ท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่ยังตึงเครียดไม่หาย และนักกิจกรรมทางการเมืองถูกดักทำร้ายร่างกาย โดยยังมีกองเชียร์กองแช่งในโลกออนไลน์ที่พร้อมเห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง รายการวันโอวัน วันออนวัน ชวนดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คุยเรื่องความรุนแรงในสังคมไทย และความเป็นไปได้ที่จะเดินไปข้างหน้ากันอย่าง "สันติวิธี"

ภาพโดย The 101.world
เมื่อกล่าวถึงการทำร้ายร่างกายคนที่เคลื่อนไหวทางการเมือง ดร.เอกพันธุ์ กล่าวว่า ทุกครั้งที่นักกิจกรรมถูกทำร้ายเรามักอยากรู้ว่า ใครเป็นคนทำเพราะอยากรู้ว่าเหตุในการกระทำเกิดจากอะไร เราเลยเลือกที่จะเดา และคิดว่า น่าจะเป็นคนที่นิยมใช้อำนาจ เพราะเขาพยายามหาวิธีอื่นแล้วที่จะหยุดอะไรที่เขาไม่ชอบ แต่ทำอะไรไม่ได้เลยเลือกที่จะทุบ งอแงเหมือนเด็ก ไม่ได้ดั่งใจก็จะร้องจะทุบ
“ในทางจิตวิทยาคนใช้ความรุนแรงมักจะมีความรู้สึกกลัวอยู่ในใจ อ่อนแอ เพราะคนที่มั่นใจในตัวเองจะใช้เหตุผลในการพูดคุยได้แต่เมื่อเราไม่มั่นใจก็เลยใช้ความรุนแรง เปรียบเสมือนการตั้งกำแพงขึ้นมาปกป้องตัวเอง”
ในสังคมเรามักจะเห็นคนที่ชอบความรุนแรง ซึ่งผมมองว่า เป็นคนป่วยทางอารมณ์ความรู้สึก เนื่องจากเวลาเกิดการแบ่งฝ่ายเรามักจะทำให้อีกฝ่ายคุณค่าลดน้อยลง เป็นการลดทอนความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่าย แต่โดยสัญชาติญาณของมนุษย์รู้สึกเจ็บปวดร่วมด้วยกับมนุษย์คนอื่น โดยที่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่า อีกฝ่ายคือใคร เป็นใคร เป็นคนที่เรารักหรือชัง เช่น เวลาเราเห็นคนโดนมีดบาดต่อหน้าต่อตาเราจะรู้สึกเสียว เจ็บ หรือเรียกว่ามนุษย์มีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น
แต่บางทีเมื่อเรามีอารมณ์ร่วมกับอะไรมากๆ เช่น เวลาดูฟุตบอล สมมติเราเชียร์ทีม A แล้วโดนผู้เล่นทีม B เสียบ เราจะรู้สึกทันทีเลยว่า เราโกรธผู้เล่นทีม B แต่ถ้าเราเห็นทีม B โดนแบบเดียวกับเรา เราจะเห็นว่า เขาสมควรโดน รู้สึกสะใจ ความเห็นใจต่อความเจ็บปวดบางอย่างสามารถยอมรับได้ถ้าไม่ใช่พวกเดียวกับเรา สำหรับฟุตบอลถึงคุณจะชอบทีมคุณแ