ประยุทธ์-ชวน ตัวตึงใช้เทคนิคยุบสภาก่อนครบวาระ ชิงความได้เปรียบก่อนเลือกตั้ง

ประยุทธ์-ชวน ตัวตึงใช้เทคนิคยุบสภาก่อนครบวาระ ชิงความได้เปรียบก่อนเลือกตั้ง

เมื่อ 9 พ.ค. 2566
“การยุบสภา”  เป็นเครื่องมือหนึ่งของรัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหารที่ใช้ถ่วงดุลอำนาจกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ผู้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติในระบบรัฐสภา เมื่อมีการยุบสภา สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นที่จะพ้นวาระก่อนครบกำหนด อันถือเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะช่วยยุติความขัดแย้งทางการเมืองผ่านการให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินในการเลือกตั้งครั้งใหม่ อย่างไรก็ตาม การยุบสภาบางครั้งจุดประสงค์ที่แท้จริงอาจไม่ใช่เพราะต้องการคืนอำนาจให้แก่ประชาชนเพียงอย่างเดียว แต่อาจแฝงเล่ห์กลเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมืองบางอย่างโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
 
 
รัฐธรรมนูญ 60 เปิดช่องให้ยุบสภาไปก่อน วันเลือกตั้งตามมาทีหลัง  
 
 
อำนาจการยุบสภาถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไทยฉบับถาวรตั้งแต่ปี 2475 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยหลักการเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ในทางปฏิบัติการยุบสภาต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาโดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ถวายคำแนะนำ และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ผลของการยุบสภานอกจากจะทำให้สภาผู้แทนราษฎรทำงานต่อไม่ได้แล้ว คณะรัฐมนตรีเองก็ต้องพ้นจากตำแหน่งเช่นเดียวกัน แต่ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าจะมีชุดใหม่เข้ามาแทน 
 
รัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับปัจจุบัน บัญญัติเรื่องยุบสภาไว้ในมาตรา 103  “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทําโดยพระราชกฤษฎีกา และให้กระทําได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน ภายในห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งใช้บังคับ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศกําหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ วันเลือกตั้งนั้นต้องกําหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร”
 
หากเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปีก่อน ๆ จะพบความแตกต่างในรายละเอียดบางอย่าง อาทิ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 (มาตรา108) มีเนื้อความบัญญัติในวรรคสองว่า “การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทําโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกําหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เปนการเลือกตั้งทั่วไป…” หมายความว่า หากมีการยุบสภาก็ต้องประกาศวันเลือกตั้งพร้อมกันทันที ทำให้เมื่อมีการยุบสภาในช่วงที่ยังบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนั้น คือ การยุบสภาครั้งที่ 13และ การยุบสภาครั้งที่14 ได้มีการกำหนดวันเลือกตั้งว่าเป็นวันที่เท่าไรลงในพระราชกฤษฎีกายุบสภาด้วย
 
ซึ่งในรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่มีการติดเงื่อนไขนี้ไว้ ทำให้แม้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยุบสภา แล้ว แต่เราได้รู้วันเลือกตั้งใหม่ก็ตอนที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศวันให้ทราบหลังจากวันที่มีการยุบสภา เหตุที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดไว้เช่นนี้ สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ความวุ่นวายก่อนการเลือกตั้งปี 2557 เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้เกิดประเด็นถกเถียงเรื่องการเลื่อนวันเลือกตั้งว่าขัดต่อกฎหมายหรือไม่ สุดท้ายจึงนำไปสู่การแก้ไขบทบัญญัติเรื่องยุบสภาในรัฐธรรมนูญปี 2560 ถอดความเดิมเรื่องเงื่อนไขต้องประกาศวันเลือกตั้งทันทีออก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขัดขวางปิดคูหาเลือกตั้ง และเพิ่มความใหม่ตามมาตรา 104 กล่าวคือ กกต.สามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ หากเกิดเหตุจําเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงที่ทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ เพื่อไม่ให้ต้องถกเถียงกันอีกว่าสามารถเลื่อนวันเลือกตั้งได้หรือไม่อย่างที่เคยเกิดขึ้น (อ้างอิง พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย  (นิติพิศวง Ep.18 ยุบสภาฯ แล้วนะจ๊ะ, 20 มีนาคม 2566). 
 
