กิจกรรม วาระแรกประชาชน
“ปักหมุด ปลดอาวุธ คสช.”

เป็นเวลากว่า 5 ปีเต็ม ภายใต้การปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งได้ใช้อำนาจพิเศษออกประกาศและคำสั่งรวมกันอย่างน้อย 537 ฉบับ มาใช้ควบคู่กับกฎหมายในระบบปกติ ซึ่งเมื่อมีการเลือกตั้งและ คสช.​ ได้สิ้นสุดไปแล้ว ประกาศและคำสั่งเหล่านี้ก็ควรสิ้นสภาพไปด้วย แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 279 กลับรับรองให้มีผลบังคับใช้ต่อไปได้จนกว่าจะมีการออกกฎหมายมายกเลิก ภาคประชาชน 23 เครือข่ายจึงใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 133(3) เข้าชื่อกันมากกว่า 10,000 คน เพื่อเสนอยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. รวม 35 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับ 4 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน ประเด็นเสรีภาพสื่อมวลชน ประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ประเด็นสิทธิในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

เป็นเวลากว่า 1 ปีเต็มที่ภาคประชาชน 23 เครือข่าย จัดทำร่างกฎหมายขึ้น ชื่อว่าร่าง ... ยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย .. ….” และร่วมมือกันจัดกิจกรรมกว่า 100 ครั้ง ทั่วประเทศเพื่อเปิดให้ผู้สนับสนุนร่วมกันเข้าชื่อในแบบฟอร์ม พร้อมถ่ายสำเนาบัตรประชาชน ให้ครบ 10,000 คน เพื่อช่วยกันเสนอร่างพ... ฉบับนี้ต่อรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งมีความชอบธรรมในการพิจารณาและออกกฎหมาย 

 

จนกระทั่งบัดนี้สามารถรวบรวมรายชื่อได้เกินจำนวนที่ต้องการแล้ว และรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งได้จัดตั้งขึ้นแล้ว เครือข่ายภาคประชาชนจึงจะจัดกิจกรรมแรกภายใต้รัฐบาลใหม่ เพื่อพบปะพูดคุยกับตัวแทนประชาชนในรัฐสภา สื่อสารต่อสาธารณะ และนำร่างพ... พร้อมรายชื่อทั้งหมดไปยื่นต่อรัฐสภาต่อไป

 

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม


ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน และผู้เข้าร่วมลงชื่อ มาร่วมงานประมาณ 100 คน

ตัวแทนพรรคการเมืองที่จะรับร่างกฎหมายไปพิจารณา มาแถลงจุดยืน   10 พรรค

สื่อมวลชนที่ติดตามประเด็นการเมือง   20 แห่ง

 
 
 
 
 
กำหนดการ
กิจกรรมวาระแรกประชาชน “ปักหมุด ปลดอาวุธ คสช.”
 
วันที่ 23 มิถุนายน 2562 เวลา 12.30 - 17.30 น.
ห้องประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
 

 

12.30 - 13.00 เริ่มลงทะเบียนเข้างาน

 

13.00 - 13.15 ชี้แจงรายละเอียด ประกาศและคำสั่งของ คสชซ. 35 ฉบับ ที่เสนอให้ยกลิก

โดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ iLaw

 

13.15 - 15.00 ตัวแทนเครือข่ายประชาชน ร่วมกันแถลงเหตุผลที่ต้องเข้าชื่อเพื่อยกเลิกประกาศ/คำสั่ง คสช. 35 ฉบับ เช่น

 

- ประยงค์ ดอกลำไย คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชัย (กป.อพช.)

- นิมิตร์ เทียนอุดม เครือข่ายคนรักหลักประกันสุขภาพ

- ณตฤณ ฉอ้อนศรี สมัชชาคนจน

- ธนพร วิจันทร์ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

- ณัฐาศิริ เบิร์กแมน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

- วัชรพล นาคเกษม ตัวแทนเครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม

สุนทร ดวงณรงค์ เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่

- อรนุช ผลภิญโญ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน

- ดร.สามชาย ศรีสันต์ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง

- มงคล ด้วงเขียว ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก

- ตัวแทนเครือข่ายสลัมสี่ภาค

 

ฯลฯ

 

15.00 - 16.45 ตัวแทนพรรคการเมือง แถลงจุดยืนของแต่ละพรรคการเมืองต่อร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนเข้าชื่อกันเสนอ ได้แก่
 

พล.ท.พงศกร รอดชมภู พรรคอนาคตใหม่

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง พรรคประชาชาติ

- วิรัตน์ วรศสิริน พรรคเสรีรวมไทย

- ดร.วิโชติ วัณโณ พรรคเพื่อชาติ

พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร พรรคเพื่อไทย

- อลงกรณ์ พลบุตร พรรคประชาธิปัตย์

 

16.45 - 17.00 ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมต่อไป คือ การเดินทางเพื่อนำรายชื่อกว่า 10,000 ชื่อ ไปยื่นต่อรัฐสภาในช่วงเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2562

 

17.00 - 17.30 ตัวแทนภาครประชาชนและตัวแทนพรรคการเมืองถ่ายภาพร่วมกัน
ที่หน้าตึกอเนกประสงค์

 

*ผู้เข้าร่วมเวที อยู่ระหว่างการติดต่อประสานงาน

 

 

 

วันที่ 24 มิถุนายน 2562 เวลา 9.00 - 12.00 น.
 
 
เครือข่ายภาคประชาชน นำรายชื่อทั้งหมดยื่นต่อสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากในปัจจุบันอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ยังสร้างไม่เสร็จ จึงต้องนำรายชื่อประชาชนไปยื่นต่อสำนักงานที่ตั้งอยู่บริเวณ ถ.ประดิพัทธ์
 
เรานัดหมายพบกันที่หน้ากระทรวงการคลัง บริเวณเลียบคลอง ถ.พระรามหก ในเวลา 9.30 แล้วเดินเท้านำรายชื่อไปยื่นที่สำนักงาน ระยะทางเดินประมาณ 1.2 กิโลเมตร​ เพื่อประกาศเจตนารมณ์ของประชาชน