ออกแบบพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ใหม่ ให้ส่งเสริมสังคมสื่อสาร

ออกแบบพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ใหม่ ให้ส่งเสริมสังคมสื่อสาร

เมื่อ 17 มิ.ย. 2552

หลักการ

ไฟล์แนบขนาดไฟล์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550115.93 KB
ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 255062.9 KB
ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 255055.56 KB
เจ้าภาพ : เครือข่ายพลเมืองเน็ต และสมาชิก iLaw
ที่มาภาพ : kyz
 
กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ออกแบบมาเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไทย มีเครื่องมือสืบสวนสอบสวนในคดีที่ทำความผิดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การส่งข้อมูลขยะ การลักลอบเข้าระบบคอมพิวเตอร์
 
ปี 2550 เป็นครั้งแรกที่พ...คอมพิวเตอร์ ถูกประกาศใช้ แต่นับจนวันนี้ ยังไม่เคยมีข้อมูลใดที่ยืนยันได้ว่า กฎหมายฉบับนี้มีผลในการคุ้มครองคนในสังคมและช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจาก อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้ การแฮกเว็บไซต์ของรัฐเกิดขึ้นแทบจะทันทีภายหลังกฎหมายถูกประกาศใช้ เกือบสองปีผ่านไปก็ยังไม่พบว่า กลไกตามกฎหมายนี้จะช่วยทำให้จับคนผิดได้
ในทางตรงกันข้าม นอกจากพ... คอมพิวเตอร์จะไม่ช่วยแก้ปัญหา แต่กลับพบว่า ในตัวของกฎหมายเองก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ
 
iLaw ร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) จัดวงประชุมถกเกี่ยวกับผลกระทบจากพ...คอมพิวเตอร์ ได้ข้อสรุปถึงปัญหาในกฎหมายฉบับนี้ ดังนี้
 
1) ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นบนอินเทอร์เน็ต
ทั้งที่วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เน้นที่วิธีการพิจารณาความผิดผ่านระบบ คอมพิวเตอร์ แต่กลับพาดพิงถึง "เนื้อหา" ซึ่ง ไปกินความทับซ้อนกับกฎหมายอื่นเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น กฎหมายอาญา ทำให้การกระทำบนโลกออนไลน์ต้องรับโทษซ้ำซ้อนทวีคูณ ถูกเพิ่มกระทงความผิด ซึ่งเรื่องนี้ เกินเลยไปกว่าวัตถุประสงค์เดิมของการออกกฎหมาย ที่ควรเน้นเรื่อง "เทคนิควิธี" เพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับสืบสวนสอบสวน แต่กลับเน้นที่ "เนื้อหา" แล้วนิยามความผิดและการลงโทษ (มาตรา 14,16 และ 20)
 
2) ส่งเสริมบรรยากาศของการปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร
กฎหมายนี้ผลักภาระความรับผิดชอบให้ "ผู้ให้บริการ" จนอาจทำให้ผู้ให้บริการปิดกั้นตัวเอง เพราะกฎหมายนี้กำหนดให้ผู้ให้บริการทุกระดับมีส่วนในการรับผิดชอบเนื้อหา กล่าวคือ แม้มิได้เป็นผู้สร้างเนื้อหานั้นๆ บนอินเทอร์เน็ต แต่ในฐานะที่เป็นผู้ที่ทำให้บุคคลใดๆ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบ ด้วยการตรวจตรากลั่นกรองเนื้อหา และเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการ (เก็บ log file) (มาตรา 15)
 
3) เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจสูงมากเกินไป (มาตรา 18)
 
4) กฎหมายเปิดอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้วิจารณญาณของตนพิจารณาสั่งฟ้องได้ ประกอบกับถ้อยคำภาษาหลายๆ จุดในกฎหมายนี้ กำหนดลักษณะความผิดจากการถูก "รบกวน" ดัง นั้น การไม่จำกัดอำนาจการฟ้องเพียงแค่ผู้เสียหาย แต่เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐสั่งฟ้องได้ เรื่องนี้จึงสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวในสังคมการสื่อสาร (มาตรา 10,11 และ 18)
 
อย่างไรก็ดี ความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์ยังต้องการข้อเสนอจากคนในวงกว้างขึ้น ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายพลเมืองเน็ตจึงเปิดประเด็นถกเถียงเพื่อจะนำไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550 ในประเด็นต่อไปนี้
 

 

