พรรคภูมิใจไทยเสนอให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ จากเหตุการณ์การชุมนุมและความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา
นิรโทษกรรม หมายถึง การทำให้ไม่มีโทษ หรือการอันไม่มีโทษ โดยในทางกฎหมายจะแบ่งเป็นการนิรโทษกรรมทางแพ่ง และทางอาญา
นิรโทษกรรมทางแพ่ง คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น แต่กฎหมายบอกว่าไม่ต้องใช้ค่าเสียหาย เช่น เราจะถูกทำร้ายและเราก็ป้องกันตัวทำให้คนที่ทำร้ายเราบาดเจ็บ แม้เขาจะบาดเจ็บเกิดความเสียหายขึ้น แต่เราไม่ต้องใช้ค่าเสียหาย เพราะกฎหมายยกเว้นให้
นิรโทษกรรมทางอาญา คือ การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
ในแง่ดี การนิรโทษกรรม หรือ การยกเลิกความผิดทั้งหลายที่ได้กระทำผ่านมา ไม่เพ่งเล็งจะจับตัวบุคคลมาลงโทษให้เข็ดหลาบ เสมือนหนึ่งว่าเป็นการให้อภัยซึ่งกันและกัน เรื่องที่แล้วมาแล้วก็ให้แล้วต่อกันไป อาจสร้างบรรยากาศการความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม เอื้อต่อการหันหน้ามาพูดคุยกัน แล้วเริ่มต้นกันใหม่อย่างสร้างสรรค์
แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง การออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมจะทำให้การกระทำที่ผ่านมาไม่เป็นความผิดโดยสมบูรณ์ ไม่สามารถกลับมาลงโทษตามความผิดที่เกิดขึ้นได้อีกเลย ไม่สามารถจะรื้อฟื้นกระบวนการหาตัวผู้กระทำความผิดและกระบวนการตามหาความจริงกลับขึ้นมาได้อีก ไม่ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
หากว่ากันในระยะยาวเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และผู้มีอำนาจในบ้านเมืองสามารถออกกฎหมายยกเลิกความผิดที่กระทำไปแล้วได้ ย่อมสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีขึ้นในสังคม หากการกระทำเช่นนี้ได้รับการยอมรับ ก็เท่ากับว่าผู้มีอำนาจไม่จำเป็นต้องเกรงกลัวต่อการทำผิดกฎหมาย เพราะสามารถออกกฎหมายยกเลิกความผิดของตัวเองได้
ในอดีตนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน 2475 มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยเคยออกกฎหมายเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมมาแล้ว 22 ครั้ง เรียบเรียงได้ดังนี้ คือ
5. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ออกโดยนายควง อภัยวงศ์ ในครั้งที่มีกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ทำการรัฐประหาร พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แล้วให้ นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยนิรโทษแก่ผู้ที่ทำการรัฐประหารในคราวนั้นทั้งหมด 9. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2502 ออกโดยจอมพลถนอม กิตติขจร สืบเนื่องจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงเหตุความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังคุกคาม ในการรัฐประหารในครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็น การรัฐประหารเงียบ หรือ ยึดอำนาจตัวเอง ออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำให้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สามารถใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อย่างเต็มที่ เบ็ดเสร็จ และเด็ดขาด ด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 17 22.ครั้งสุดท้ายที่ประเทศไทยมีการนิรโทษกรรม บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในมาตรา 309 ที่ว่า
“บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้” ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการบัญญัติการนิรโทษกรรมไว้ในรัฐธรรมนูญ จากสาเหตุการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เข้ายึดอำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
จะเห็นว่าการนิรโทษกรรมไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยและโดยมากเป็นการนิรโทษกรรมหลังจากการรัฐประหารเพื่อให้ตนพ้นผิด หรือนิรโทษกรรมผู้ก่อการกบฎเพื่อให้เกิดความสามัคคีของคนในชาติ
การออกกฎหมายนิรโทษกรรม จากเหตุการณ์ทางการเมืองในอดีต ได้สอนบทเรียนหลายอย่างให้สังคมในปัจจุบันแล้ว
ปัจจุบันยังมีผู้ต้องหาจำนวนมากที่มีคดีความวุ่นวาย คั่งค้างกันอยู่ทั้งในชั้นศาล พนักงานอัยการ และชั้นพนักงานสอบสวน อย่างไม่มีทางออกตามกระบวนการปกติ
ผู้บริสุทธิ์จำนวนมากถูกตัดสินให้มีความผิด ต้องโทษตามกฎหมาย จากความวุ่นวายทางการเมือง
ยังมีคำถามจำนวนมากที่รัฐบาลตอบสังคมไม่ได้ หากยอมรับการนิรโทษกรรมในครั้งนี้แล้วสังคมไทยในอนาคตจะต้องมองหาวิธีการแสวงหาความจริงในแนวทางอื่นต่อไป
เป็นโจทย์ฺร่วมกันของทุกคนในสังคม
ควรออกกฎหมายนิรโทษกรรมหรือไม่