3 ปี ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน: อยุติธรรม ความรุนแรง และการลอยนวล

 
 
16 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 3 ปีของการปฏิบัติงานของภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นภายหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่แยกปทุมวันเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563 โดยการรวมตัวกันระหว่างนักกฎหมาย ทนายความ นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อเรียกร้องให้รัฐอยู่ภายใต้กฎหมาย เคารพสิทธิเสรีภาพ หยุดการใช้ความรุนแรง สร้างวัฒนธรรมการแสวงหาความจริง ความรับผิดชอบ และการชดเชยเยียวยา ผ่านการรณรงค์และให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
 
ตลอดการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ภาคีฯ ให้ความช่วยเหลือด้านคดีแก่ผู้เสียหาย อย่างน้อย 38 คดี และให้ความช่วยเหลือแจ้งความดำเนินคดีหรือร้องเรียนตามกลไกอื่นอีกอย่างน้อย 20 คดี โดยคดีจำนวนมากเกี่ยวพันกับการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรม การจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยเกินจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน การใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม การหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย หรือแม้แต่การถูกยิงเสียชีวิตในพื้นที่ชุมนุมอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ
 
ในโอกาสครบรอบ 3 ปีของการดำเนินงานนี้ ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน โดยความร่วมมือกับองค์กรสิทธิมนุษยชน 9 องค์กร และสถาบันวิจัยทางสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาและนิทรรศการภาพถ่าย “3 ปีภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน: อยุติธรรม ความรุนแรง และการลอยนวล” เพื่อเผยแพร่รายงานการปฏิบัติงานในภาพรวมและข้อเสนอต่อประชาชน ภาคประชาสังคมและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งเพื่อสร้างความตระหนักและร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ไม่ให้ถูกลืมเลือน
 
“3 ปีภาคีนักกฎหมายมนุษยชน: อยุติธรรม ความรุนแรง และการลอยนวล”
18 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00 – 16.00 น. ห้องโถงชั้นล่าง อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน: https://forms.gle/DganoR3Y4zgctLnEA
 
กำหนดการ
 
ตลอดทั้งงาน นิทรรศการภาพถ่ายครบรอบ 3 ปี ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
 
10.00 – 10.15 น. กล่าวเปิดงาน
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ อุปนายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
 
10.15 – 10.15 น. นำเสนอรายงานปฏิบัติงานครบรอบ 3 ปี ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ชล คีรีกูณฑ์ เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กรและงานข้อมูล สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
 
11.00 – 12.00 น. เสวนาในหัวข้อ “บทบาทหน้าที่พลเมืองและสื่อมวลชนกับการชุมนุมในสถานการณ์ฉุกเฉินไปสู่สถานการณ์ปกติ”
๐ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ผู้ฟ้องคดีเพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงและคดีสลายการชุมนุมของกลุ่มราษฎรหยุดเอเปค 2022
๐ พงษ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ พยานคดีผู้สื่อข่าว
๐ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ผู้เสียหายจากการถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงในการเข้าจับกุมและสลายการชุมนุม
๐ ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ ผู้ฟ้องคดีเจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังจับกุมเกินกว่าเหตุ
๐ เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวประชาไท ผู้ดำเนินรายการ
 
13.00 – 15.00 น. เสวนาในหัวข้อ “น้ำ แก๊ส กระสุนยาง ประชาชนได้อะไร สู่ขอบเขตการตีความในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ จากการดำเนินคดีของภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน”
 
๐ ดร.พัชร์ นิยมศิลป อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๐ ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยทางสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๐ สัญญา เอียดจงดี ทนายความ สำนักงานกฎหมาย ไรซิ่ง ซัน
๐ ศุภมาศ กัญญาภัคโภคิน ทนายความสิทธิมนุษยชน
๐ คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายความ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
๐ สุทธิเกียรติ คชโส ทนายความ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
๐ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ผู้ดำเนินรายการ
 
15.00 – 15.30 น. อภิปรายแลกเปลี่ยน
 
16.00 น. จบงาน