เอา วิชา ศีลธรรม กลับเข้าหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทย หัวใจ ไม่ไร้ศีลธรรม

เอา วิชา ศีลธรรม กลับเข้าหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทย หัวใจ ไม่ไร้ศีลธรรม

jayjay เมื่อ 5 มี.ค. 2554

ทุกวันนี้ เราต่างใช้ชีวิตกันอย่างเห็นแก่ตัว และ ละเลยการสร้างจิตสำนึกเพื่อสังคม เราต่างแข่งขันกันทำงาน แข่งขันกันหาเงิน หาความสุขใส่ตัว ทั้งๆ ที่บางครั้ง อาจมีคนที่ต้องเดือดร้อน และลำบากเพราะการกระทำของเราเป็นจำนวนมาก โดยที่คนเหล่านั้นไม่สามารถเรียกร้อง กับใครได้เลย หากเด็กรุ่นใหม่ยังขาดศีลธรรม และจิตสำนึกเพื่อสังคม อนาคตประเทศเราจะเป็นอย่างไร โปรดนำ วิชา ศีลธรรม ที่เคยเอามันออกไปจากหลักสุตร กลับมาอีกครั้งเถอะครับ ทุกวันนี้เราเรียนรู้วิชาการมากเกินพออยู่แล้ว จนเราลืมไปว่า เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างเหมาะสม ในฐานะผู้ให้ และ ผู้รับ ที่ถูกต้อง เพื่อเด็กๆ จะได้โตเป็นผุ้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป

คุณแสดงความคิดเห็นว่า
Vote
Get Adobe Flash player

Comments

yingcheep's picture

จำได้ว่าตอนประถมเรียนวิชาชื่อ จริยธรรม ได้คะแนนง่ายมาก กราบเบญจางคประดิษฐ์ให้ถูกต้องก็พอ แต่ไม่ว่าชื่ออะไรน่าจะเป็นเรื่องดี

เห็นต่างบ้าง ที่ว่า ให้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อการเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เพราะวิชานี้ตอนเป็นเด็ก เรียนไปไม่สนใจเท่าไร ไม่ได้เรียนรู้อะไรขนาดนั้น การจะได้สิ่งนั้น น่าจะส่งเสริมพื้นที่การทำกิจกรรม การแสดงออก ในสิ่งที่เด็กสนใจเองมากกว่า

สุดท้าย กลัวเล็กๆ ด้วยว่า ถ้ามีการสอนวิชานี้ "ศีลธรรม" ในหลักสูตรที่จะต้องสอน จะมีหน้าตาเหมือนกันทั่วประเทศ เขียนโดยกระทรวงศึกษา ซึ่งจะเป็นศีลธรรมของคนกลุ่มเดียว ทั้งๆ ที่ประเทศนี้มีวิธีคิดเรื่องความดีงามในสังคมที่หลากหลายกว่านั้น ตามแต่วัฒนธรรมท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ของผู้คน

Aowpow's picture

ศีลธรรม ของใคร ?

radandrad's picture

จริงแล้วๆวิชาศึลธรรมไม่จำเป็นต้องสอนแบบโดดๆเดี่ยวๆล้วนๆสอนไปเด็กก็คงเบื่อๆงงๆเป็นธรรมดาให้ใช้คำสอนสอดแทรกเข้าไปในทุกวิชาดีกว่าเช่นวิชาคณิตศาสตร์พ่อให้เงิน 100 บาทซื้อขนม 10 บาท บริจาคน้ำท่วม 10 บาท ให้คนตาบอด 10 บาท ฝากธนาคาร 50 บาท ซื้อของไปถวายพระ 20 บาท ทุกอย่างลงบัญชีหมด ครูตรวจ พ่อ  แม่  น้อง ลุง ป้า น้า อา  เพื่อน ตรวจ เซ็นซื่อ  ทำเป็นกิจวัตร ทำอย่างนีไม่เป็นคนดีวันนี้จะเป็นคนดีวันไหน  เก่ง  ดี  มีสุข  

พ่อให้เงิน 100 บาท   ให้นึกถึงความทุกยากของพ่อที่หาเงินมาให้เรา เงินทองมันหายาก ต้องรักพ่อแม่มากๆ ทดแทนบุญคุณอย่าได้ขาดเป็นต้น

ซื้อขนม 10 บาท กินแค่นี้พอแล้ว ประหยัดบ้างอยู่อย่างพอเพียง เก็บไววันข้างหน้าบ้างเป็นต้น

บริจาคน้ำท่วม 10 บาท  เรามีแค่นี้ คนอื่นที่เขาไม่มียังมีอีกมากเขาเดือดร้อนเราต้องช่วยเขาเป็นคนดีมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผ่ยแพร่เป็นต้น

ให้คนตาบอด 10 บาท เขามองไม่เห็นอย่างน้อยเราคนหนึ่งละที่ช่วยต่อชีวิตให้เขาดีกว่าไปซื้อลูกอมกินเป็นเบาหวานถามหาฟันผุด้วยอะไรก็ว่าไป555555

ฝากธนาคาร 50 บาท ออมไหว้ลูกอีกหน่อยไม่มีพ่อแม่แล้วลูกๆจะพึ่งใครอย่างน้อยเริ่มเก็บตั้งแต่ตอนนี้จะสบายไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องอาหารการกิน อาหารของแพงเป็นสองสามเ่ท่า น้ำมันยิงแพงใหญ่ ฯลฯ

ถวายพระ 10 บาท ทำบุญไว้เถิด บ้านเราศาสนาเราสำคัญเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใสเป็นต้น

หากแม้นว่าผู้ที่ทำหน้าที่ไม่ผิดเพี้ยน พ่อแม่ครูบาอาจารย์บุคคลรอบข้างสั่งสอนแล้วทำเป็นแบบอย่างไหนเลยเด็กๆเยาวชน จะไม่ทำตาม ทำตามอยู่แล้ว แต่ตั้งตรงด้วยความยุติธรรม มีเหตุมีผล ไม่เอาแต่ใจ ต้องฟังความคิดเห็นกันบ้าง ที่เขาเรียกว่าต้องมีประชาธิปไตย ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะความคิดเห็นการกระทำด้วยชอบด้วยกฎหมาย และอะไรอีกหลายอย่างที่สามารถทำได้ ไม่เดือดร้อนใคร ไม่เดือดร้อนตนเอง ไม่ทำร้ายโลก 

สรุปว่าสอนให้มีแกนสารได้ผลเที่ยงตรง ได้ผลจริง เป็นแบบอย่าง มีเหตุผล รับความคิดเห็น เสรีประชาธิปไตย ไม่สองมาตรฐาน แค่นีหลักการนี้ก็คงใช้ได้ผลไม่มากก้น้อยครับ

ปณิธาน ไท's picture

ความเห็นออกไปแนวทางเสรีนิยมหน่อยนะครับ

การสอนศีลธรรม ไม่ควรสอนออกมาในลักษณะ ชี้นำว่าสิ่งใดดีไม่ดีเพียงอย่างเดียว

แต่ควรสอนให้เห็นถึงคุณค่าของการทำความดี หลักเกณฑ์ในการพิจารณาถึงการประเมินความประพฤติว่าดีหรือชั่ว ปรัชญาทางศีลธรรมหรือหลักจริยศาสตร์ ไม่เฉพาะแต่ทางศาสนาแต่รวมไปถึงปรัชญาทุกชนิดด้วย ที่สำคัญต้องส่งเสริมให้เด็กๆได้ใช้ปัญญาในการพิจารณาตัดสินผิดชอบชั่วดีด้วยตนเอง

osamuakitsuki's picture

วิชา ศีลธรรม / จริยธรรม ในทางทฤษฎี อาจสอนได้ แต่ในทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลจริง คงจะไม่ได้

สำหรับผมแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าศีลธรรม และจริยธรรม คือ จิตสำนึก บางคนอาจคิดว่า ที่ผมเขียนเป็นแค่เลือกนิยามศัพท์ให้แตกต่าง เล่นคำเฉยๆ แต่ลองคิดดูให้ดีละกันนะครับ

หากสอนเยาวชนให้มีจริยธรรม จะเหมือนคนเกาหลีใต้

หากสอนเยาชนให้มีจิตสำนึก จะเหมือนคนญี่ปุ่น

แต่ว่ามันแตกต่างอย่างไร ผมก็ไม่สามารถอธิบายได้ดีไปกว่า ลองสัมผัสกับคนทั้ง 2 ประเทศนี้ด้วยตนเองครับ...

