"Top 6 การเลือกตั้งไทย" ที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาลยาวนานที่สุด

"Top 6 การเลือกตั้งไทย" ที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาลยาวนานที่สุด

เมื่อ 14 มิ.ย. 2566

หลังการเลือกตั้งทั่วไป 2566 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 จนถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2566 ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่สภาวะ ‘ไร้รัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม’ มานานแล้วกว่าหนึ่งเดือนเต็ม ซึ่งสร้างความน่ากังวลให้แก่ทุกฝ่ายในสังคมเป็นอย่างมาก เนื่องจากการไร้รัฐบาลเป็นระยะเวลานานจะยิ่งทำให้ประเทศไร้เสถียรภาพมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเลือกตั้งมาแล้วทั้งสิ้น 27 ครั้ง มีระยะห่างระหว่างวันลงคะแนนออกเสียงจนถึงวันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ยาวนานแตกต่างกันออกไป โดยการเลือกตั้งครั้งที่ทำให้มีรัฐบาลชุดใหม่เร็วที่สุด คือ การเลือกตั้งครั้งที่ 14 ที่จัดให้มีการลงคะแนนในวันที่ 27 กรกฎาคม 2529 จนทำให้ได้รัฐบาลใหม่ในวันที่ 7 สิงหาคม 2529 ซึ่งมี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้ได้รับพระบรมราชโองการการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้นเพียง 11 วันเท่านั้น

 

ขณะเดียวกันการรอคอยรัฐบาลใหม่ที่ยาวนานที่สุดก็เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ คือการเลือกตั้งครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2562 ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยใช้ระยะเวลายาวนานถึง 108 วัน

 

ต่อไปนี้คือหกอันดับการจัดตั้งรัฐบาลในระยะเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลเก่าสู่รัฐบาลใหม่ที่ยาวนานที่สุดของประเทศไทย

 

การเลือกตั้งที่รอผลนาน หกอันดับการมีรัฐบาลใหม่ช้าที่สุดของประเทศไทย

 

จากการรวบรวมข้อมูลระยะเวลาการรอรัฐบาลใหม่ที่ยาวนานที่สุดของประเทศไทยหกอันดับพบว่า การเลือกตั้งที่ใช้เวลายาวนานที่สุดเพื่อให้ได้รัฐบาลชุดใหม่กินระยะเวลาตั้งแต่ 37 วัน จนถึง 107 วัน ดังต่อไปนี้

ลำดับที่ 1: การเลือกตั้งครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ใช้เวลาทั้งสิ้น 107 วันหลังการเลือกตั้ง จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 และใช้เวลา 108 วันหลังการเลือกตั้ง จึงจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2562

 

ลำดับที่ 2: การเลือกตั้งครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ใช้เวลาทั้งสิ้น 37 วันหลังการเลือกตั้ง จึงจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 29 มกราคม 2551 และใช้เวลาทั้งสิ้น 45 วันหลังการเลือกตั้ง จึงจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551

 

ลำดับที่ 3: การเลือกตั้งครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 ใช้เวลาทั้งสิ้น 44 วันหลังการเลือกตั้ง จึงจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งทั้งคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 21 ธันวาคม 2480

 

ลำดับที่ 4: การเลือกตั้งครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 ใช้เวลาทั้งสิ้น 34 วันหลังการเลือกตั้ง จึงจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 และใช้เวลาทั้งสิ้น 42 วันหลังการเลือกตั้ง จึงจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544

 

ลำดับที่ 5: การเลือกตั้งครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 ใช้เวลาทั้งสิ้น 34 วันหลังการเลือกตั้ง จึงจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 16 ธันวาคม 2481 และใช้เวลาทั้งสิ้น 38 วันหลังการเลือกตั้ง จึงจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 20 ธันวาคม 2481

 

ลำดับที่ 6: การเลือกตั้งครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ใช้เวลา 34 วันหลังการเลือกตั้ง จึงจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 5 สิงหาคม 2554 และใช้เวลาทั้งสิ้น 37 วันหลังการเลือกตั้ง จึงจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 9 สิงหาคม 2554

 

 

ค่าเฉลี่ยตั้งรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งแค่ 1 เดือน

ตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนมาสู่ระบอบประชาธิปไตย มีการจัดการเลือกตั้งรวมกันทั้งสิ้น 27 ครั้ง โดยมีเพียงสองครั้งที่หลังเลือกตั้งไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เนื่องจากการรัฐบาล คือ การเลือกตั้งครั้งที่ 22 วันที่ 2 เมษายน 2549 โดยหลังการเลือกตั้งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ หลังจากนั้นคณะรัฐประหารที่นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลินจึงยึดอำนาจ และอีกครั้งคือ การเลือกตั้งครั้งที่ 25 ถูกกำหนดให้จัดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 โดยหลังการเลือกตั้งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ หลังจากนั้นคณะรัฐประหารที่นำพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ยึดอำนาจเช่นกัน 

