เวที De-Talk : ล้างพิษรัฐประหาร ทวงคืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน

 

 

 

 

นับถึงวันนี้ (1 กรกฎาคม 2562) ก็เป็นเวลานานกว่า 5 ปีแล้วที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นผู้มีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศ หากยุคสมัยของคสช.เป็นดั่งละครเวทีเรื่องหนึ่ง ละครเรื่องนี้ก็ใกล้ถึงเวลาลาโรงแล้ว เพราะมีการจัดการเลือกตั้งในเดือนมีนาคมและรัฐสภามีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่(แต่หน้าเดิม) เรียบร้อยแล้ว จากนี้ไปเมื่อการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่คณะรักษาความสงบแห่งชาติก็จะสิ้นสภาพ 

อย่างไรก็ตามการสิ้นสภาพของคสช.ไม่ได้ส่งผลให้ "มรดกพิษ" ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ไม่ว่าจะเป็นประกาศและคำสั่งคสช.ที่มีสถานะเป็นกฎหมายหรือแนวนโยบายเช่น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีสิ้นผลไปด้วย นอกจากนั้นบุคคลากรในคสช.หรือสนช.ที่คสช.เป็นผู้แต่งตั้งก็ยังคงมีตำแหน่งในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไปทั้งในฐานะว่าที่รัฐมนตรีหรือในฐานะส.ว.

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง เครือข่ายนักปฏิบัติการเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน และ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงร่วมกันจัดงาน De-Talk ล้างพิษ รัฐประหารทวงคืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน ขึ้นเพื่อสื่อสารให้สาธารณชนได้รับรู้ถึงมรดกพิษของการรัฐประหารที่จะยังอยู่ต่อไปรวมทั้งเสนอแนวทาง "ล้างพิษ" เพื่อการปกครองของประเทศเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง


 

เวที De-Talk : ล้างพิษรัฐประหาร ทวงคืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.00-17.00 น.
ณ ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 


13.00-13.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน

13.30-13.40 น. พิธีกรกล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์และกำหนดการของงาน โดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ ILaw

13.40-14.00 น. กล่าวเปิดงาน “สถานการณ์สิทธิมนุษยชนไทยกับการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ” โดย อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและประธานคณะทำงานด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  

14.00-14.35 น. สารคดีชีวิตผู้ลี้ภัยไทย

14.35-14.55 น. De-Talk ช่วงที่ 1 - ลี้ภัยจากพิษรัฐประหาร

De-Talk1: ผู้ลี้ภัยทางการเมือง โดย สุณัย ผาสุข Human Rights Watch 

De-Talk2: เพื่อนสยาม โดย รศ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14.55 -15.05 พิธีกรสรุปประเด็นโดยรวมของ De-Talk ช่วงที่ 1

15.05 -15.35 De – Talk ช่วงที่ 2 - พิษฝังลึก

De-Talk3: ฉันโตในยุคคสช. โดย พริษฐ์ ชิวารักษ์ สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.)

De-Talk4: มหาวิทยาลัยหรือค่ายทหาร? โดย รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง

De-Talk 5: อำนาจนิยม รัฐราชการกับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 โดย สฤณี อาชวานันทกุล

15.35-15.45 น. พิธีกรสรุปประเด็นโดยรวมของ De-Talk ช่วงที่ 2

15.45 – 16.15 De-Talk ช่วงที่ 3 - พิษกลายพันธุ์

De-Talk 6: สิทธิชุมชนกับการแย่งชิงทรัพยากร โดย สุภาภรณ์ มาลัยลอย มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

De-Talk7: สืบทอดอำนาจผ่านการเลือกตั้ง สิทธิเสรีภาพที่ถูกริดรอนต่อไป โดย ณัชปกร นามเมือง ILaw

De-Talk8: การจัดการผลพวงรัฐประหาร ฟื้นฟูศักดิ์ศรีประชาชน โดย พูนสุข พูนสุขเจริญ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

16.15-16.25 น. พิธีกรสรุปประเด็นโดยรวมของ De-Talk ช่วงที่ 3

16.20-17.00 น. การแสดงดนตรี โดยวงสามัญชน

หมายเหตุ : เชิญชมนิทรรศการ “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย” แสดงเส้นทางการต่อสู้และสัญลักษณ์ต่อต้านการรัฐประหารของประชาชนในช่วง 5 ปี คสช. ระหว่างปี 2557-ปัจจุบัน โดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนและพิพิธภัณฑ์สามัญชน

 


- นำชมนิทรรศการ “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย” โดยอานนท์ ชวาลาวัณย์ (รอบละ 10 นาที)
รอบที่ 1 เวลา 13.10 น.
รอบที่ 2 เวลา 14.10 น.
รอบที่ 3 เวลา 15.30 น