
เนื่องด้วย “มาตรการทวงคืนผืนป่า” ตามคำสั่งคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2557 ประกอบคำสั่ง ที่ 66/2557 กำหนดให้การดำเนินการดังกล่าวต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้, ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ ยกเว้นผู้ที่บุกรุกใหม่จะต้องดำเนินการสอบสวน และพิสูจน์ทราบ เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและดำเนินการตามขั้นตอน แต่อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคนจนไม่ว่าจะเป็นความเดือดร้อนจากการถูกจับกุม และดำเนินคดีในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ป่าสงวนแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งยังเกี่ยวเนื่องกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การแย่งยึดที่ดิน การไร้ที่ดินทำกิน หรือการบังคับให้ต้องโยกย้ายถิ่นฐาน ดังนั้นด้วยสถานการณ์เช่นนี้จึงนำมาสู่คำถามสำคัญที่ว่า ทำอย่างไรที่จะให้มาตรการดังกล่าว ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ และในขณะเดียวก็มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการดูแล ปกป้อง อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่า ผ่านการเสวนาจากมุมมองที่หลากหลายทั้งมุมมองสิทธิมนุษยชน มุมมองเชิงนโยบาย และมุมมองทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
เวทีเสวนาวิชาการ ปฏิบัติการทวงคืนผืนป่ากับผลกระทบต่อคนจน: กรณีอุทยานแห่งชาติไทรทอง
วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.00 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม (Auditorium) ชั้น 1 อาคารรัตนคุณากร (อาคาร 11)
มหาวิทยาลัยรังสิต ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี
13.00 – 13.15 น. กล่าวต้อนรับ โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และกล่าวนำ โดย Ms. Therese Bjork สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNOHCHR)
13.15 – 16.00 น. เสวนา โดย
- ศ.ดร.คณิต ณ นคร
- ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
- รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา
- ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ
- อ.สุนี ไชยรส วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต (ดำเนินรายการ)
16.00 น. กล่าวสรุป โดย
ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล