นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา กรุงเทพมหานคร กลายเป็นหนึ่งในที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะอย่างต่อเนื่อง และหลายครั้งเจ้าหน้าที่รัฐมีการใช้กำลังหรือความรุนแรงกับผู้ชุมนุม ดังนั้น การทำหน้าที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนจึงเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในวาระที่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ใกล้เข้ามาทุกขณะ iLaw จึงชวน "รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล" จากกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม มานั่งดูนโยบายและวิสัยทัศน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ว่าจะมีวิธีการจัดการและดูแลการชุมนุมสาธารณะอย่างไร
หมายเหตุ: เนื้อหานโยบายผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. มาจากเวที"กรุงเทพ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" เวทีเปิดแนวคิดผู้สมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ที่ร่วมจัดโดย ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ สโมสรนิสิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตรีคอเดอร์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มูลนิธิอิสรชน กลุ่มเส้นด้าย และ Mob Data Thailand สำนักข่าว The Reporters ข่าว 3 มิติ และ AIS PLAY