เสวนาออนไลน์ [เสรีภาพ = สุขภาพ] ประชาชนต้องเดินหน้า หมดเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19  โดยมีมาตรการให้ปิดสถานที่ ประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกนอกบ้านเวลากลางคืน ห้ามการรวมตัวทำกิจกรรม จำกัดการเดินทางข้ามจังหวัด ซึ่งประชาชนได้ปฏิบัติตามมาตรการจนแนวโน้มของสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสดีขึ้นมากแล้ว
 
อย่างไรก็ตามการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก็ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต การทำมาหากิน และการใช้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน เมื่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการทั้งของรัฐและเอกชนในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และวิถีชีวิต ต้องการแสดงออกเรียกร้องสิทธิของตัวเองก็ไม่สามารถทำได้ สถานการณ์ไปเดินไปถึงจุดที่รัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ และหน่วยงานด้านความมั่นคง กำลังอ้างอำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อ "รวบอำนาจ" ในการบริหารประเทศทั้งหมดไว้ในมือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และฉวยโอกาสนี้จำกัดและคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชน จนเกินเลยไปจากความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19
 
เครือข่ายประชาชน 5 ภูมิภาค ซึ่งได้ยื่นหนังสือต่อรัฐบาลและผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้ว จึงชวนตัวแทนประชาชนในเครือข่าย ร่วมแถลงเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า การคงอยู่ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นั้นเข้าข่าย "เกินสมควรแก่เหตุ" กับภาวะการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
 
 
 
 
วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2563 เวลา 13.00 - 15.30 ทางเฟซบุ๊กไลฟ์ เพจ iLaw
 
ช่วงที่ 1 13.00 - 14.30 ปากคำประชาชน ชีวิตใต้ข้อกำหนดพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 
 
- อมรศักดิ์  ปัญญาเจริญศรี (อูด) ชาวประมง จ.ชลบุรี
 
- สุรพันธ์  รุจิไชยวัฒน์  (พ่อไม้) เกษตรกร อ.วังสะพุง จ.เลย ผู้คัดค้านการทำเหมืองแร่ทองคำ 
 
- เปรมชนัน บำรุงวงค์ ชาวบ้านผู้คัดค้านการสร้างเขื่อนชายหาดม่วงงาม จ.สงขลา
 
- เนืองนิช ชิดนอก ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค 
 
- อธิวัฒน์ เส้งคุ่ย ทนายความ เครือข่ายสิทธิมนุษยชนภาคใต้
 
 
ช่วงที่ 2 14.30 -15.30 มุมมองที่แตกต่าง ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้วควบคุมโรคอย่างไร?
 
- นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา 
 
- อ.ดร.พัชร์ นิยมศิลป อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย