สรุปย่อแถลงการณ์คณะสร้างไทยต่อกรณีสมาชิกรัฐสภาส่วนหนึ่งและเสียงข้างมากของรัฐสภามีมติ
ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา
1 มีนาคม 2564 โภคิน พลกุล แกนนำกลุ่มสร้างไทยได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีสมาชิกรัฐสภาจำนวน 73 คนและมติของรัฐสภาที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเรื่องหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา โดยมีใจความดังนี้
1. คณะสร้างไทยได้มีแถลงการณ์ตั้งแต่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 ไม่เห็นด้วยกับการที่สมาชิกในรัฐสภา ทั้ง 73 ท่าน และมติของรัฐสภาที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจ และหน้าที่ของรัฐสภาในประเด็นที่ว่าสมาชิกรัฐสภาไม่มีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญด้วย การให้มีสสร.ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และเห็นว่าเป็นการกระทาที่ส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตแต่แรกเริ่ม
2. ข้ออ้างของสมาชิกรัฐสภาท้ัง 73 ท่านก็คือ รัฐธรรมนูญพ.ศ.2560(ฉบับปัจจุบัน) ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจรัฐสภาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงไม่มีอำนาจกระทำได้ โดยเทียบเคียงว่ารัฐธรรมนูญฯ(ฉบบัชวั่คราว)พ.ศ.2557 มีบทบัญญัติให้มีคณะกรรมาธิการฯจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เมื่อฉบับพ.ศ. 2560 ไม่ใช่ฉบับชั่วคราวและไม่มีบทบัญญัติเช่นที่กล่าวมา คงมีแต่เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฯ รัฐสภาจะไปแก้ไขเพิ่มเติมฯให้มีการจัดทำฉบับใหม่ไม่ได้
3. คณะสร้างไทยมีความเห็นดังนี้
3.1.ตามทฤษฎีเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีอำนาจอยู่ 2 อำนาจคือ อำนาจจัดให้มีหรืออำนาจสถาปนาด้ังเดิม อำนาจน้ีมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เช่น จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญโดยถือว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนและประชาชนใช้อำนาจนั้นผ่านทางผู้แทนท่ีมาจากการเลือกตั้ง กับอำนาจจัดให้มีหรืออำนาจสถาปนาที่ได้รับมาจากอำนาจด้ังเดิมหรือที่เรียกว่า อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมน้ีสามารถจัดทำรัฐธรรมนูญข้ึนใหม่ได้แต่จะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญเองเช่นการห้ามแก้ไขรูปแบบการปกครอง หรือรูปแบบของรัฐ (รัฐธรรมนูญ มาตรา 255) แต่ปรมาจารย์ด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ อ.สมภพ โหตระกิตย์ ได้เคยให้ความเห็นไว้ว่าการห้ามแก้ไ้ขเช่นน้ีขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาธิปไตยเพราะเจ้าของอำนาจอธิปไตยในสมัยหน่ึงไม่มีอำนาจไปจำกัดเจ้าของอำนาจอธิปไตยในอนาคต การกำหนดข้อห้ามเช่นว่าน้ีจึงกลายเป็นเครื่องยั่วยุให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยใช้กำลัง
3.2. เมื่อพิจารณาถึงรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงฉบับปัจจุบับทั้งฉบับชั่วคราว ฉบับถาวรตลอดจนการปฏิบัติและประเพณีทางรัฐธรรมนูญแล้วจะพบว่า คำว่า อำนาจ “แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ” ของรัฐสภาน้ัน ครอบคลุมท้ังการแก้ไขรายประเด็นหรือรายมาตรา การจัดทำใหม่ทั้งฉบับ การจัดทำใหม่ส่วนสำคัญทั้งฉบับไม่ว่าโดยรัฐสภาเอง (เช่น รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2489 ที่ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญฯพ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538) หรือโดยรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ(เช่นรัฐธรรมนูญฯฉบับชั่วคราวพ.ศ.2490 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2491 จนมีร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2492 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2539 จนมีรัฐธรรมนูญฯพ.ศ.2540)ไม่ใช่ประเด็นเกี่ยวกับว่าเป็นฉบับ ชั่วคราวหรือฉบับถาวรแต่อย่างใด และก่อนจะมีรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ก็ไม่เคยมีข้อถกเถียงในประเด็นน้ีเพราะทุกฝ่ายเข้าใจกันมาโดยตลอดว่าอำนาจ “แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ”ของรัฐสภาน้ันสามารถจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ไม่ว่าจะทำเองหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญมอบให้สสร.จัดทำโดยให้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาหรือประชามติอีกชั้นหน่ึง
4. สรุป
ปัญหาวงจรอุบาทว์ที่วนเวียนมาร่วม 1 ศตวรรษ มีสาเหตุสำคัญ อยู่ 3 ประการคือ
