สรุปผลการลงคะแนนร่างแก้รัฐธรรมนูญทั้ง 13 ฉบับ!
ร่าง 1 เสนอโดยพรรคพลังประชารัฐ เพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรม แก้ระบบเลือกตั้งเป็นบัตรสองใบคล้ายแบบรัฐธรรมนูญ 2540 ลดกลไกปราบทุจริต
รับหลักการ 335 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 335 เสียง โดยไม่มีเสียงของส.ว.เลย
ไม่รับหลักการ 198 เสียง
งดออกเสียง 174 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง
ร่าง 2 เสนอโดยพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 1 เพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เสรีภาพในการแสดงความเห็น
รับหลักการ 400 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 394 เสียงและส.ว. 6 เสียง
ไม่รับหลักการ 136 เสียง
งดออกเสียง 171 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง
ร่าง 3 เสนอโดยพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 2 แก้ระบบเลือกตั้งเป็นบัตรสองใบแบบรัฐธรรมนูญ 2540
รับหลักการ 377 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 341 เสียงและส.ว. 36 เสียง
ไม่รับหลักการ 88 เสียง
งดออกเสียง 242 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง
ร่าง 4 เสนอโดยพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 3 แก้เรื่องที่มานายกรัฐมนตรีและยกเลิกอำนาจส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี
รับหลักการ 456 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 441 เสียงและส.ว. 15 เสียง
ไม่รับหลักการ 101 เสียง
งดออกเสียง 150 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง
ร่าง 5 เสนอโดยพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 4 ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและยกเลิกอำนาจ ส.ว.บางประการ
รับหลักการ 328 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 327 เสียงและส.ว. 1 เสียง
ไม่รับหลักการ 150 เสียง
งดออกเสียง 229 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง
ร่าง 6 เสนอโดยพรรคภูมิใจไทย ฉบับที่ 1 แก้ไขแผนยุทธศาสตร์ชาติ
รับหลักการ 455 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 420 เสียงและส.ว. 35 เสียง
ไม่รับหลักการ 86 เสียง
งดออกเสียง 166 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง
ร่าง 7 เสนอโดยพรรคภูมิใจไทย ฉบับที่ 2 เสนอหลักประกันรายได้ถ้วนหน้า (UBI)
รับหลักการ 477 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 422 เสียงและส.ว. 55 เสียง
ไม่รับหลักการ 78 เสียง
งดออกเสียง 152 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง
ร่าง 8 เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 1 เพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิชุมชน สิทธิผู้บริโภค
รับหลักการ 470 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 422 เสียงและส.ว. 48 เสียง
ไม่รับหลักการ 75 เสียง
งดออกเสียง 162 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง
ร่าง 9 เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 2 ตัดอำนาจ ส.ว. ในการแก้รัฐธรรมนูญ
รับหลักการ 416 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 401 เสียงและส.ว. 15 เสียง
ไม่รับหลักการ 102 เสียง
งดออกเสียง 189 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง
ร่าง 10 เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 3 กระบวนการตรวจสอบ ป.ป.ช.
รับหลักการ 432 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 399 เสียงและส.ว. 33 เสียง
ไม่รับหลักการ 97 เสียง
งดออกเสียง 178 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง
ร่าง 11 เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 4 แก้เรื่องที่มานายกรัฐมนตรีและยกเลิกอำนาจส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี
รับหลักการ 461 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 440 เสียงและส.ว. 21 เสียง
ไม่รับหลักการ 96 เสียง
งดออกเสียง 150 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง
ร่าง 12 เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 5 ประเด็นกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
รับหลักการ 457 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 408 เสียงและส.ว. 49 เสียง
ไม่รับหลักการ 83 เสียง
งดออกเสียง 167 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง
ร่าง 13 เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ฉบับที่ 6 แก้ระบบเลือกตั้งเป็นบัตรสองใบแบบรัฐธรรมนูญ 2540
รับหลักการ 553 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 343 เสียงและส.ว. 210 เสียง
ไม่รับหลักการ 24 เสียง
งดออกเสียง 130 เสียง
ขาดประชุม/ไม่ประสงค์ลงคะแนน 27 เสียง