 

ดังนั้นหากไม่นับการเลือกตั้งครั้งที่ 27 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ประเทศไทยมีการเลือกตั้งซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้จำนวน 24 ครั้ง โดยค่าเฉลี่ยที่คนไทยต้องรอการมีรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งคือ 31 วัน โดยการจัดตั้งรัฐบาลใช้เวลาเร็วที่สุด 11 วัน และช้าที่สุด 108 วัน จากตารางจะเห็นว่าระยะเวลาในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ในการเลือกตั้งส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่เกินสองเดือน มีการเลือกตั้งครั้งเดียวที่ใช้เวลาเกินจากค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่คือการเลือกตั้งปี 2562 ที่เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังการรัฐประหารปี 2557 ที่ใช้เวลาสามเดือนกว่าๆ

 

จำนวนระยะเวลาในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง 

ครั้งที่

วันเลือกตั้ง

ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

วันแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี

รวม

1

15 พฤศจิกายน 2476

16 ธันวาคม 2480

(พระยาพหลพลพยุหเสนา)

16 ธันวาคม 2476

31 วัน

2

7 พฤศจิกายน 2480

21 ธันวาคม 2480

(พระยาพหลพลพยุหเสนา)

21 ธันวาคม 2480

44 วัน

3

12 พฤศจิกายน 2481 

16 ธันวาคม 2481

(จอมพล ป. พิบูลสงคราม)

20 ธันวาคม 2481

38 วัน

4

6 มกราคม 2489 

31 มกราคม 2489

(ควง อภัยวงศ์)

2 กุมภาพันธ์ 2489 

27 วัน

5

25 มกราคม 2491

21 กุมภาพันธ์ 2491

(ควง อภัยวงศ์)

25 กุมภาพันธ์ 2491

31 วัน

6

26 กุมภาพันธ์ 2495

24 มีนาคม 2495

(จอมพล ป. พิบูลสงคราม)

28 มีนาคม 2495

30 วัน

7

26 กุมภาพันธ์ 2500

21 มีนาคม 2500

(จอมพล ป. พิบูลสงคราม)

31 มีนาคม 2500

33 วัน

8

15 ธันวาคม 2500 

1 มกราคม 2501

(พล.อ.ถนอม กิตติขจร)

1 มกราคม 2501

17 วัน

9

10 กุมภาพันธ์ 2512

7 มีนาคม 2512

(พล.อ.ถนอน กิตติขจร)

11 มีนาคม 2512 

30 วัน

10

26 มกราคม 2518

15 กุมภาพันธ์ 2518 

(เสนีย์ ปราโมช)

21 กุมภาพันธ์ 2518

26 วัน

11

4 เมษายน 2519

20 เมษายน 2519

(เสนีย์ ปราโมช)

21 เมษายน 2519

17 วัน

12

22 เมษายน 2522

12 พฤษภาคม 2522

(พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์)

24 พฤษภาคม 2522 

32 วัน

13

18 เมษายน 2526 

30 เมษายน 2526

(พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)

9 พฤษภาคม 2526

21 วัน

14

27 กรกฎาคม 2529

5 สิงหาคม 2529

(พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)

7 สิงหาคม 2529

11 วัน

15

24 กรกฎาคม 2531

4 สิงหาคม 2531

(พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ)

9 สิงหาคม 2531 

16 วัน

16

22 มีนาคม 2535

7 เมษายน 2535 

(พล.อ.สุจินดา คราประยูร)

14 เมษายน 2535

23 วัน

17

13 กันยายน 2535

23 กันยายน 2535

(ชวน หลีกภัย)

29 กันยายน 2535

16 วัน

18

2 กรกฎาคม 2538

13 กรกฎาคม 2538

(บรรหาร ศิลปอาชา)

18 กรกฎาคม 2538

16 วัน

19

17 พฤศจิกายน 2539

25 พฤศจิกายน 2539

(พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ)

29 พฤศจิกายน 2539

12 วัน

20

6 มกราคม 2544

9 กุมภาพันธ์ 2544

(ทักษิณ ชินวัตร)

17 กุมภาพันธ์ 2544

42 วัน

21

6 กุมภาพันธ์ 2548 

9 มีนาคม 2548

(ทักษิณ ชินวัตร)

11 มีนาคม 2548 

34 วัน

22

2 เมษายน 2549 

-

-

ถูกรัฐประหาร

23

23 ธันวาคม 2550

29 มกราคม 2551

(สมัคร สุนทรเวช)

6 กุมภาพันธ์ 2551

45 วัน

24

3 กรกฎาคม 2554 

5 สิงหาคม 2554 

(ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)

9 สิงหาคม 2554

37 วัน

25

-

-

-

ถูกรัฐประหาร

26

24 มีนาคม 2562

9 กรกฎาคม 2562

(พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา)

10 กรกฎาคม 2562

108 วัน

27

14 พฤษภาคม 2566

-

-

รอ กกต. รับรองผล