนในความต่าง
ความเหมือนแรก คือเป็นนโยบายที่มีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้
แต่ในความเหมือนกลับมีความต่างในระดับขาวกับดำกันเลยทีเดียว
เริ่มตั้งแต่ระดับหลักการแนวคิด บัตรทอง ตั้งต้นแนวคิดจากความทุกข์ยากของประชาชน จนก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มคนหลากหลายทั้งประชาชนธรรมดา บุคลากรการแพทย์ข้าราชการบางส่วน ผลักดันจนเกิดกฎหมายหลักประกันสุขภาพทั้งฉบับประชาชนและฉบับสุดท้ายของพรรคการเมือง
แต่บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หลักการแนวคิดตั้งต้นจากข้าราชการ และรัฐบาลทหารที่คิดเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐขึ้น (คิดให้) แต่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมบอก ไม่มีโอกาสบอกว่าต้องการ หรือไม่ต้องการแบบไหน ผลที่ออกมจึงเป็นแบบสั่งการ ค้นหาเฉพาะคนจน เลือกว่าจะให้อะไรไม่ให้อะไร และมีคนตกหล่นจำนวนมาก รวมทั้งยังเป็นที่กังขาว่า เป้าหมายจริงๆแล้ว เป็นการเอื้อประโยชน์นายทุนหรือเพื่อประชาชน ?