 
 
ยุบสภาแล้วนักการเมืองต่อเวลาหาพรรคใหม่สังกัด แถมเวลาหาเสียงเพิ่มขึ้น
 
 
 
 
 
 
การยุบสภาครั้งล่าสุดให้เหตุผลไว้ว่าเพื่อ “คืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนโดยเร็ว…”  ตามข้อเท็จจริง “โดยเร็ว” ที่ว่านี้เป็นเพียงแค่สามวันก่อนครบกำหนดวาระของสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าการยุบสภาจวนจะครบวาระขนาดนี้ พล.อ.ประยุทธ์มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ เพราะเมื่อมีการยุบสภาแล้ว จะส่งผลให้กรอบระยะเวลาตามกฎหมายบางประเด็นเปลี่ยนแปลงไป (อ่านเพิ่มเติม https://ilaw.or.th/node/6429)
 
การยุบสภาของพล.อ.ประยุทธ์ถูกกังขาว่าเป็นการยื้อเวลาให้กับตัวเอง และพรรคพวก เนื่องจากหากอยู่จนครบวาระการเลือกตั้งทั่วไปจะต้องเกิดเร็วที่สุดคือ ไม่เกินวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 แต่การยุบสภาทำให้วันเลือกตั้งถูกเลื่อนออกไปอีก อีกทั้ง เมื่อพิจารณาบริบทประกอบกับสถานะทางการเมืองของพล.อ.ประยุทธ์ก่อนที่จะประกาศยุบสภา ความสัมพันธ์ที่มีต่อพรรคแกนนำรัฐบาลค่อนข้างระส่ำระส่ายโดยเฉพาะกับพรรคพลังประชารัฐที่ส่งให้เป็นนายกรัฐมนตรีแม้ว่าตนจะไม่ได้เป็นทั้งหัวหน้าพรรค หรือสมาชิกพรรค จนสุดท้ายพล.อ.ประยุทธ์ได้เปิดตัวกับพรรครวมไทยสร้างชาติซึ่งก่อตั้งได้ไม่นาน และฐานทัพยังไม่แน่นพอที่จะลงสู้ศึกเลือกตั้งครั้งใหม่ จึงทำให้เกิดความน่าสงสัยว่าการใช้อำนาจยุบสภาของพล.อ.ประยุทธ์ทำไปเพื่อหวังผลทางการเมืองดึงเวลาให้ฐานทัพใหม่ตัวเองได้ก่อร่างสร้างตัวหรือไม่  โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเปิดโอกาสให้นักการเมืองได้มีเวลาย้ายพรรค และมีเวลาหาเสียงเพิ่มขึ้นจากเงื่อนไขเวลาที่แปรเปลี่ยนจากเดิม โดยสรุปออกมาในแต่ละประเด็นได้ ดังนี้ 
 
1. นักการเมืองมีเวลาย้ายพรรคเพิ่มขึ้น จากเดิมต้องย้ายพรรคก่อน 90 วัน พอมีการยุบสภาระยะเวลานี้ลดลงเหลือ 30 วัน ดังนั้น เมื่อวันเลือกตั้งใหม่กำหนดแน่ชัดแล้วคือ วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ผู้สมัครส.ส. ก็มีเวลาย้ายพรรคถึงวันที่ 14 เมษายน 2566 (เดิมต้องย้ายภายในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 )
 