ความเป็นมา: 
0

Comments

3
webmaster's picture
ถูกต้องค่ะ มันต้องชัดเจน...ชี้ชัดลงไป
0
kimhan35's picture
กฎหมายมันนักเกินครับ ปิดกั้นเสรีภาพมากๆๆ
5
thechat's picture
ขอร่วมคิด
ในฐานะที่ทำงานอยู่ในองค์กรที่ถือเป็นผู้ให้บริการ Access Service Provider ตามประกาศกระทรวง ICT ฉบับข้างต้น มีความเห็นว่า สิ่งที่ประกาศนี้บอกให้ access provider เก็บ ซึ่งเขียนอ้างอิงตาม RADIUS accounting log ที่ออกมาจากอุปกรณ์ประเภท RAS (remote-access server) นั้นเป็นการจำกัดมากเกินไป การให้บริการหลายอย่างไม่มีลักษณะ logon-logoff เช่นนั้น เช่น การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่ายแลนในออฟฟิศ ทำให้หน่วยงานต่างๆ หรือแม้กระทั่งร้านกาแฟที่ให้บริการ WiFi ฟรี ขาดหลักเกณฑ์อ้างอิง มีการตีความไปต่างๆนาๆ ว่าถ้าเช่นนั้นควรจะเก็บอะไร เก็บอย่างไรจึงจะเป็นไปตาม พรบ. เปิดช่องให้ผู้ผลิตอุปกรณ์เพื่อการเก็บข้อมูลจราจรฯ ตีความไปในทางที่ว่า ต้องเก็บอย่างละเอียด ต้องใช้อุปกรณ์ที่ตนผลิตขึ้น เพื่อให้ comply พรบ.



ซึ่งหากมองภาพกว้างๆ ผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ บางรายก็มีส่วนร่วมในกระบวนการร่าง พรบ. นี้ด้วยเช่นกัน หากไม่มองในแง่ลบ ก็อาจจะคาดหมายได้ว่า ท่านเหล่านั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ซึ่งคงจะต้องให้ความเห็นเรื่องต่างๆเหล่านี้อยู่แล้ว



แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการเก็บ internet access log ที่เกิดจากการใช้งานของผู้ใช้งานผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ (ไม่ใช่ Log ที่เกิดทางฝั่ง server ที่ให้บริการ) ที่อ้างว่าสามารถเก็บข้อมูลได้ครอบคลุมตามที่ พรบ. กำหนดนั้น มีราคาหลักแสนบาท หรืออย่างต่ำๆ ก็หลายหมื่นบาท เป็นการผลักภาระให้แก่องค์กรต่างๆ ไม้เว้นแม้แต่ร้านกาแฟ ซึ่งให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ไม่มีรายได้จากการให้บริการอินเตอร์เน็ต แต่ถ้าจะเก็บ Log File ให้ได้รายละเอียดตามที่กฎหมายกำหนด กลับต้องจ่ายเงินหลายหมื่นบาท อุปกรณ์พวกนี้บางประเภทใช้หลักการเก็บ session data ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่ซอฟต์แวร์ใดๆ เริ่มหรือเลิกการติดต่อกับ server ซึ่งแม้จะเป็นผู้ใช้งานเพียงรายเดียวก็จะเกิดขึ้นได้หลายครั้งใน 1 วินาที นับเป็นปริมาณข้อมูลที่มากโขอยู่

อยากให้การเก็บข้อมูลดังกล่าวควรจะวางกรอบแนวคิดคร่าวๆ แทนที่จะลงรายละเอียดโดยอิงกับระบบใดระบบหนึ่ง และให้มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ มีความชัดเจนที่จะสามารถตีความได้ง่าย และไม่สร้างภาระต้นทุนเพิ่มแก่ธุรกิจมากเกินไปนัก
3
isAMare's picture
น่าจะตัดมาตรา 14 และ 15 ออก เพราะมันเป็นความผิดด้านเนื้อหา ซึ่งก็ซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่แล้ว
1
bact's picture
เห็นด้วย
2
bact's picture
เห็นด้วย ว่าละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

และมาตรา 15 ซึ่งทำให้ผู้ให้บริการต้องรับผิดด้วย
ยิ่งกระทบต่อการสื่อสาร การแสดงความคิดเห็น
เพราะผู้ให้บริการมีแนวโน้มจะเซ็นเซอร์หรือป้องกันตัวเองไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย
(ซึ่งก็ไปว่าเขาไม่ได้ ก็กฎหมายมันมาเป็นแบบนี้)
3
bact's picture
อะไรที่มีอยู่ในกฎหมายอื่นอยู่แล้ว ก็ตัดออกไปให้หมด
4
bact's picture
ตอบไม่ได้ ไม่รู้ว่าตัวเลข 90 วันมาจากไหน ใช้อะไรเป็นหลักเกณฑ์

