รอบอาทิตย์ที่สาม ของเดือนพฤศจิกายน

รอบอาทิตย์ที่สาม ของเดือนพฤศจิกายน

เมื่อ 19 พ.ย. 2553

 

ความเคลื่อนไหวรอบสัปดาห์ที่สามของเดือนพฤศจิกายน
 
สภาเตรียมถกแก้รัฐธรรมนูญ 23-24 ..นี้
นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เปิดเผยว่าพร้อมเปิดประชุมรัฐสภา แก้รัฐธรรมนูญ 23-24 พฤศจิกายนนี้ เวลา 9.30-24.00 โดยจะมีการพิจารณาทั้งสิ้น 4 ฉบับ เป็นฉบับของนายแพทย์เหวง โตจิราการ 1 ฉบับ ฉบับของ สส.102 คนที่เข้าชื่อเสนอ 1 ฉบับ และของรัฐบาล 2 ฉบับ และจะลงมติในวันที่ 25 พ.ย. ส่วนที่อาจะมีการชุมนุมคัดค้านการพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญ นายชัยเชื่อว่า ไม่น่าจะเกิดปัญหา และการรักษาความสงบเป็นหน้าที่ของรัฐบาล และมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินควบคุมอยู่
โดยนายชัย ชิดชอบ ให้สัมภาษณ์ว่า คาดว่าน่าจะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็น มาตรา 190 ในเรื่องการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศจะต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และมาตรา 83 เรื่องที่มาของ ส.ส.และ ส.ว.
ที่มาข่าว VoiceTV  ไทยโพสต์
 
 
สภาฯ เห็นชอบกฎหมายติดดาบ กมธ.สภาฯ-วุฒิ
เมื่อวันที่ 17 .. 2553 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติ 173 ต่อ 144 เสียง เห็นชอบกับร่าง พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
โดยมีสาระสำคัญในมาตรา 6 หาก กมธ.มีมติให้เรียกเอกสารจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือ แสดงความเห็นประกอบการพิจารณา ให้ กมธ.มีหนังสือขอให้บุคคลนั้นส่งเอกสารหรือเชิญบุคคลนั้นมาแถลงข้อเท็จจริง แสดงความเห็นต่อ กมธ.ภายในเวลาที่ กมธ.กำหนด
มาตรา 7 บุคคลที่ได้รับหนังสือขอให้ส่งเอกสารหรือเชิญมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความ เห็นไม่จัดส่งเอกสารหรือไม่มาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็น ให้ กมธงออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลนั้นหรือเรียกบุคคลนั้นมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นด้วยตนเอง ด้วยมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 7 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
(ดูรายละเอียดตามไฟล์แนบ)
ที่มาข่าว เดลินิวส์
 
 
ศอฉ.สั่งประกาศห้ามขาย-มีสินค้า "สร้างความแตกแยก"
วันที่ 19 พ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้มีคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 141/2553
กำหนด ห้ามบุคคลใดมีไว้ในครอบครอง หรือ มีไว้เพื่อการจำหน่าย จ่าย แจก ซึ่งสินค้า เสื้อผ้า เครื่องอุปโภคบริโภค หรือวัตถุอื่นใด ที่มีการพิมพ์ เขียน วาดภาพ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้ปรากฏความหมายในลักษณะ ยั่วยุ ปลุกระดม สร้างความปั่นป่วน หรือก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชนโดยทั่วไป หรือ เพื่อการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน
ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(ดูรายละเอียดตามไฟล์แนบ)
ที่มาข่าว ประชาไท
 
 
เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม แถลงจุดยืนกรณีศพทารกวัดไผ่เงิน
จากกรณีพบชิ้นส่วนตัวอ่อนมนุษย์ (ซากทารก) ที่วัดไผ่เงิน จำนวน 1,654 ชิ้น สร้างความรู้สึกต่างๆ หลากหลายให้กับผู้คนในสังคมที่ได้ทราบข่าว พร้อมกับมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา
เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม แถลงจุดยืนในอีกมุมมองหนึ่งว่า กรณีดังกล่าวควรถือเป็นบทเรียนของสังคมไทยต่อความอ่อนแอของมาตรการป้องกันการท้องและการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม สังคมและสื่อมวลชนจึงไม่ควรมุ่งเป้าไปที่ประเด็นในเชิงศีลธรรมต่อผู้หญิงและ ผู้ให้บริการเท่านั้น แต่ควรเสนอข่าวให้รอบด้าน เพื่อสร้างความเข้าใจต่อปัญหาและหาทางออกร่วมกัน
นอกจากนี้สังคมไทยควรมีมุมมองต่อผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมในเชิงเข้าใจมากกว่าการประณาม เพราะทำให้ต้องเผชิญปัญหาอย่างหลบซ่อน ขาดข้อมูล เข้าไม่ถึงบริการ
ที่มาข่าว ประชาไท
 

6 ปีไฟใต้ สถิติเกิดเหตุกว่าหมื่นครั้ง ตาย 4,453 เจ็บ 7,239
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้  เปิดเผยว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ดูเหมือนจะยังอยู่ในความรุนแรง การก่อเหตุด้วยการทำลายชีวิตและทรัพย์สินที่คล้ายจะลดลงในตอนต้นปีที่ผ่านมา กลับมีระดับสูงขึ้นอีกโดยรวมนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 จนถึงเดือนตุลาคม 2553 มีเหตุการณ์ความไม่สงบชายแดนใต้เกิดขึ้น 10,386 ครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 4,453 คน ผู้บาดเจ็บ 7,239 คน ถ้านับรวมผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมกันจะมียอดรวมสูงถึง 11,692 คน
ร้อยละ 59.02 (2,628 คน) ของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบเป็นกลุ่มผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนอีกร้อยละ 38.15 (1,699 คน) ของผู้เสียชีวิตเป็นกลุ่มผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ
เมื่อพิจารณาจากรายงานความสูญเสียรายเดือน ข้อมูลล่าสุดก็ยังสอดคล้องกับการวิเคราะห์ของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ก่อนหน้านี้ ที่ระบุว่าเป็นความรุนแรงเชิงคุณภาพ ในขณะที่ระดับความถี่หรือจำนวนครั้งความรุนแรงน้อยลงแต่จำนวนการตายและบาด เจ็บก็ยังคงที่ กล่าวในอีกแง่หนึ่งก็คือการก่อเหตุความรุนแรงลดลงแต่การก่อเหตุแต่ละครั้งมี แนวโน้มที่จะทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
ที่มาข่าว มติชน
 
 
สรุปความเสียหายน้ำท่วม เสียชีวิต 224 ราย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานผลสรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่า ขณะนี้ มีพื้นที่ประสบปัญหาอยู่ทั้งสิ้น 13 จังหวัด 57 อำเภอ 418 ตำบล 2,901 หมู่บ้าน 242,702 ครัวเรือน 839,584 คน พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 6,316,156 ไร่ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นนทบุรี และปทุมธานี มีผู้เสียชีวิตแล้ว 152 ราย
ส่วนพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้ มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ทั้งสิ้น 5 จังหวัด 46 อำเภอ 334 ตำบล 2,848 หมู่บ้าน 214,163 ครัวเรือน 683,969 คน ได้แก่ จังหวัดสงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง มีผู้เสียชีวิต 72 ราย

 

 

ไฟล์แนบขนาดไฟล์
ร่าง พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการฯ.pdf942.02 KB
คำสั่ง ศอฉ.ห้ามครอบครองสินค้าสร้างความแตกแยก.pdf52.46 KB