แม้จะสิ้นสุดยุคเผด็จการภายใต้การปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไปแล้ว แต่มรดกที่ คสช. สร้างมาตลอดห้าปีของการปกครองยังคงดำรงอยู่อย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะมรดกทางกฎหมายที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จออกมาเป็นประกาศและคำสั่งจำนวน 556 ฉบับ ซึ่งหลายฉบับส่งผลต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างรุนแรง
หลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2562 มีความพยายามใช้เวทีรัฐสภาในการขจัดมรดกของคณะรัฐประหารหลายครั้งแต่ก็ประสบความล้มเหลว เพราะกลไกที่ คสช. วางไว้ในรัฐสภายังคงเข้มแข็งเกินกว่าที่ผู้แทนจากประชาชนจะฝ่าไปได้ ที่ผ่านมีความพยายามทั้งหมดแปดครั้ง โดยสามวิธีการที่จะใช้เวทีรัฐสภาปลดอาวุธ คสช. แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

1. ช่องทางเสนอร่างกฎหมาย “ปลดอาวุธ คสช.” - ล้มเหลว
ความล้มเหลวล่าสุดในการปลดอาวุธ คสช. คือ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ. สองฉบับ คือ “ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย พ.ศ. ....” หรือ “ร่างปลดอาวุธ คสช.” ที่เสนอโดยประชาชน 13,409 คน และ “ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พ.ศ. ....” ที่เสนอโดย ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ (ในขณะนั้น)
สำหรับร่างปลดอาวุธ คสช. ของภาคประชาชน เริ่มดำเนินการล่ารายชื่อประชาชนผู้สิทธิเลือกตั้ง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 โดยต้องรอเวลาเกือบสี่ปีที่ร่างกฎหมายประชาชนจะได้เข้าสู่การพิจารณา แต่ท้ายที่สุดร่างฉบับนี้ถูกปัดตกโดยสภาผู้แทนราษฎร ด้วยคะแนนเห็นด้วย 162 เสียง ไม่เห็นด้วย 234 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง ขณะที่