อีกเรื่องคือ การกำหนดระยะเวลา เมื่อมีขั้นต่ำสุดแล้ว ต้องมีขั้นสูงสุดด้วย ว่าไม่เกินเท่าไหร่
เพื่อไม่ให้เก็บเยอะเกินไป จนละเมิดหรือเป็นอันตรายต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ
4
girlfriday's picture
อ่านจากกฎหมายแล้ว เข้าใจว่านี่คือการกำหนดขั้นสูงสุดนะ ไม่ใช่ต่ำสุด คือเป็นเพดานไว้ว่า ให้เก็บล็อกไว้ 90 วัน เลยจาก 90 วันก็ไม่ต้องบันทึกแล้ว
5
bact's picture
wifi สำหรับใช้ในครัวเรือน ไม่ต้องเก็บ
จะแบ่งข้างบ้านใช้ด้วย
6
bact's picture
การยึดอายัดระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะด้วยความผิดตามพ.ร.บ.ใดก็ตาม ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน

เพื่อเลี่ยงการเลือกใช้กฎหมายตัวอื่นที่ไม่ใช่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะได้ยึดอายัดระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องทำสำเนาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล การตรวจยัน ฯลฯ
7
bact's picture
เอาตามจริง เรื่องนี้ควรจะทำไปตามกฎหมายอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว
ไม่ใช่ออกเป็นเรื่องเจาะจงเฉพาะคอมพิวเตอร์

แต่โดยหลักการ เจ้าหน้าที่รัฐควรจะมีสิทธิฟ้องเฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับประโยชน์ของรัฐ ประโยชน์ของสาธารณะเท่านั้น -- ในฐานะตัวแทนผู้เสียหาย

เรื่องอื่น ๆ ก็ให้ผู้เสียหายแตละคนเขาจัดการกันเอง
6
bact's picture
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็สำคัญ
1
domaman's picture
เห็นด้วย .. และควรยกเลิกบทลงโทษอาญาด้วย
3
opop's picture
มาตรา 15 ทำให้ผู้ให้บริการได้รับผลกระทบมาก เดือดร้อน แต่มันก็อาจจะจำเป็นสำหรับผู้ให้บริการที่จงใจมีส่วนรู้เห็นกับข้อความที่ผิดทั้งหลาย โดยไม่ยอมลบออก
4
ผมว่าตัดสินไม่ได้เช่นกัน
สมมติว่า คนทำความผิดไว้ และ Log File ถูกเก็บไว้แล้ว
แต่เพิ่งมีึคนมาแจ้งจับและต้องการตรวจสอบ Log File แต่ดันมาตรวจสอบหลังวันที่90 นับตั้งแต่วันที่ผู้กระทำความผิด ได้กระทำไว้ สุดท้ายก็ไร้หลักฐาน

แต่ถ้าเก็บนานกว่า 90 วัน ฐานข้อมูลก็จะเยอะมากจนเกินที่ระบบจะรัับไหว

ทุกอย่างยังมีช่องโหว่เสมอครับ
8
jeremy's picture

ขอแหกคิวนิดนึงนะคับ ช่วยกันออกความเห็นเรื่องกฎหมาย ICT ควรจัดตั้งศาลชำนาญพิเศษเฉพาะและใช้ระบบลูกขุนในการตัดสินพิจารณาคดีด้วยคับ http://ilaw.or.th/node/634

2

ไม่เขียนซะเลยว่า บ้านใหนมีคอมพิวเตอร์ไว้ในครอบครองถือว่าพยายามทำผิดกฎหมาย

2

Muskelaufbau | Ersatzteile Kühlschrank | Werbeagentur Suhl 4) กฎหมายเปิดอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้วิจารณญาณของตนพิจารณาสั่งฟ้องได้ ประกอบกับถ้อยคำภาษาหลายๆ จุดในกฎหมายนี้ กำหนดลักษณะความผิดจากการถูก "รบกวน" ดัง นั้น การไม่จำกัดอำนาจการฟ้องเพียงแค่ผู้เสียหาย แต่เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐสั่งฟ้องได้ เรื่องนี้จึงสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวในสังคมการสื่อสาร (มาตรา 10,11 และ 18) อย่างไรก็ดี ความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์ยังต้องการข้อเสนอจากคนในวงกว้างขึ้น ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายพลเมืองเน็ตจึงเปิดประเด็นถกเถียงเพื่อจะนำไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในประเด็นต่อไปนี้ it service berlin | Creatin | Sportnahrung Test

7
0
7

ควรให้อำนาจเฉพาะผู้เสียหาย หากให้อำนาจรัฐทั้งหมดแล้ว เท่ากับว่ารัฐมีอำนาจอย่างมากในการดำเนินคดีกับใครก็ได้ และการกำหนดให้เฉพาะผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง ทำให้กฎหมายมีความยืดหยุ่น