วันที่ 11 มกราคม 2566 เวลา 13.00-16.00 น. เครือข่ายภาคประชาชน โดย iLaw, We Watch, ACTLAB และ ทะลุฟ้าจัดกิจกรรม "เข้าคูหา จับตา การเลือกตั้ง 2566 Protect Our Vote" เป็นการแถลงเจตนารมณ์ร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมรวม 101 องค์กรในนาม “เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566” เชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมการสังเกตการณ์การเลือกตั้งทั่วไปที่กําลังจะมาถึง โดยลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครหรือส่งข้อมูลความผิดปกติหรือสถานการณ์การเลือกตั้งในเขตของตนเองทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังวันเลือกตั้งให้กับ “เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566”ผ่านทางเว็บไซต์ Vote62.com นอกจากนี้ยังมีข้อเรียกร้องไปยังองค์กรจัดการการเลือกตั้งอย่างกกต.ที่ต้องทำหน้าที่ให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม เอื้ออำนวยร่วมมือในการสังเกตการณ์การเลือกตั้งทุกภาคส่วน และให้รัฐบาลสร้างบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยก่อนการเลือกตั้ง (อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มตามไฟล์แนบ)


กิจกรรมภายในงานที่สำคัญวันนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ วงเสวนาเกี่ยวกับการเลือกตั้งในปี 2566 และการจำลองการเลือกตั้ง เปิดให้ประชาชนที่มาร่วมงานลงคะแนนเลือกตั้งและซักซ้อมการนับคะแนนเพื่อให้ประชาชนเห็นถึงวิธีการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง

ทวงคืนพื้นที่ประชาชนสังเกตการณ์เลือกตั้ง ช่วยเลือกตั้งโปร่งใสขึ้น
ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ระบบเลือกตั้งที่แตกต่างไปจากการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ทำให้ประเด็นเรื่องการจัดการเลือกตั้ง ระบบเลือกตั้ง และการเลือกนายกรัฐมนตรีหลังเลือกตั้ง เปลี่ยนแปลงไปพอสมควร ไม่ว่าจะการเปลี่ยนบัตรเลือกตั้งเป็นบัตรสองใบคือ บัตรแบบแบ่งเขตและพรรคการเมือง การเลือกตั้งในปี 2562 มีหลักการที่ผิดเพี้ยนไปคือ พรรคพลังประชารัฐที่มีส.ส. 116 เสียงจากส.ส. 500 คน แต่ผลักดันให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีจากการสนับสนุนของ ส.ว. 250 คน แต่ภูมิทัศน์ในแง่ของตัวผู้เล่นปัจจุบันแตกต่างออกไป

“ผมฟังท่านนายกฯ ปราศรัยเมื่อวานนี้บนเวที ข้อสำคัญคือ ท่านบอกว่า ท่านเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความเท่าเทียม ผมก็สงสัยว่า เราเท่าเทียมกันอย่างไร ในเมื่อท่านมีส.ว.ที่ท่านเลือกไว้ ถ้าท่านจะเท่าเทียมจริง เอาล่ะ ถ้าท่านยึดในมั่นในระบอบประชาธิปไตยจริงแล้วท่านปฏิวัติทำไมเมื่อแปดปีที่แล้ว ถ้าท่านยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย แต่ข้อสำคัญคือ ส.ว.ของท่าน ถ้าท่านยืนยันที่แล้วก็แล้วไป จากนี้ไปท่านประกาศได้ไหมว่า ส.ว.จะไม่ยุ่งเกี่ยวให้ประชาชนตัดสิน หากท่านเป็นเสียงข้างมาก โอเคท่านเป็นนายกฯ ต่อไป พรรคไหนได้เสียงข้างมากก็เป็นรัฐบาลไป ไม่ใช่เป็นนายกฯ ด้วยเสียงส.ว.ของท่าน...”
ระบบเลือกตั้งเป็นบัตรสองใบเกี่ยวข้องกับปัญหาของการเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมา ระบบแบบปี 2562 นั้นมีบัตรใบเดียวคือ บัตรแบบเขตทำให้มีผู้สมัครมากในหนึ่งเขต จากปกติ 7-8 คนเพิ่มเป็น 28 คน มากสุดหนึ่งเขตมี 44 คน เหตุเช่นนี้เพราะคะแนนแบบแบ่งเขตจะนำมาคำนวณ ส.ส.พึงมี ใช้เขตแสวงหาคะแนนให้พรรคการเมือง เมื่อผู้สมัครมากขึ้นส่งผลให้บัตรเลือกตั้งมีรายละเอียดมากขึ้น การจัดการเลือกตั้ง กกต.ผิดพลาดเยอะมาก เช่น เรื่องคุณสมบัติในการสมัครซึ่งมีหลุดบ้างเนื่องจากผู้สมัครมีจำนวนมากจากหลักพันเป็นหลักหมื่น ผศ.ดร.ปริญญา เชื่อว่าเมื่อเปลี่ยนระบบมาเป็นบัตรสองใบข้อผิดพลาดจะลดลง

หลักการของการเลือกตั้งซึ่งมาตั้งแต่มี กกต.ในปี 2540 วางอยู่บนหลักการเลือกตั้งจะโปร่งใสได้ก็ต่อเมื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งมีชัย ฤชุพันธุ์ตัดหมดและนำผู้ตรวจการเลือกตั้งมาแทน เลิกกกต.จังหวัด ตัดภาคประชาชนทิ้งไป มีวิธีการพิสดารต่างๆ จนเกิดปัญหาเยอะ เขาเชื่อแบบราชการเลยให้ราชการมาตรวจ เขาไม่เชื่อประชาชนเลยตัดประชาชนทิ้ง ปัจจุบันกฎหมายยังไม่เปลี่ยน แต่จากการพูดคุยเชื่อว่า สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นปัญหาดังกล่าว และการนำหลักการการสังเกตการณ์กลับมาจะทำให้ป้องกันการโกงได้ แต่จนถึงตอนนี้ กกต.ยังไม่พูดออกมา ดังนั้นเครือข่ายภาคประชาชนควรเข้าไปหาและขอเข้าไปมีส่วนร่วม เราไม่มีอะไรมากเลย ขอเพียงให้ประชาชนเลือกอย่างไรให้ผลออกมาตามนั้น ในแง่ของนโยบายสำนักงานกกต.น่าจะมีการเปิดกว้างมากกว่าครั้งที่ผ่านมา
“ผมคิดว่าเครือข่ายภาคประชาชนต้