2. กรอบเวลาหาเสียง 180 วันเป็นอันยกเลิก การคำนวณค่าใช้จ่ายในการหาเสียงจึงคำนวณตั้งแต่วันที่ยุบสภาเพื่อแจ้งต่อกกต. ดังนั้นจึงเป็นผลดีต่อผู้สมัครส.ส. เพราะกรอบเวลาที่อยู่ภายใต้กำกับการหาเสียงนั้นสั้นลง ภาระในการแจ้งค่าใช้จ่ายต่อ กกต. ก็ลดลงตามไป
 
กรอบเวลาตามกฎหมายที่เปลี่ยนด้วยผลจากการยุบสภาก็กลายเป็นเทคนิคให้พล.อ.ประยุทธ์ได้คุมเกม เนื่องจากเหตุผลประการหนึ่งที่พรรครวมไทยสร้างชาติสังกัดใหม่เป็นพรรคใหม่ที่ยังต้องสะสมขุมกำลัง กรอบเวลาสังกัดพรรคการเมืองจึงเป็นตัวการสำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้นักการเมืองย้ายขั้วย้ายข้างมาเป็นกำลังให้ตนได้อย่างไร้กังวล แถมด้วยเวลาหาเสียงที่เพิ่มขึ้น
 
 
ย้อนดูชนวนเหตุยุบสภา 
 
 
 
ประวัติศาสตร์การยุบสภาในไทยจำนวน 14 ครั้ง ก่อนหน้าประกอบไปด้วยเหตุต่างๆ มากมายซึ่งล้วนแล้วแต่มาจากวิกฤติการณ์การเมืองในขณะนั้น แต่น้อยครั้งที่จะมีการยุบสภาตอนรัฐบาลอยู่จนใกล้จะครบวาระ โดยสาเหตุที่ทำให้มีการยุบสภาเกิดขึ้นมีดังนี้
 
1. ฝ่ายบริหารเกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น ไม่ผ่านการออกกฎหมายสำคัญ 
2.  ส.ส. และส.ว. ทำงานร่วมกันไม่ได้
3. มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
4. เพื่อเร่งให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้น
5. ชิงความได้เปรียบทางการเมือง ช่วงรัฐบาลกำลังได้รับความนิยม เป็นต้น
6. จัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศไม่ได้
7. รัฐบาลบริหารประเทศผิดพลาดอย่างร้ายแรง
8. ประชาชนมีการชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา 
 
 
ครั้งที่รัฐบาลวันเลือกตั้งของสภาชุดนี้วันที่สภาครบอายุวันที่ยุบสภารัฐธรรมนูญหลักเกณฑ์กำหนดวันเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
1พันเอก พระยาพหลพลหยุหเสนา  11 ก.ย. 248110 ธ.ค. 2475

ภายใน 90 วัน นับแต่พ.ร.ฎ.ยุบสภาประกาศใช้

2ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช  15 ต.ค. 2488
3
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
26 ม.ค. 2518

25 ม.ค. 2522

12 ม.ค. 25192517
อายุสภาสิ้นสุด: ภายใน 60 วันนับแต่อายุสิ้นสุด (ม.121)
ยุบสภา : ภายใน 90 วัน (ม.122)
4พลเอก เปรม ติณสูลานนท์22 เม.ย. 252221 เม.ย. 25262521
อายุสภาสิ้นสุด : ภายใน 60 วันนับแต่อายุสิ้นสุด (ม.100)
ยุบสภา : ภายใน 90 วัน (ม.101)
518 เม.ย. 252617 เม.ย. 25302 พ.ค. 2529
627 ก.ค. 252926 ก.ค. 253329 เม.ย. 2531
7อานันท์ ปันยารชุน22 มี.ค. 253521 มี.ค. 253930 มิ.ย. 2535
2534
อายุสภาสิ้นสุด : ภายใน 60 วันนับแต่อายุสิ้นสุด (ม.111)
ยุบสภา : ภายใน 90 วัน (ม.112)
8ชวน หลีกภัย13 ก.ย. 253512 ก.ย. 253919 พ.ค. 2538
9บรรหาร ศิลปอาชา2 ก.ค. 2538
1 ก.ค. 2542
28 ก.ย. 2539
10ชวน หลีกภัย17 พ.ย. 2539
16 พ.ย. 2543