ประการแรก นักวิชาการแบบเนติบริกรและศาลตั้งแต่พ.ศ.2496 เป็นต้นมาได้ด้อยค่าหลักที่ว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชาวไทย” และ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ไปจนสิ้นโดยสยบยอมให้แก่อำนาจเผด็จการของคณะรัฐประหาร ถึงขนาดเขียนรัฐธรรมนูญให้ถือว่าอำนาจเผด็จการรัฐประหารที่ล้มล้างรัฐธรรมนูญและทำผิดกฎหมาย ถือเป็นการทำที่ถูกกฎหมายและไม่ต้องรับผิดหรือรับผิดชอบใดๆและองค์กรศาลก็ดี องค์กรตามรัฐธรรมนูญก็ดี พร้อมใจกันตีความเพื่อให้ทุกคนทุกองค์กรยึดถือตามเช่นน้ี
ประการที่สอง องค์กรรัฐสภาโดยเฉพาะสภาผู้แทนราษฎรทั้งในอดีตหลายยุคและในปัจจุบันที่ ส.ส. มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและพรรคการเมืองบางพรรคที่ ส.ส. เหล่าน้ันสังกัดก็ยินยอมพร้อมใจกันสยบยอมต่ออำนาจเผด็จการที่มุ่งสืบทอดอานาจโดยร่วมเป็นรัฐบาลหรือเป็นงูเห่าในฝ่ายค้าน แต่ที่แย่ที่สุดคือไม่กล้าหาญที่จะปกป้องอำนาจของรัฐสภาในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กลับไปขอให้ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งไม่มีส่วนโยงใยกับอำนาจของประชาชนเลยมากำหนดว่ารัฐสภาควรมีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ทั้งๆ ที่ได้ทำเช่นน้ีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2489 ส.ส. บางส่วนพยายามสงสัยอำนาจตนเองเพื่อสยบยอมต่ออำนาจเผด็จการ ไม่กล้าหาญพอจะยืนข้างอำนาจของประชาชน ทั้งๆที่มาจากประชาชน
ประการที่สาม ประชาชนส่วนหน่ึงถูกมอมเมาโดยวัฒนธรรมอำนาจนิยมและระบบรัฐราชการ จนต้องยอมจำนนหรือสมยอมกับอำนาจดังกล่าวขณะที่บางส่วนก็อาศัยอำนาจนั้นและระบบรัฐราชการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้องจนถึงวันน้ีที่ประเทศกำลังอ่อนแออย่างถึงที่สุด ไร้ทิศทาง คนตัวเล็กทั้งหลายกำลังจะตาย หมดทางทามาหากิน เด็กรุ่นใหม่ไร้อนาคต
คณะสร้างไทยจึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในสังคมก้าวออกจากความขัดแย้งและความมืดมนไปด้วยกันโดยเริ่มจากการมีรัฐธรรมนูญท่ีเขียนโดยประชาชน เห็นชอบโดยประชาชน ไปสู่การเลือกตั้ง เพื่อให้ได้ตัวแทนของประชาชนท่ีแท้จริงมากำหนดทิศทางและแก้ไขปัญหาของประเทศ
อน่ึงร่างรัฐธรรมนูญฯทั้งของฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลที่รัฐสภารับหลักการในวาระที่1ไปแล้วแม้จะใช้คำว่า “การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” แต่ก็ไม่ได้ทำใหม่ทั้งฉบับเพราะไม่ได้แก้ไขในหมวด1และหมวด2 สสร.คงแก้ไขฯได้ต้ังแต่หมวด3 เป็นต้นไปเช่นเดียวกับการแก้ไขฯ รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2534 ใน พ.ศ. 2538 และไม่ได้แตะต้องข้อห้ามแก้ไขฯ ในเรื่องรูปแบบการปกครองและรูปแบบของรัฐแต่อย่างใด นอกจากน้ี หากรัฐสภาเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มี สสร. ก็ยังจะต้องไปทำประชามติขอความเห็นชอบจากประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยอีกขั้นหน่ึง ก่อน (มาตรา 256(8)) และเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมท่ีให้มี สสร.น้ีแล้วประชาชนจะเป็นผู้เลือกตั้ง สสร.ทั้ง 200 คนจนเมื่อสสร.ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก็ต้องไปขอประชามติจากประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยอีกคร้ัง ทั้งหมดรัฐสภาดำเนินการโดยยึดโยงกับประชาชนทั้งสิ้น การมี สสร. เช่นน้ีเท่ากับเป็นอำนาจจัดให้มีหรืออำนาจสถาปนาดั้งเดิมใหม่ที่ประชาชนเป็นผู้กำ หนด จะไปตีความว่าแม้รัฐสภาทำถึงขนาดน้ีก็ยังไม่มีอำนาจ ใครคิดเช่นนั้นคงไม่มีคำอธิบายใดจะบรรยายได้นอกจากต้องการปกป้องอำนาจรัฐประหารและการสืบทอดอำนาจดังกล่าวเท่านั้น
การมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนในคร้ังน้ีเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่ชาวไทยทุกคนและทุกองคก์รต้องร่วมมือกันเพื่อไขกุญแจไปสู่ความสมานฉันท์และมอบให้ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดทิศทางและการแก้ไขปัญหาที่หนักหนาสาหัสของประเทศที่ดำรงอยู่ในขณะน้ีและในอนาคตต่อไป อย่าให้ไปสนองตอบต่อการสมคบคิดให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมคร้ังน้ีใช้ได้ เฉพาะ มาตรา 1 ถึง มาตรา 3 คือฝ่ายค้านบล็อกไม่ได้อีกต่อไป แต่ฝ่ายรัฐบาลและวุฒิสภา สามารถแก้ไขรายมาตราเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการปรับปรุงวิธีการสืบทอดอำนาจได้ตามสบาย ส่วนร่าง มาตรา 4 และร่างหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตกไปท้ังหมดเพราะรัฐสภาไม่มีอำนาจตามที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย