เข้าคูหา จับตา การเลือกตั้ง 2566 Protect Our Vote

 

 

ประชาชนพร้อมกันหรือยังสำหรับการเลือกตั้ง’66
 
ตอนรับเข้าสู่ปีใหม่ 2566 ด้วยบรรยากาศเดินหน้าสู่การเลือกตั้งครั้งใหญ่ไม่เกินเดือนพฤษภาคม ขณะที่พรรคการเมืองกำลังเตรียมตัวหาเสียง ประชาชนเจ้าของประเทศเองก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ด้วย
 
ระบบการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยนอีกครั้ง เป็นระบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ส.ส.เขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน ส่วนระบบแคนดิเดตว่าที่นายกฯ ของพรรคการเมืองยังเหมือนเดิม ส่วนที่ยังขาดความชัดเจนในรายละเอียดสำคัญ คือ การแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่ ประชาชนเองจึงต้องช่วยกันทำความเข้าใจและกระจายความรู้เรื่องระบบเลือกตั้งให้มากที่สุด เพื่อให้เข้าคูหาและให้ทุกเสียงมีความหมาย
 
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ยังคงมีอำนาจของระบอบ คสช. ที่ครอบงำการเลือกตั้งอยู่มากไม่ต่างจากการเลือกตั้งในปี 2562 ทั้ง ส.ว. ที่มาจากการคัดเลือกของคสช.​ และยังมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี ทั้ง กกต. ทั้ง 7 คน ที่มาจากระบบการคัดเลือกของคสช. รวมทั้งกฎหมายลูก กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องที่ออกมากำกับดูแลการเลือกตั้งทั้งหลายด้วย ดังนั้น การเลือกตั้งที่จะถึงก็คงจะไม่ใช่ “ธรรมดา”​ และเพื่อปกป้องให้ทุกคะแนนเสียงถูกนับอย่างถูกต้อง ประชาชนอาจต้องมีภารกิจมากกว่าการเข้าคูหาไปออกเสียง
 
การเข้าคูหา และ “จับตา” การเลือกตั้งที่จะถึงเป็นภารกิจสำคัญ
ไม่ใช่เพียงหน้าที่ของพรรคการเมือง ไม่ใช่หน้าที่ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เจ้าของคะแนนเสียงทุกคนต้องช่วยกัน
 
We Watch, Act Lab, ทะลุฟ้า, iLaw ชวนทุกคนมาพบกัน มาพูดคุยกันที่ห้องอเนกประสงค์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร วันที่ 11 มกราคม 2566 เวลา 13.00-16.30 น. เพื่อทำความเข้าใจและเตรียมตัวสำหรับภารกิจจับตาการเลือกตั้งที่ใกล้จะเกิดขึ้น เพราะมีอะไรต้องทำหลายอย่างจริงๆ

 
 
กำหนดการ
 
12.30 - 13.00     เริ่มลงทะเบียนเข้างาน และเริ่มกิจกรรมจำลองการเข้าคูหาเลือกตั้ง

13.00 - 13.30     การแสดงดนตรี

13.30 - 14.00     อ่านแถลงการณ์จากเครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง 66
 
14.00 - 15.45     เสวนาวิชาการ “เข้าคูหา จับตา เลือกตั้ง 66”
  • รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
  • พงษศักดิ์ จันทร์อ่อน เครือข่ายเยาวชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย
  • ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                  ดำเนินรายการโดยดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
 
15.45 - 17.00     กิจกรรมจำลองการนับคะแนนหน้าหน่วยเลือกตั้ง จำลองฝึกการสังเกตการณ์โดยประชาชน และสรุปปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในการเลือกตั้ง 66