9 พ.ย. 2543

(7 วันก่อนสภาครบอายุ)

2540
อายุสภาสิ้นสุด : ภายใน 45 วันนับแต่อายุสิ้นสุด (ม.115)
ยุบสภา : ภายใน 60 วัน (ม.112)
11ทักษิณ ชินวัตร6 ก.พ. 25485 ก.พ. 255224 ก.พ. 2549
12อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ23 ธ.ค. 255022 ธ.ค. 255410 พ.ค. 25542550
อายุสภาสิ้นสุด : ภายใน 45 วันนับแต่อายุสิ้นสุด (ม.107)
ยุบสภา : ไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน (ม.108)
13ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร3 ก.ค. 25542 ก.ค. 25589 ธ.ค. 2556
14พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา24 มี.ค. 256223 มี.ค. 2562

20 มี.ค. 2566

(3 วันก่อนสภาครบอายุ)

 
อายุสภาสิ้นสุด : ภายใน 45 วันนับแต่อายุสิ้นสุด (ม.102)
ยุบสภา : ต้องกำหนดวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน (ม.103)
 
 
ตลอดสี่ปีของการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ และสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 เต็มไปด้วยความขัดแย้งที่สามารถเป็นชนวนเหตุให้ยุบสภาได้อยู่บ่อยครั้ง นับตั้งแต่การเป็นรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ รวมถึงมีการชุมนุมของประชาชนที่เรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ยุบสภาอยู่เป็นระยะ จนกระทั่งปีสุดท้ายก็ยังเกิดปรากฏการณ์ส.ส.พากันไม่เข้าประชุม ทำสภาล่ม จนสาธารณชนมองว่าสภาชุดนี้ไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป แต่พล.อ.ประยุทธ์ก็ยังยื้อเวลาจนเกือบจะครบกำหนดวาระสภา สร้างความน่าสลดใจให้แก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเห็นสภาผู้ทรงเกียรติไม่สามารถผ่านกฎหมายสำคัญให้แก่ประเทศชาติอยู่หลายเดือน มิหนำซ้ำพล.อ.ประยุทธ์ไม่เคยมาตอบกระทู้ถามสดต่อสภาผู้แทนราษฎรด้วยตนเองซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจที่จะรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรโดยสิ้นเชิง
 
อย่างไรก็ตาม การยุบสภาตอนใกล้ครบวาระเคยเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ปี 2543 โดยสาเหตุสืบเนื่องมาจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งรัฐบาลบริหารล้มเหลว ทำให้ส.ส.ลาออกย้ายพรรคกันเป็นจำนวนมากเพื่อกดดัน แต่รัฐบาลก็สามารถดึงเชิงลากยาวยุบสภาก่อนครบวาระสภาผู้แทนราษฎรก่อนเพียงหนึ่งอาทิตย์ (9 พ.ย. 2543) แม้ผลสุดท้ายความพยายามยืดเวลาของรัฐบาลชวนจะไม่ส่งผลอะไรต่อการเลือกตั้งครั้งถัดมา นอกจากความพ่ายแพ้ให้กับพรรคไทยรักไทยที่ได้ที่นั่งไปมากถึง 248 เสียง แต่หากมองเทียบกับรัฐบาลที่นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ แม้จะยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าอนาคตทางการเมืองจะมีจุดจบเป็นอย่างไร แต่การยุบสภาใกล้ๆ กำหนดวาระ ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลไร้เสถียรภาพนี้ ก็สะท้อนให้เห็นถึงความดื้อแพ่งของตัวผู้นำที่ไม่ยอมปล่อยมือจากอำนาจ และสร้างความคลุมเครือโดยใช้อำนาจตามกฎหมายอย่างไร้จิตสำนึกที่จะคืนอำนาจให้ประชาชนได้เลือกตั้งใหม่โดยเร็วอย่างแท้จริง