jayjay's picture

ศีลธรรม / จริยธรรม สองคำนี้คงไม่แตกต่างกันมากนักมั้งครับ แต่ที่แตกต่างก็คือ วัฒนธรรมทางสังคม ที่ผิดแผกแตกต่างกัน ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ ฉะนั้นจิตสำนึกในการปฏิบัติตนในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้น ต้องมี ต้องเกิด เพื่อที่จะเรียนรู้ช่วยเหลือกัน ก็เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย ต่างกับสังคมบ้านเรา ที่ส่วนใหญ่ไม่ต้องเจอกับภัยธรรมชาติอันแสนจะน่ากลัว อย่าง แผ่นดินไหว หรือ สึนามิ ในญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณกว้างของประเทศ คนบ้านเราจึงไม่เคยเรียนรู้ในการสร้างกฎเกณฑ์และระเบียบที่มาจากจิตสำนึกเพื่อความอยู่รอดร่วมกัน สังเกตได้จากการเเซงคิวกันซื้อของ การขึ้น-ลงรถประจำทางที่ยื้อแย่งแข่งเบียดกันหน้าประตู เป็นต้น แต่กระนั้นก็ยังกลับถือเรื่องความแตกต่างทางด้านความคิดเป็นใหญ่กว่าการหาทางออกร่วมกัน ก็น่าเป็นห่วงว่า ถ้าเกิดพิบัติภัยขึ้นมาจริงๆ ถึงแม้ว่าคนบ้านเราจะเต็มไปด้วยความมีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่จิตสำนึกในด้านอื่นๆ ที่สำคัญและจำเป็น ที่เห็นจากเพื่อนบ้านได้แก่ การเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบเช่นคนญี่ปุ่น จะเกิดขึ้นได้หรือไม่?

jayjay's picture

.

อาตี้'s picture

ขอสนับสนุนให้มีครับ  เพราะพฤติกรรมเด็กปัจจุบันเลวลงเยอะ

criticaljang's picture

ความคิดเห็นจากเด็กคนนึง

 

อันนี้ครอบครัวควรจะเป็นคนสอน

แล้วก็ไม่ต้องไปเพิ่มวิชาเรียนเพื่อให้เด็กไม่มีเวลา

"ทำตัวสร้างสรรคให้มันสมวัยเด็ก"

 

Mr.David's picture

ผมไม่เห้นด้วยกับการปลูกฝังให้เด็กมีศีลธรรม

   ถามว่าศีลธรรมมันเป็นเรื่องดีไหม ผมคงตอบไม่ได้เพราะความดีเป็นเรื่องอัตวิสัย ดีของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามองในมุมปัจเจกบุคคลศีลธรรมยังคงเป็นเรื่องยึดเหนี่ยวจิตใจตราบเท่าที่ไม่ไปสั่งบังคับคนอื่นอย่างมิชอบและศีลธรรมบางมิติบั่นทอนวิธีการคิดด้วยเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลและทำให้เด็กเป็นเผด็จการจิตใจคับแคบใช้อำนาจนิยมโดยไม่รู้ตัว ผมคิดว่าการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ศีลธรรมเหนี่ยวนำจิตใจเด็กคงใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดคงยาก แต่การตั้งคำถามว่าสิ่งใดไม่ควรทำเพราะอะไร สิ่งใดควรทำเพราะอะไร การปกป้องสิทธิตัวเอง การเคารพสิทธิผู้อื่น  การสอนให้คิดเหตุผลอย่างสมเหตุสมผล มีการแบ่งปันมุมมองหลายๆมุมจากทั้งตัวเด็กและตัวผู้ใหญ่เพื่อการเข้านำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง อันนี้ควรจะสอนเด็กอย่างมากเพราะผมคิดว่านี่คือสิ่งที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างถูกต้อง ด้วยการใช้เหตุใช้ผล ครับ ;D

และสิ่งใดที่อยู่ตรงข้ามกับศีลธรรมมันไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องเลวร้ายทุกเรื่อง คุณว่าจริงหรือไหม?? 

jayjay's picture

Quote : "แต่การตั้งคำถามว่าสิ่งใดไม่ควรทำเพราะอะไร สิ่งใดควรทำเพราะอะไร การปกป้องสิทธิตัวเอง การเคารพสิทธิผู้อื่น  การสอนให้คิดเหตุผลอย่างสมเหตุสมผล มีการแบ่งปันมุมมองหลายๆมุมจากทั้งตัวเด็กและตัวผู้ใหญ่เพื่อการเข้านำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง"

สิ่งใดไม่ควรทำเพราะอะไร สิ่งใดควรทำเพราะอะไร การปกป้องสิทธิของตนเอง และการเครพสิทธิของผู้อื่น นี่แหละครับ "ศีลธรรม" ^^